สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดทางปรัชญา-สังคม-วิทยาศาสตร์
กระบวนทัศน์
กระบวนทัศน์ : นิยามความหมาย
กระบวนทัศน์ : โครงสร้าง
การสังเคราะห์แบบแผน (pattern) กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ :
มิติของกระบวนการที่เป็นพลวัตในบริบทที่แวดล้อม
การสังเคราะห์เป็นแบบแผน (pattern)
กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ : มิติของกระบวนการที่เกิดขึ้นในตน
ตัวดึงวิถี (attractor) ในกระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์
บทสรุป
บรรณานุกรม
การสังเคราะห์แบบแผน (pattern) กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ : มิติของกระบวนการที่เป็นพลวัตในบริบทที่แวดล้อม
กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
เช่นเดียวกับระบบในธรรมชาติอื่น ๆ ที่เป็นระบบเปิด
โดยมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกตลอดเวลา ซึ่งทำให้กระบวนทัศน์นั้น
มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตอย่างต่อเนื่อง
กระบวนทัศน์ใหม่หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น
เมื่อกระบวนทัศน์เดิมไม่สามารถใช้แก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ให้แก่มนุษย์ ในชุมชนหนึ่ง
เพื่อดำรงอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งได้อีกต่อไป ทั้งนี้ พอล เอช. เรย์ (Paul H. Ray) และ
เชอรี่ อาร์. แอนเดอร์สัน (Sherry R. Anderson) อธิบายด้วยแนวคิดทฤษฎีไร้ระเบียบ
(Chaos Theory) ไว้ใน The Cultural Creatives : How 50 Million People are Changing
the World ใน ปี ค.ศ. 2000 ว่า
กระบวนทัศน์ ในฐานะที่เป็นระบบเปิดในธรรมชาตินั้น จะมีความไร้ระเบียบ
(chaos) เป็นพื้นฐาน ในขณะเดียวกัน
ก็มีแนวโน้มที่จะจัดตั้งระบบของตนเองขึ้นตลอดเวลา ในลักษณะของการจัดองค์กรตนเอง
(self-organizing system) กระบวนทัศน์หนึ่ง ๆ โดยธรรมชาติ
จะมีการขยายตัวออกไปตลอดเวลา
ในขณะที่สถาปนาตนเองขึ้นเป็นระบบที่มีระเบียบและเสถียรภาพอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง
ในกระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์
จะมีกระบวนการโต้ตอบที่ส่งผลสะเทือนต่อการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ
วงจรการโต้ตอบเชิงบวก (เชิงเสริมตนเอง / เชิงขยาย) (positive (self-reinforcing /
amplified) feedback loop)
ซึ่งจะเร่งเสริมทวีความซับซ้อนของความไร้ระเบียบให้แก่ระบบแห่งกระบวนทัศน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย
ๆ ในลักษณะยกกำลัง (exponential)
ส่วนการโต้ตอบอีกรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ วงจรการโต้ตอบเชิงลบ
(เชิงรักษาระบบตนเอง / เชิงสมดุล) (negative (self-regulating/balance) feedback
loop)
ซึ่งจะต้านการเปลี่ยนแปลงของระบบแห่งกระบวนทัศน์เดิมโดยการพยายามรักษาสมดุลไว้
(ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์, 2538 : 23-27)
วงจรการโต้ตอบเชิงบวกนั้น มีลักษณะอ่อนไหวต่อเงื่อนไขเบื้องต้น
(sensitivity to initial conditions) และดังนั้น ปัจจัยเงื่อนไขเล็ก ๆ
ล้วนมีผลสะเทือนเร่งให้กระบวนทัศน์หนึ่ง ๆ
ก้าวเข้าสู่สภาวะที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถรักษาสมดุลตนเองไว้ได้
และก้าวเข้าสู่สภาวะไร้ระเบียบทั้งระบบ เป็นสภาวะที่ระบบห่างไกลจากความสมดุล
(far-from-equilibrim)
ในช่วงของสภาวะวิกฤติที่เต็มไปด้วยสภาวะไร้ระเบียบนี้
กระบวนทัศน์เดิมจะเริ่มเสื่อมสลายลงไป ไม่สามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อีกต่อไป
ซึ่งสอดคล้องกับกฎไตรลักษณ์ในพุทธ-ปรัชญา ที่อธิบายธรรมชาติของสรรพสิ่งว่า
จะต้องมีการก่อกำเนิดขึ้น ดำรงอยู่ และ ดับสลายไป เป็นธรรมดา
และเป็นวัฎจักรไปไม่มีสิ้นสุด ดังที่ โกศล ช่อผกา
สรุปสังเคราะห์ไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง พุทธกระบวนทัศน์เชิงนิเวศวิทยาแนวลึก ใน ปี
พ.ศ. 2542
แนวคิดเชิงพุทธปรัชญาดังกล่าว สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีทางฟิสิกส์
เกี่ยวกับกระบวนการวิวัฒนาการไปโดยธรรมชาติของจักรวาล กล่าวคือ
แนวคิดทฤษฎีกระบวนการเคลื่อนไหวของทั้งหมด (Holomovement) ของ เดวิด โบห์ม (David
Bohm) ใน Wholeness and Implicate Order ใน ปี ค.ศ. 1980 ที่ว่า
ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลนั้น
มีการเคลื่อนคลายวิวัฒน์ไปอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกันตลอดเวลา
สู่มิติที่ซับซ้อนและสูงขึ้นไปเสมอ ในลักษณะของการคลี่ขยายเผยออกมา (unfoldment)
และ การม้วนซ้อนเข้าไป (enfoldment) ในรูปของน้ำวนหรือเกลียวก้นหอยที่เป็นพลวัต
(spiral dynamics)
กระบวนการดังกล่าวนี้ จะทำให้กระบวนทัศน์เดิม
ม้วนซ้อนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเคลื่อนไหวของทั้งหมด
แล้วคลี่ขยายออกมาให้เห็นเป็นกระบวนทัศน์ใหม่
ที่จะรวมเอาคุณสมบัติของกระบวนทัศน์เดิมเข้าไว้ด้วย ในขณะที่วิวัฒน์ต่อไป
เป็นวัฏจักรไปไม่สิ้นสุด ในลักษณะของ การก้าวพ้นและครอบคลุม (transcend and
include)
นอกจากนี้ กระบวนทัศน์นั้น ยังมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ
ซึ่งเป็นบริบทแวดล้อมในกระบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวด้วยอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นทั้งหมด (wholeness) และส่วนหนึ่งของกันและกัน
ในกระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ บางครั้งจะเห็นว่า กระบวนทัศน์ใหม่นั้น
ดูเหมือนว่า จะวนกลับมาเหมือนกับกระบวนทัศน์เดิมบางกระบวนทัศน์ในอดีต อย่างไรก็ตาม
ในความเป็นจริง จะมิได้เป็นเช่นนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าว
สามารถอธิบายด้วยแนวคิดทฤษฎี กระบวนการเคลื่อนไหวของทั้งหมด (Holomovement) ได้ว่า
กระบวนทัศน์ใหม่ จะก่อกำเนิดและคลี่ขยายเผยออกมาให้เห็น
โดยรวมเอาคุณสมบัติของกระบวนทัศน์เดิมที่ม้วนซ้อนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดก่อนหน้านี้
ในกระบวนการเลื่อนไหลที่เป็นเอกภาพ ในรูปของน้ำวนหรือเกลียวก้นหอย จึงดูเผิน ๆ
เหมือนกับจะย้อนรอยเดิม แต่แท้จริงแล้ว ไม่ใช่เช่นนั้น
กระบวนการในช่วงที่กระบวนทัศน์เดิมเริ่มจะไร้เสถียรภาพ เสื่อมและลดบทบาทลง
ซึ่ง โทมัส เอส. คูห์น อธิบายไว้ใน The Structure of Scientific Revolutions ใน ปี
ค.ศ. 1962 ว่า เป็นช่วง anomaly เป็นช่วงเวลาที่กระบวนทัศน์ใหม่
ยังไม่ก่อตัวจัดระเบียบตนเองขึ้นอย่างชัดเจน ช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงวิกฤติ (crisis)
ที่เต็มไปด้วยความสับสน
ตามทฤษฎีไร้ระเบียบ ณ ช่วงปลายขอบแห่งสภาวะไร้ระเบียบ (the edge of chaos)
ของระบบแห่งกระบวนทัศน์เดิมดังกล่าว เป็นจุดทางแพร่ง (bifurcation)
ที่จะมีทางเลือกให้เลือกหลายสาย กระบวนการของระบบแห่งกระบวนทัศน์
จะพัฒนาไปตามทางสายใด จะขึ้นอยู่กับความบังเอิญ (chance) ในขณะนั้น
ที่จะส่งผลกระทบได้จังหวะพอดี จนเกิดการหักเหไปทางใดทางหนึ่ง โดยจะมี ตัวดึงวิถี
(attractors) หลายตัว ซึ่งเป็นตัวที่ดึงดูดให้วิถีเส้นทาง
หรือทิศทางของการเปลี่ยนแปลง เข้ามาหาตนได้เหมือนการดูดของแม่เหล็ก
ตัวดึงวิถี (attractors) ดังกล่าวนี้ มีลักษณะเป็นตัวดึงวิถีเชิงไร้ระเบียบ
(chaotic attractor) หรือ ตัวดึงวิถีที่แปลก (strange attractor) กล่าวคือ
แม้จะมีขอบเขตหนึ่งที่จำกัด แต่ก็มีแบบแผน (pattern)
ที่เปลี่ยนแปลงได้หลากหลายเป็นพลวัต (dynamic)
ซึ่งอาจจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับแบบแผนเดิม (self-similar) เกิดขึ้นในลักษณะซ้ำ ๆ
(iteration) แต่ก็จะไม่ซ้ำรอยเดิม อย่างคาดเดากำหนดไม่ได้ (unpredictable)
อยู่ตลอดเวลา ภายในขอบเขตดังกล่าวนั้น
ณ จุดทางแพร่งนี้ จึงมีความสำคัญมาก
เพราะจะเป็นจุดที่เราสามารถเข้าไปชี้ขาดควบคุมทางเลือกของการเปลี่ยนแปลงของระบบได้
ด้วยการแสวงหาตัวดึงวิถี (attractors)
ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงทิศทางของระบบแห่งกระบวนทัศน์เดิม
ให้เป็นไปในทิศทางแห่งกระบวนทัศน์ใหม่ที่ต้องการได้เร็วยิ่งขึ้น
ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายหายนะจากการล่มสลายของกระบวนทัศน์เดิมน้อยลง
เมื่อกระบวนทัศน์ใหม่ สามารถจัดระบบตนเองขึ้นมาได้
ประสาน ต่างใจ มีทัศนะที่สอดคล้องกับ โทมัส เอส. คูห์น
ดังที่อธิบายไว้ใน บุพนิมิตแห่งกระบวนทัศน์ใหม่ ใน ปี พ.ศ. 2545 ว่า
กระบวนทัศน์นั้น ในนัยยะที่เป็นระบบตามธรรมชาติดังกล่าว
จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ดังนั้น
กระบวนการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์จึงเป็นกระบวนการที่จะต้องเกิดขึ้น
เมื่อเวลาหรือยุคสมัย และ บริบทที่แวดล้อมอยู่เปลี่ยนไป
ไม่ว่ามนุษย์นั้นจะต้องการหรือไม่ก็ตาม ในลักษณะของ แนวคิดเชิงพุทธปรัชญา เรื่อง
ตถตา หรือ "มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง" และ เรื่อง อิทัปปัจยตา หรือ
ความเป็นกระแสของเหตุปัจจัยที่ผลักดันกันต่อ ๆ ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด
ซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติ กล่าวคือ
การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง)
ตามกระแสของเหตุปัจจัยที่หนุนเนื่องอย่างไม่ขาดสาย ไม่มีตัวตนโดยเอกเทศ
ที่คงที่ตายตัว (อนัตตา) ทั้งนี้กระบวนทัศน์ในฐานะส่วนหนึ่งของความเป็นทั้งหมด
(wholeness) ในกระบวนการเคลื่อนไหวของธรรมชาติในจักรวาล
จะมีความเชื่อมโยงอย่างไม่อาจแยกออกได้จากส่วนอื่น ๆ ของธรรมชาติในขณะเดียวกัน
การวิเคราะห์กระบวนทัศน์
จึงจำเป็นต้องเข้าใจความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกระบวนทัศน์ กับ
บริบทที่แวดล้อมอยู่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ทั้งนี้ วีระ สมบูรณ์ อธิบายไว้ใน มิติสุขภาพ :
กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อสร้างสังคมแห่งสุขภาวะ ใน ปี พ.ศ. 2545 ว่า
การที่กระบวนทัศน์จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปเองโดยธรรมชาติดังกล่าว
ทำให้ต้องตระหนักและยอมรับว่า ไม่อาจตัดสินได้ว่า กระบวนทัศน์หนึ่งกระบวนทัศน์ใด
มีความถูกต้องหรือผิดพลาด ในเชิงระบบคุณค่า เนื่องจากกระบวนทัศน์แต่ละกระบวนทัศน์
จะสถาปนาตนเองขึ้นมาได้ ก็เมื่อสามารถแก้ไขปัญหาหรือตอบโจทย์ของยุคสมัย
และบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากกว่า
ทัศนะดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ ยุค ศรีอาริยะ ใน จินตนาการ 2000
กระบวนทัศน์และวิสัยทัศน์ใหม่ ใน ปี พ.ศ. 2542 ที่เห็นว่า
การปฏิวัติกระบวนทัศน์นั้น
เกี่ยวพันโดยตรงและแยกไม่ออกจากการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยของสังคม
ทั้งนี้ ตามหลักของกระบวนการเคลื่อนไหวของทั้งหมด (Holomovement) ของ เดวิด โบห์ม
แล้ว กระบวนทัศน์ ในฐานะระบบหนึ่งในธรรมชาติ จะไม่สัมบูรณ์ (absolute)
แต่จะมีการวิวัฒน์อย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตตลอดเวลา
กระบวนทัศน์ที่ขึ้นมาเป็นกระบวนทัศน์กระแสหลักแต่ละกระบวนทัศน์ จึงเป็น "ทางเลือก"
ของ แต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ดังที่ อีกอน จี. กูบา อธิบายไว้ใน The Paradigm
Dialog (ค.ศ. 1990)