ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7
กำเนิดของหุ่นกระบอก
กำเนิดของหุ่นกระบอกตลอดจนความเป็นมาของการเล่นหุ่นกระบอกเป็นเครื่องมหรสพในประเทศไทยนั้น
มีหลักฐานระบุว่า หุ่นไหหลำ แต่นำมาประยุกต์ดัดแปลงใหม่เหมาะแก่ความนิยมของคนไทย
หลักฐานลายลักษณ์อักษรที่ระบุไว้อย่างชัดเจน นั่นคือ หนังสือสาส์นสมเด็จ
ลายพระหัตถ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งทั้งสองพระองค์ใช้เวลาที่ว่างโต้ตอบวิจารณ์
ประทานคำอธิบายเกี่ยวกับวิทยาการต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี
และศิลปะ ฯลฯ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2475
ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าบราวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จออกไปประทับอยู่ ณ
บ้านชินนามอน เกาะปีนัง
สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กล่าว
ถึงหุ่นกระบอกในจดหมายลายพระหัตถ์จากพระตำหนักปลายเนินคลองเตย วันที่ 12 กันยายน
2579 กราบทูลถามสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กราลทูลได้อย่างง่ายๆ ว่าตาคนที่เล่นเพลงพาลืมตัวไปได้นั้นคือ
ตาคนที่มีชื่อลือชาเรียกกันโดยสมญาว่า ตาสังขารา
ทำนองร้องของแกก็ไพเราะไปในทางร้องและความก็ดีด้วย
ส่วนทางซอก็ไพเราะไปในทางดนตรีอีกทางหนึ่ง
แต่ทั้งสองทางเข้ากันสนิทสนมกลมเกลียวดีเหลือเกิน
ติดใจจนกระทั่งสึกออกมาแล้วลองทำดูบ้างไม่ยักได้
ถ้าสีซอเหมือนร้องไห้แล้วทำได้แต่ร้องไห้ไปทางร้องสีซอไปทางซอทำไม่ได้
ทำให้รู้สึกว่าตาสังขารานั้นเป็นคนเลิศประเสริฐมนุษย์ แกแบ่งใจให้เป็นสองภาค
เล่นสองอย่างพร้อมกันได้ เราแบ่งไม่ได้จึงเล่นไม่ได้
อาจกล่าวได้ว่า
หนังสือ สาส์นสมเด็จ
เป็นกลักฐานชั้นแรกที่มีการบันทึกเกี่ยวกับการเรียกชื่อและประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกแสดงให้เห็นว่า
ในปี ร.ศ.112 หรือ พ.ศ.2436
ได้มีหุ่นเลียนอย่างเมืองเหนือแสดงในงานเฉลิมพระชนมพรรษาที่พระราชวังบางปะอิน
ดังนั้น ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทยจึงสืบได้ไกลสุดแค่เพียงนายเหน่ง
คนขี้ยา อาศัยวัดอยู่เมืองสุโขทัย
นำหุ่นไหหลำมาดัดแปลงเป็นหุ่นไทยและออกเชิดร้องเล่นหากิน และต่อมาจนถึง
หม่อมราชวงศ์เถาะ มหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ผู้เคยได้ตามเสด็จสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพไปเห็นหุ่นกระบอกที่เมืองอุตรดิตถ์
และได้กลับมาสร้างหุ่น ตั้งคณะหุ่นกระบอกขึ้นเป็นคณะแรกในกรุงเทพมหานครเมื่อปี
พ.ศ.2436 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สำหรับประวัติความเป็นมาของครูเหน่ง จากคำบอกเล่าของบุญช่วย เปรมบุญ
ผู้เป็นหลานของครูเหน่งได้เล่าให้จักรพันธุ์ โปษยกฤตฟังว่า
ครูเหน่งเดิมเป็นชาวจังหวัดนครสวรรค์
อาศัยยู่ในหมู่บ้านชนบทเล็กๆแห่งหนึ่งชื่อหมู่บ้านบางมะฝ่อ
อำเภอโกรกพระเดิมครูเหน่งมีชื่อว่า นายรื่น
เป็นผู้มีความสามารถเชิงการช่างประณีตศิลป์
ฝีมือดีทั้งการแกะสลักและเขียนรูปโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสามารถทางแกะหน้าบัน
ด้วยฝีมือทางการช่างนี้เองเป็นเหตุให้ครูเหน่งต้องหลบหนีการจับกุมของบ้านเมืองเนื่องจากว่ามีผู้ว่าจ้างให้แก่แม่พิมพ์ประกบกันสองข้างแล้วใช้ตะกั่วหลอมเทแทนเงิน
การกระทำเช่นนี้ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายบ้านเมืองมีโทษรุนแรงถึงขั้นขันชะเนาะตอกเล็บ
เมื่อได้กระทำความผิดนายรื่นจึงต้องหลบหนีจากถิ่นบ้านเดิมคือจังหวัดนครสวรรค์
หลบซ่อนตัวลงไปทางใต้ ระหว่างที่หลบหนีการจับกุมของบ้านเมือง
ทำให้ได้เห็นการแสดงหุ่นจีนไหหลำจนติดใจในความสวยงามของหุ่น
จึงคิดแกะหัวหุ่นขึ้นโดยดัดแปลงให้มีหน้าตาลักษณะเป็นหุ่นไทย
และประดิษฐ์ทำตัวหุ่นเลียนแบบหุ่นจีนไหหลำ ในตอนแรกก็ใช้มันเทศ
ซึ่งเป็นวัสดุพื้นบ้านราคาถูกและหาได้ง่ายมาประดิษฐ์เป็นตัวหุ่น พอหัวหุ่นเน่าเสีย
นายรื่นก็แกะขึ้นเล่นใหม่ได้ทันทีเพราะฝีมือทางการช่างแกะสลัก
ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป คดีความที่ได้กระทำไว้ได้ซาลง
นายรื่นจึงย้ายที่อยู่โดยขึ้นมาอยู่ทางเหนือที่เมือสุโขทัย และใช้ชื่อว่า
นายเหน่ง ด้วยเป็นคนศีรษะล้าน
และในช่วงระยะเวลาที่นายเหน่งอาศัยอยู่ที่สุโขทัยท่านก็ได้นำหุ่นที่ประดิษฐ์ขึ้นออกเล่นให้คนดูเป็นเรื่องบันเทิง
จนเป็นที่รู้จักในหัวเมืองทางเหนือ
หุ่นครูเหน่ง ออกรับงานแสดงตามบ่อนอยู่ช้านาน
กระทั่งได้ย้ายมาแสดงที่ศาลเจ้าปากคลองบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ
จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นบ้านเดิม แม้เมื่อครูเหน่งถึงแก่กรรม
บุตรสาวทั้งสามก็ยังคงยึดอาชีพแสดงหุ่นกันต่อไป ปัจจุบัน หุ่นครูเหน่ง
อยู่ในความดูแลของ แม่เชวง ผู้เป็นหลาน
คำว่าหุ่นกระบอก ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มมีใช้ประมาณ ร.ศ. 113 หรือปี พ.ศ.
2437 แรกทีเดียวคงใช้เรียกด้วยภาษาปากกันมานานจนถ้อยคำที่ใช้เรียกชื่อศิลปะการ
เเสดงชนิดนี้เป็นที่เข้าใจและรู้จักอย่างแพร่หลายแล้ว
จึงได้รับการบันทึกเป็นภาษาเขียน โดยปรากฏครั้งแรกในบันทึกทางราชการชื่อว่า
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 11 หน้า 473 ตอนที่กล่าวถึงงานพระเมรุพระเจ้าลูกเธอ
พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าลดาวงศ์
ในงานพระเมรุพระเจ้าลูกเธอ การมหรสพแสดงต่างๆรวมถึงหุ่นกระบอกความว่า
...การมหรสพสมโภชมีตั้งแต่วันนี้ไปคือ โขน 1 โรง หุ่น 1 โรง งิ้ว 1 โรง
มอญรำ 1 โรง หนัง 2 โรง หุ่นกระบอก 1 โรง และญวนหก สิงโต มังกร รำโคมตามเคย..
มีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งว่า หุ่นกระบอกในระยะแรกเริ่มคือ ประมาณปี ร.ศ.
112 หรือปี พ.ศ. 2436-พ.ศ.2438
มักนำมาเล่นเป็นเครื่องมหรสพเฉพาะงานในเมรุสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเท่านั้น
สำหรับหุ่นกระบอกที่นำมาแสดงในงานพระเมรุพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอิสริยาภรณ์และพระเจ้าลูกเธอ
พระองค์เจ้าลดาวงศ์ คงหมายถึงหุ่นกระบอกคณะหม่อมราชวงศ์เถาะ พยัคฆ์เสนา
หม่อมราชวงศ์เถาะ พยัคฆ์เสนา
เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะหุ่นกระบอกขึ้นเป็นคณะแรกในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2436
เชื่อกันว่าก่อนหน้านี้ไม่ได้มีหุ่นกระบอกคณะใดถือกำเนิดขึ้นในกรุงเทพฯเลยทั้งๆที่ตามหัวเมืองต่างๆได้มีการเล่นหุ่นกระบอกกันแพร่หลายมากแล้ว
โดยเฉพาะหัวเมืองฝ่ายเหนือ หุ่นกระบอกหม่อมราชวงศ์ พยัคฆ์เสนา
หรือที่ประชาชนสมัยนั้นเรียกและรู้จักกันทั่วไปว่า
หุ่นคุณเถาะคงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในยุคนั้น
เนื่องจากหุ่นกระบอกของหม่อมราชวงศ์เถาะเป็นของใหม่สำหรับคนในพระมหานคร
จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกของหม่อมราชวงศ์เถาะ โดยจักรพันธุ์
โปษยกฤต
ทำให้ทราบว่าหม่อมราชวงศ์เถาะได้เคยสร้างหุ่นกระบอกขึ้นถวายสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์
ในขณะนั้นยังคงประทับอยู่ ณ ที่บน ในเขตพระราชฐานพระบรมมหาราชวัง
หุ่นกระบอกที่หม่อมราชวงศ์เถาะประดิษฐ์ถวายนั้นปรากฏว่าเป็นที่โปรดปรานของทูลกระหม่อมอัษฎางค์เป็นอย่างมาก
สันนิษฐานว่าหุ่นดังกล่าวคงไม่ได้สร้างถวายเป็นชุดทั้งโรงจนครบตัวละคร
แต่คงจะสร้างถวายเฉพาะความคิดริเริ่มก่อตั้งคณะหุ่นกระบอกของหม่อมราชวงศ์เถาะก่อให้เกิดยุคทองของการเล่นหุ่นชนิดนี้ขึ้น
เพราะในสมัยเดียวกันและต่อมาภายหลังได้มีคณะหุ่นกระบอกเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
และเป็นมหรสพที่นิยมในหมู่ประชาชน
อย่างไรก็ตามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีเหตุการณ์ที่นำความเจริญมาสู่ประเทศไทยมากมาย
หนึ่งในนั้นคือการเสด็จประพาสยุโรป
เมื่อเสด็จนิวัติพระนครจึงเกิดงานเฉลิมฉลองการเสด็จนิวัติครั้งแรกในปี ร.ศ. 116
หรือปี พ.ศ. 2440 อย่างเอิกเกริก
และได้จัดให้มีหุ่นกระบอกเป็นการแสดงบันเทิงอย่างหนึ่งในการเฉลิมฉลองครั้งนี้ด้วย
ดังมีข้อความปรากฏเป็นหลักฐานในจดหมายเหตุเรื่องรับเสด็จสมโภชพระบามทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อเสด็จกลับจากยุโรปครั้งแรกใน พ.ศ. 2440 หน้า 24 ความว่า
...มีงานรื่นเริงในบริเวณพระบรมมหาราชวังที่สนามหญ้าหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ได้ตกแต่งจุดโคมไฟฟ้าแลโคมญี่ปุ่น แลมีแตรวงเป่าที่สนามหญ้าด้วยสองวง
และนอกประตูพิมานไชยศรีก็ตกแต่งจุดโคมญี่ปุ่นแลโคมต่างๆทั่วไป และมีการเล่นต่างๆ
คือ สนามหญ้าหน้าศัลลักษณะสถาน (ปัจจุบันคือสหทัยสมาคม)
ได้มีเสภารำที่ริมศาลาลูกขุน มีพิณพาทย์ 2 วง
แลหน้าหอรัษฎากรพิพัฒน์มีหุ่นกระบอกเป็นที่รื่นเริงตลอดคืน..
นอกจากหุ่นกระบอกแล้วยังมีหุ่นของชาติอื่นๆมาแสดงถวายด้วยอาทิ หุ่นพม่า หุ่นฝรั่ง
แสดงให้เห็นความนิยมของประชาชนที่มีต่อการมหรสพประเภทหุ่นกระบอกและหุ่นชนิดอื่นๆที่มีเป็นอันมาก
สำหรับหุ่นฝรั่งซึ่งถือเป็นหุ่นต่างภาษามาเล่นในงานสมโภชด้วยนั้น
ปรากฏเนื้อความในหนังสือ รับเสด็จฯ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)
พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล มีความว่า
ในปีนั้นฝรั่งได้นำหุ่นชัก (หุ่นชักโดยสายโยงจากข้างบนแบบที่เรียกว่า Marionette
ในภาษาอังกฤษ) เข้ามาแสดง คนแตกตื่นมากด้วยไม่เหมือนหุ่นไทยที่ใช้เชิด
สมเด็จพระราชินีนาถโปรดให้นำเข้าไปเล่นในวังเพื่อฝ่ายในจะได้ดูการแสดงหุ่นของฝรั่งนั้น
ตัวหุ่นขนาดเท่าคนธรรมดาสมรสายใยเป็นเชือกชักอยู่ข้างบน ใช้เชือกมากมายหลายเส้น
ผู้ที่ชักจะต้องมีความสามารถและสันทัดมาก การเล่นนั้นก็มีเป็นชุด เช่น ชุดดนตรีผี
ตัวแสดงมีแต่โครงเป็นผีหัวกะโหลกหลับกลอก แขนขาเคลื่อนไหว
ออกมาเล่นดนตรีในท่าต่างๆประกอบเครื่องดนตรี จัดว่าเป็นวงดนตรีผี
ชุดแหม่มแก่ออกมาเต้นตัวหุ่นที่สวยงาม เช่น ตัวพระ ตัวนาง ฯลฯ
จังหวะเพลงสักครู่ก็สลัดแขนออกทีละข้าง แขนที่สลัดออกมาผลุบก็กลับกลายเป็นเด็ก2คน
ต่อมาก็สลัดขาอีก 2 ข้างกลายเป็นเด็กอีก 2 คน
แล้วก็สลัดหัวออกมากลายเป็นเด็กอีกคนหนึ่ง รวม 5 คน
เหลือแต่กลางตัวแล้วกลับตัวกลายเป็นหญิงหลังค่อมไล่ต้อนเด็กทั้ง 5 คนเข้าโรงไป
ในชุดแหม่มมีแปลกอีกตอนหนึ่ง
แหม่มตัวโตออกมากลางโรงแล้วดึงเอาลูกออกจากกระเป๋าทีละคน รวมแล้วสัก 6 คนได้
หุ่นแต่ละตัวที่แสดงล้วนใช้สายใยชักข้างยนต์ที่แสดง เรื่อง Blue beard
น่าหวาดเสียวเพราะมีการฆ่าเสียเรื่อย
แต่มีหุ่นคราวนั้นคราวเดียวแล้วก็ต่อมาก็หามีเข้ามาอีกไม่
มีแต่หุ่นจีนมาเล่นกลและก็โปรดให้เข้าไปเล่นในวังด้วย
หุ่นกระบอกได้มีวิวัฒนาการทางการแสดงอย่างรวดเร็ว
นอกจากการเชิดแสดงหุ่นกระบอกอย่างเป็นเอกเทศแล้ว
ยังนิยมนำหุ่นกระบอกไปเล่นแสดงซ้อนในโขนและละครด้วย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์
ปราโมชกล่าวถึงลักษณะการแสดงดังกล่าวไว้ดังนี้
..หุ่นสมัยหนึ่งที่เคยดูเมื่อ 50 กว่าปีมาแล้ว
คืนนั้นโขนหลวงกรมมหรสพเล่นตอนพระรามคืนเมือง บนเวทีมรการฉลอง มีโขนซ้อนโขน
มีหนังและมีหุ่นตามธรรมเนียมของการฉลองแบบไทย
หุ่นที่เล่นอยู่บนเวทีนั้นเล่นเรื่องพระอภัยมณี
ตัวอุศเรนที่เป็นฝรั่งนั้นเอาลูกฝรั่งจริงมาทำหัว นายเกริ่นและนายผัน
ตลกหลวงแสดงเป็นนักเลงโตออกเดินเที่ยวงานนุ่งผ้าลอยชายมีผ่าแพรเพราะสีดำพาดไหล่
คนหนึ่งถือพลอง อีกคนหนึ่งถือมีดโต้
พอออกมาก็เที่ยวอาละวาดตามหน้าโรงมหรสพเรื่อยมาจนถึงหน้าโรงหุ่น ดูไปดูมาไม่ถูกใจ
หยิบเอาหัวอุศเรนออกมา เอามีดโต้เฉาะกินเล่นเสียอย่างนั้นแหละ..
จากคำบอกกล่าวของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงว่าหุ่นที่ใช้เล่นซ้อนในโขน
และละครที่มีมาแต่เดิมนั้นคือ หุ่นกระบอก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอกจากจะมีหุ่นกระบอกคณะหม่อมราชวงศ์เถาะ พยัคฆ์เสนาแล้ว
ยังมีหุ่นกระบอกคณะอื่นๆเกิดขึ้นตามมาในระยะเวลาไล่เลี่ยกันมากมายหลายคณะ ได้แก่
หุ่นพระองค์เจ้าอนุสรณ์ หุ่นกระบอกของพระบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์
ผู้เป็นพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกสร
เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสที่พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ยังทรงพระเยาว์ ราว 3 หรือ
4 ชันษา โปรดหุ่นกระบอกและต้องพระประสงค์ที่จะมีหุ่นกระบอกไว้เป็นของพระองค์เอง
เมื่อพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์สิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. 2443
ด้วยพระชนมายุเพียง 9 พระชันษา
หุ่นกระบอกชุดนี้ได้ตกมาอยู่ในความดูแลของคุณยายเยื้อน รัตนชัย
และต่อมาในที่สุดได้ขายให้แก่ชาวจีนผู้มีอาชีพค้าของเก่าไปทั้งหมดในราคา 30 บาท
หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก