ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

หุ่นกระบอกนายปั้น

   นายปั้น สีทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลบางบำหรุ จากคำบอกเล่าของนายเขียน สีทอง ผู้เป็นบุตรชาย ทำให้ทราบว่าหุ่นกระบอกคณะนายปั้นประดิษฐ์โดยช่างซึ่งไม่สามารถสืบทราบชื่อเสียงเรียงนามได้ ฝ่ายนายปั้นนั้นเป็นเจ้าของคณะและสามารถเชิดหุ่นตัวตลกได้   ลักษณะหุ่นนายปั้นที่แตกต่างจากหุ่นกระบอกคณะอื่นๆคือ ศีรษะหุ่นจะปั้นด้วยดินดิบทั้งศีรษะ มีแกนตรงคือเป็นไม้เนื้อเบาๆ ปัจจุบันยังคงเหลือศีรษะหุ่นกระบอกของนายปั้นสำรัยหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนวัดนายโรงหรือวัดสัมมัชผล เพราะนายเขียนบุตรชายเป็นภารโรงอยู่ที่โรงเรียนนี้ ศีรษะหุ่นเหล่านี้ล้วนชำรุดแตกหักเพราะปั้นด้วนดินดิบล้วนๆและขาดคนดูแลรักษา ส่วนตัวหุ่นกระบอกนั้นไม่มีหลงเหลือให้ได้ศึกษาอีกต่อไป  

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ระหว่างปี พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2468 การแสดงหุ่นกระบอกยังคงเป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยเช่นเดียวกับในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ่นกระบอกคณะต่างๆที่เคยมีชื่อเสียงในรัชกาลก่อนก็ยังคงเชิดแสดงอย่างต่อเนื่องจนถึงรัชกาลที่ 6 เช่น คณะหุ่นกระบอกของพระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธร คณะหุ่นกระบอกจางวางทั่ว คณะหุ่นกระบอกของนายเปียก ประเสริฐกุล คณะหุ่นกระบอกของยาบเบี้ยว เป็นต้น จนกระทั่งตอนปลายรัชกาลที่ 6 เริ่มมีภาพยนตร์ซึ่งเป็นความบันเทิงแบบใหม่จากต่างประเทศทางตะวันตกแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย ทำให้ความนิยมในศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกเสื่อมลง จนในปัจจุบันหุ่นกระบอกได้กลายเป็นมหรสพที่หาดูได้ยากขึ้นทุกที่ แม้นจะมีหน่วยงานต่างๆเข้ามาฟื้นฟูก็ตามที่

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย