ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
ในสมัยกรุงธนบุรี การมหรสพแม้จะหยุดเล่นไปในระยะเสียกรุงศรีอยุธยา
แต่ก็ฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น
มหรสพที่ปรากฏในยุคนี้ก็มีลักษณะคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับที่มีในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี
คือ มีทั้งหุ่น โขน ละคร และละครชาตรี ซึ่งปรากฏอยู่ในหลักฐานต่างๆ
ทั้งในหนังสือของทางราชการและในวรรณคดี คือ
หมายรับสั่งสมัยกรุงธนบุรี
มีบันทึกแจ้งว่า ในพระราชพิธีการถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระพันปีหลวง
กรมหลวงพิทักษ์เทพามาต ณ วัดบางยี่เรือนอก ปีจุลศักราช 1138 หรือ พ.ศ.2319
มีการแสดงโขน งิ้ว รำหญิง หนังกลางวัน เทพทอง หุ่นลาวระหว่างระทา 2 โรง
หุ่นญวนระหว่างระทา 1 โรง
และในหมายรับสั่งเล่มเดียวกันยังได้กล่าวถึงการพระศพและงานศพเจ้านายในรัชกาลของพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกหลายพระองค์คือ
การพระศพมารดาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในปีจุลศักราช 1142 หรือ 2323 จัดขึ้น ณ
วัดบางยี่เรือ นอกทั้งสิ้น
เพราะถือเป็นพระอารามหลวงในสมัยนั้นการมหรสพแสดงในงานดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกัน
กล่าวคือ เครื่องเล่นกลางวันมีการแสดงหุ่นลาวระหว่างระทา 2 โรง หุ่นมอญระหว่างระทา
1 โรง โขน รำหญิง หนังกลางวัน งิ้ว เทพทอง ละครเขมร มีที่พิเศษคือ
ในการพระศพมารดาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเครื่องเล่นกลางวันมีการแสดงโขนโรงใหญ่ 2 โรง
หุ่นลาวใหญ่ 1 โรง ละครโรงใหญ่ 1 โรง งิ้วญวน 1 โรง
พระราชพิธีสำคัญอีกพระราชพิธีหนึ่งในสมัยกรุงธนบุรีคือ
การอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐ์ไว้ ณ กรุงธนบุรี
ดังหลักฐานในหมายรับสั่งเมื่อปีจุลศักราช 1141 หรือ พ.ศ.2322 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์สมเสด็จพระเจ้าลูกเสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ณ
พระตำหนักบางธรณี แล้วให้แห่งทางน้ำลงยังพระนครธนบุรี
โดยมีเรือพระที่นั่งซึ่งประดิษฐานพระแก้วมรกต ณ.พระตำหนักบางธรณี
แล้วให้แห่ทางน้ำลงมายังพระนครธนบุรี
โดยมีเรือพระที่นั่งซึ่งประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเรือแห่นำหน้ากระบวนเรืออื่นๆ
ซึ่งมีการแสดงต่างๆ อยู่บนเรือ ได้แก่ โขน งิ้ว ละครไทย ละครเขมร ปี่ กลองจีน ญวนหก
และหุ่นหลวง
เมื่อกระบวนแห่ทางน้ำอัญเชิญพระแก้วมรกตมาถึงพระนครธนบุรีแล้ว
ก็โปรดให้มีการมหรสพสมโภช ณ พระนคร การแสดงต่างๆ ก็มีการเล่นแสดงหุ่น คือ
หุ่นลาวโรงใหญ่ 1 โรง หุ่นลาวระหว่างระทา 4 โรง หุ่นมอญวงปี่พาทย์ 1 โรง
ส่วนการแสดงอื่นๆ คือละครเขมร งิ้วจีน งิ้วญวน ละครข้างใน โขน โขนโรงใหญ่
ละครโรงใหญ่ เทพทอง รำหญิง และ หนังกลางวัน ฯลฯ
นอกจากนั้นในวรรณคดีเรื่อง ปาจิตตกุมารกลอนอ่าน ระบุว่าแต่งปี พ.ศ.2316
เนื้อเรื่องตอนหนึ่งซึ่งบรรยายงานศพท้าวพรหมทัต กล่าวถึงการแสดงมหรสพหลายอย่าง
และได้กล่าวถึงการแสดงหุ่นหลวงของไทยซึ่งมีผู้เชิดหุ่น 1 คน ต่อหุ่น 1 ตัว
ว่ามีหุ่นหลวง คนชักสายยนต์ถือหุ่นตัวโตเมื่อยหัวไปตามๆกัน
ประชันกับหุ่นมอญในงานเดียวกันนี้ โดยบรรยายลักษณะของหุ่นมอญและหุ่นเขมรว่า
มีสายยนต์สำหรับชักเช่นเดียวกับหุ่นหลวงของไทยแต่มีลักษณะชวนขันมากกว่าหุ่นหลวง
นอกจากมีการแสดงหุ่นไทย มอญ หุ่นเขมรแล้ว
ในปาจิตตกุมารกลอนอ่านยังกล่าวถึงหุ่นทวายและหุ่นจีนด้วย
โดยหุ่นจีนจะแสดงตลกทำให้คนนิยมดู ส่วนหุ่นทวายคนกลับไม่นิยมดูเท่าใดนัก
สำหรับลักษณะของหุ่นทวายและหุ่นจีนมีปรากฏในพระสุธนกลอนสวด ตอนอภิเษกพระสุธน
สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยเดียวกับปาจิตตกุมารกลอนอ่าน
โดยกล่าวว่าหุ่นทวายและหุ่นจีนเป็นหุ่นชักสายข้างบนแต่หุ่นจีนจะกลอกตาไปมาได้
ส่วนหุ่นลาวและหุ่นมอญมีลักษณะเหมือนหุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่ของไทย
มีสายยนต์จากข้างล่าง เรื่องที่แสดงมักเป็นเรื่องที่ตลก คนจึงนิยมมาก
ดังปรากฏในสุบินกุมารกลอนสวด เลขที่ 25
สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยเดียวกับพระสุธนกลอนสวด
หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก