ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ญาณวิทยาในพุทธปรัชญา
ความรู้และแหล่งความรู้
ระดับ 1 อายตนะภายใน 6 (ปสาทรูป 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
และมนายตนะ 1 ) เกิดความรู้ดังนี้
- วัตถุ +แสงสว่าง + มนสิการ = เห็น
- เสียง+อากาศ+โสตะ+มนสิการ = ได้ยิน
- กลิ่น+วาโย+ ฆานะ+มนสิการ = ได้กลิ่น
- รส+อาโป+ชิวหา + มนสิการ =รู้รส
- วัตถุ+ปฐวี+กาย+มนสิการ =รู้สึก
- อารมณ์+หทัยวัตถุ+มนะ+มนสิการ -=-รู้
ความรู้ที่ได้มาทางอายตนะ 6 นี้เรียกว่า สุตามยปัญญา
ระดับ 2
ความรู้ที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ระดับ 1 แต่นำมาให้ความหมาย ให้คุณค่า
และนำไปใช้ประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ เรียกว่า จินตามยปัญญา
ระดับ 3 ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติสมถภาวนา เป็นความรู้ระดับ โลกิยญาน
มี 5 คือ อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้ ทิพพโสต
มีหูทิพย์ เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
ระดับ 4 ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติวิปัสสนา เป็นความรู้
ระดับโลกุตตรญาณ อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป เป็นตัวชีวัดว่าเป็นโลกุตรญาณ
ระดับ 3 และ 4 นี้รวมเรียกว่า ภาวนามยปัญญา
กระบวนการคิดของมนุษย์
มนุษย์มีจิต คิดตลอดเวลา เมื่อรู้อะไรจากภายนอกก็คิด
เมื่อไม่มีอะไรจากภายนอกมาให้คิดก็คิดถึงสิ่งต่างๆในอดีตตลอดเวลา
รูป+แสงสว่าง+จักษุ+มนสิการ = จักษุวิญญาณ C เวทนาC สัญญา C วิตักกะ C ปปัญจะ
CปปัญจสัญญาC อดีต --- อนาคต --- ปัจจุบัน
ความคลาดเคลื่อนของความรู้
ดูธรรมะ เรื่อง สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส และ ทิฎฐิวิปลาส
ความรู้กับความเชื่อ
ความรู้คือประสบการณ์ตรง ที่ได้มาด้วยการรู้เอง ปฏิบัติเดอง เห็นเอง
ได้เอง ความเชื่อคือสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดจากผู้อื่น แล้วเชื่อตาม
ไม่ได้ประสบด้วยตนเอง ตัวอย่างความเชื่อ คือคำสอนใน สิ่งที่ไม่ควรปลงในเชื่อ 1 0
ในกาลามสูตร เพราะทั้ง 10 ประการนั้น ยังไม่มีกระบวนการประสบการณ์ด้วยตนเองเลย
มีแต่อ้างอิงมาจากแหล่งอื่นๆ ทั้งหมด ความเชื่อจะใช้ความรู้สึกตนเอง
และเอาตนเองเป็นใหญ่
ความรู้ที่พึงประสงค์ในพุทธศาสนา
ดู นิปกปัญญา/เนปักกปัญญา
ความรู้เพื่อแก้ปัญหานำไปสู่การพ้นทุกข์ในระดับต่างๆ จนสูงสุดคือทุกข์จากการเกิดอีก
ปัญญากับความรู้
ปัญญา กับความรู้ โดยทั่วไปมีความหมายเดียวกัน
แต่ในรายละเอียดมีความแตกต่างกัน เมื่อพูดถึง ความรู้ท่านใช้คำว่า พหุสัจจะ บ้าง
สิลปะบ้าง แต่ลักษณะหรือการของความรู้ท่านใช้คำว่า ญาณ หรือ ชานนะ บ้าง
ความรู้นั้นได้มาจากการรับรู้ทางอายตนะและเก็บไว้จำ คิด และอาจจะเสื่อมหายไป
แต่ความรู้ก่อให้เกิดลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งขึ้นในใจ นั่น คือปัญญา
ซึ่งเป็นศักยภาพของจิตใจ ที่เป็ฯสิ่งชั้นำชีวิตให้เกิดได้ถูกทาง
ปัญญาที่เป็นคุณภาพของจิตใจนี้ สามารถมีอยู่ยาวนานต่อไปในชาติต่อไปด้วย เรยกว่า
สชาติกปัญญา ปัญยามีทั้งระดับโลกิยะและโลกุตตระ ปัญญาระดับโลกุตรของพระอรหันต์
ถือเป็นปัญญาสูงสุดที่ควรแสวงหา
เป้าหมายของความรู้
รู้ เกิดปัญญา กำจัดกิเลสให้สิ้นไป พ้นทุกข์