ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถาน
การเก็บสะสมวัตถุต่างๆ เป็นงานอดิเรกของคนหลายคน
โดยแต่ละคนต่างก็มีวัตถุสะสมแตกต่างกันออกไป
นักสะสมส่วนใหญ่ล้วนมีความผูกพันกับวัตถุที่ตนเก็บเอาไว้ มีความหวงแหน รักใคร่
ชื่นชม และภาคภูมิใจ จนทำไม่อาจเก็บความชื่นชมและภาคภูมิใจไว้แต่ลำพังตนเอง
ต้องนำมาอวดญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และคนรู้จัก แล้วขยายวงกว้างออกไปถึงคนอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้บ่อยครั้ง การเก็บสะสมจึงนำไปสูการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน
เปิดแสดงต่อสาธารณชนในที่สุด
สาเหตุของการเก็บสะสมของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน
แต่อาจแบ่งเป็นสาเหตุต่างๆได้ เช่น
- การเก็บสะสมวัตถุต่างๆ ไว้ใช้งาน แต่ต่อมาไม่ได้ใช้งานแล้วยังเกิดความเสียดาย จึงเก็บไว้ต่อไป
- การเก็บสะสมด้วยความชื่นชอบในตัววัตถุเพราะความสวย ความแปลก ความหายาก เช่น สะสมงานศิลปะ สะสมหินแปลก
- การเก็บสะสมด้วยความผูกพันกับวัตถุ เช่น เก็บปากกาด้ามแรกในชีวิต แล้วจึงนำไปสู่การเก็บสะสมปากกาด้ามอื่นๆต่อไป หรือสะสมตุ๊กตาที่เคยเล่นตั้งแต่เด็กๆ
- การเก็บสะสมด้วยความผูกพันกับบุคคล หรือกลุ่มชน สถานที่ เรื่องราว ลัทธิ โดยใช้วัตถุเป็นสื่อ เช่น สะสมวัตถุที่เป็นสมบัติบรรพบุรุษ เพื่อเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษ สะสมของใช้ในศาสนา
- การเก็บสะสมเพื่อการศึกษา เช่น นักกีฏวิทยาสะสมแมลง นักโบราณคดีสะสมเศษภาชนะดินเผา นักสัตววิทยาสะสมโครงกระดูกสัตว์
นิสัยชอบเก็บสะสมของมนุษย์นี้ คงมีมานานตั้งแต่มนุษย์ยุคเริ่มแรก
เพราะเมื่อศึกษามนุษย์ในสังคมแบบแรกเริ่ม (primitive) ในปัจจุบัน เช่น ชนเผ่าสวาซี
(Swazi) ในทวีปอาฟริกา มีการสร้างอาคารพิเศษ เรียกว่า อุมซาโม (umsamo)
เป็นที่เก็บรักษาข้าวของเครื่องใช้ของบรรพบุรุษ
ในประเทศจีนมีหลักฐานระบุว่า เมื่อปีที่ 477 ปี ก่อนคริสตกาล (ตรงกับ
พ.ศ.66) ลูกศิษย์ของศาสดาขงจื๊อได้สร้างวัดขงจื๊อขึ้น ณ ตำบลฉูฟู จังหวัดชางดอน
(Qufu, Shangdon) ขึ้นหลังจากขงจื๊อเสียชีวิตได้สองปี และได้รวบรวมของใช้ของขงจื๊อ
เช่น เสื้อผ้า ไม้เท้า เครื่องดนตรี และเกี้ยวไว้ และจัดแสดงให้คนทั่วไปชม
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการอนุรักษ์วัตถุสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับศาสดาขงจื๊อ
วัดขงจื๊อแห่งนี้นับได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีหลักฐานบันทึกไว้
ความเป็นมาของคำว่า Museum และ พิพิธภัณฑสถาน
ประวัติพิพิธภัณฑสถานของไทย
หน้าที่ของพิพิธภัณฑสถาน