สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดทางปรัชญา-สังคม-วิทยาศาสตร์
กระบวนทัศน์
กระบวนทัศน์ : นิยามความหมาย
กระบวนทัศน์ : โครงสร้าง
การสังเคราะห์แบบแผน (pattern) กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์
: มิติของกระบวนการที่เป็นพลวัตในบริบทที่แวดล้อม
การสังเคราะห์เป็นแบบแผน (pattern)
กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ : มิติของกระบวนการที่เกิดขึ้นในตน
ตัวดึงวิถี (attractor) ในกระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์
บทสรุป
บรรณานุกรม
บทสรุป
การศึกษาดังกล่าว เป็นการสรุปสังเคราะห์จากการศึกษามโนทัศน์ต่าง ๆ
และแนวคิดทฤษฎีหลายแนวคิดทฤษฎี เพื่อสังเคราะห์นิยามความหมายและแบบแผนของโครงสร้าง
และ กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ การสรุปสังเคราะห์ดังกล่าว
เป็นแนวทางหนึ่งในการอธิบายเพื่อทำความเข้าใจ "กระบวนทัศน์ (paradigm)"
คูห์น กล่าวถึง กระบวนทัศน์ที่แตกต่างกัน 2 กระบวนทัศน์ ว่า เปรียบเสมือน
การที่คน 2 คน มอง รูปเดียวกัน แต่คนหนึ่ง มองเห็นเป็น เป็ด ขณะที่ อีกคนหนึ่ง
มองเห็นเป็นรูปกระต่าย ดังภาพวาดต่อไปนี้ ที่วาดตามแนวคิดเรื่องการรับรู้ภาพ
"duck-rabbit" ของ ลุดวิก วิทเกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein)
การมองเห็นโลกและจักรวาล ด้วยกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป
เป็นการมองสิ่งเดียวกัน ในมุมมองใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อวิถีปฏิบัติ
ให้เปลี่ยนแปลงไปด้วยทั้งกระบวน การที่เราจะยังคงเลือกกระบวนทัศน์ของ "กระต่าย"
ทั้งที่ รอบตัวเราและหนทางเบื้องหน้านั้นเต็มไปด้วยน้ำ
จะไม่ทำให้เราแก้ไขปัญหาหรือเดินทางไปข้างหน้าต่อไปได้ บางทีการเปลี่ยนมุมมองไปเป็น
"เป็ด" จึงอาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็น
เมื่อใด ที่กระบวนทัศน์เดิม ดูเหมือนว่า จะเป็นการนำพาเรา
"เดินหน้าไปข้างหลัง" เราอาจจะต้องลอง "ถอยหลังไปข้างหน้า" หรือ
ต้องลองเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ สู่ กระบวนทัศน์ใหม่ ที่จะนำพาเราไปได้ดีกว่าเดิม
การเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ของสังคมหนึ่ง เป็นสิ่งที่กระทำได้ไม่ยากนัก
ดังที่ ประสาน ต่างใจ ได้กล่าวไว้ ว่า ขอเพียงทุกคน "เริ่มต้นที่ตนเอง" เท่านั้น
สังคมโดยรวม ก็สามารถที่จะเปลี่ยนย้ายสู่กระบวนทัศน์ใหม่ได้ทั้งหมด
และจะสามารถแก้ไขวิกฤติปัญหาต่าง ๆ ที่เราต้องเผชิญกันอยู่
เนื่องจากกระบวนทัศน์เดิม ให้คลี่คลายเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ในที่สุด