สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดทางปรัชญา-สังคม-วิทยาศาสตร์
กระบวนทัศน์
กระบวนทัศน์ : นิยามความหมาย
กระบวนทัศน์ : โครงสร้าง
การสังเคราะห์แบบแผน (pattern) กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์
: มิติของกระบวนการที่เป็นพลวัตในบริบทที่แวดล้อม
การสังเคราะห์เป็นแบบแผน (pattern) กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ :
มิติของกระบวนการที่เกิดขึ้นในตน
ตัวดึงวิถี (attractor) ในกระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์
บทสรุป
บรรณานุกรม
การสังเคราะห์เป็นแบบแผน (pattern) กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ : มิติของกระบวนการที่เกิดขึ้นในตน
ในหนังสือ เรื่อง The Visionary Window : A Quantum Physicist's Guide to Enlightenment ของ อมิต โฆษวามี (Amit Goswami) ใน ปี ค.ศ. 2000 อธิบายกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ว่า มี กระบวนการ 4 ลำดับขั้นด้วยกัน ดังนี้
- ขั้นการรับรู้ (perception)
- ขั้นการสร้างมโนทัศน์ (conception)
- ขั้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking)
ในขั้นตอนนี้ หลังจากการใช้ความคิดอย่างวิพากษ์วิจารณ์มาระยะหนึ่ง จะเกิดญาณทัศนะ (intuition) ขึ้น เป็นการโผล่ปรากฏ (emergence) ของความรู้ความเข้าใจ - ขั้นการคิดอย่างสร้างสรรค์ (creative thinking)
โกศล ช่อผกา อธิบายเรื่อง กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ ด้วยพุทธปรัชญา เรื่อง "ทิฏฐิ (ditthi)" ไว้ในวิทยานิพนธ์ เรื่อง พุทธกระบวนทัศน์เรื่องนิเวศวิทยาแนวลึก (พ.ศ. 2542) ว่า มนุษย์จะต้องสร้างสัมมาทิฏฐิ หรือ ความเห็นที่ถูกต้องตามสภาวะความเป็นจริงของธรรมชาติ เพื่อให้สามารถเข้าถึงความจริงของสรรพสิ่งและพ้นจากความทุกข์ ทั้งนี้ สัมมาทิฏฐิ สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ โดยอาศัยปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ
- ปรโตโฆษะ แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หมายถึง การกระตุ้น หรือ ชักจูงจากภายนอก
เช่น การสั่งสอน หรือ การให้ข้อมูลข่าวสารจากผู้อื่น ทั้งนี้ ปรโตโฆษะที่ดีนั้น
จะได้มาจากการมีกัลยาณมิตรที่ดี ปรโตโฆษะจึงเป็นปัจจัยภายนอก
- โยนิโสมนสิการ หมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้าหรือเหตุ แล้วแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญา ให้เห็นสิ่งนั้น ๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย โยนิโสมนสิการจึงเป็นปัจจัยภายใน
นอกจากนี้ มนุษย์สามารถที่จะก้าวเข้าสู่ความเข้าถึงความจริงของสรรพสิ่งได้ด้วย การฝึกฝนอบรม หรือ การปฏิบัติทางจิต กล่าวคือ การภาวนา สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนา ซึ่งเป็นระดับขั้นความรู้ที่สูงขึ้นไปจากระดับโยนิโสมนสิการ (โกศล ช่อผกา, 2542 : 88)