สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดทางปรัชญา-สังคม-วิทยาศาสตร์
กระบวนทัศน์
ชลลดา ทองทวี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ใน The Structure of Scientific
Revolutions (ค.ศ. 1962) โทมัส เอส. คูหน์ (Thomas S. Kuhn)
ซึ่งเป็นผู้ที่เริ่มต้นแนวคิดเรื่อง กระบวนทัศน์ (paradigm) นิยาม คำว่า
กระบวนทัศน์ (paradigm) ในเชิงวิทยาศาสตร์ ไว้ว่า หมายถึง "กรอบแนวคิด (conceptual
framework) หรือ โลกทัศน์ (worldview)
ที่แตกต่างหลากหลายกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละชุมชนทางวิทยาศาสตร์ (scientific
community)"
คำว่า paradigm มี รากศัพท์ มาจากภาษากรีก จากคำว่า para (beside) และ
deigma (example) และในความหมายดั้งเดิม หมายถึง แบบจำลอง (model) แบบแผน (pattern)
หรือ ตัวอย่าง (example) ที่เป็นที่ยอมรับ อันมีนัยยะ ว่า เป็นตัวอย่าง
สำหรับการทำซ้ำ อย่างไรก็ตาม สำหรับคูห์น กระบวนทัศน์ ในเชิงวิทยาศาสตร์
ไม่ได้มีนัยยะเพียงแค่การทำซ้ำ แต่เป็นสิ่งที่จะต้องมีการเชื่อมโยง (articulation)
และ ระบุอย่างเฉพาะเจาะจง (specification) ต่อไปได้ ภายใต้ปัจจัยเงื่อนไขใหม่ ๆ
ที่เกิดขึ้น
กระบวนทัศน์ : นิยามความหมาย
กระบวนทัศน์ : โครงสร้าง
การสังเคราะห์แบบแผน (pattern) กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์
: มิติของกระบวนการที่เป็นพลวัตในบริบทที่แวดล้อม
การสังเคราะห์เป็นแบบแผน (pattern)
กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ : มิติของกระบวนการที่เกิดขึ้นในตน
ตัวดึงวิถี (attractor) ในกระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์
บทสรุป
บรรณานุกรม