ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivist theory)
ความหมายของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
รูปแบบของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (types of constructivism)
กลไกการพัฒนาทางปัญญา (Mechanism of Cognitive development)
การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
กิจกรรมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการสอนใน CLEs
การออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบเปิด (open-ended
Environment)
ฐานการช่วยเหลือสำหรับการกล่าวออกมาและการสะท้อนผล
เครื่องมือกระบวนการ (Processing Tool)
ฐานการช่วยเหลือสำหรับการกล่าวออกมา (Articulation) และการสะท้อนผล (Reflection)
เอื้ออำนวยให้มีการ พูดออกมา (Articulation) และ การสะท้อนผล (Reflection) ในระหว่างที่มีการสำรวจ
ลักษณะของฐานความช่วยเหลือ
- แลกเปลี่ยนเพื่อทำความเข้าใจ (Shared Understanding) เป็นภารกิจตามสภาพจริงที่ฝัง (embed) อยู่ในสิ่งแวดล้อม มีการจัดเตรียมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจ
- ตัวช่วยเหลือ (Scaffold) ผู้ช่วยนี้ ก็คือ เครื่องมือ (tool) และ แหล่งทรัพยากร (resources)
คุณลักษณะของ OLE มีดังนี้ (Hanafin, 1999)
- สนับสนุนการคิดแบบอเนกนัย (divergent thinking) และ มุมมองที่หลากหลาย
- เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นหาวิธีการให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (heuristics-based learning)
- ประสบการณ์ส่วนบุคคล และ ความรู้เดิม มีความสำคัญมาก ในการเรียนรู้
- สถานการณ์ปัญหาของผู้เรียนเป็นปัญหาที่คลุมเครือไม่ (ill-defined and ill-structure)
- เอื้ออำนวยให้เกิด Metacognitive active และ Scaffolding metacognitvie inquiry Processes
Peter Dean (1999) ได้บรรยายเกี่ยวกับ ความน่าสนใจของปรากฏการณ์การเรียน
และ การสอนบนเว็บ (web-based teaching) ที่มีเสน่ห์และน่าดึงดูด โดยเฉพาะ
ความยืดหยุ่น (flexible) แหล่งข้อมูลมากมาย ซึ่ง ระบบต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยพัฒนา
และสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การเรียนรู้แบบเปิด
เป็นการเปิดโอกาสให้มีการศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตัวเองตามความตั้งใจ
สิ่งแวดล้อมการเรียน (OLEs) จะสนับสนุนการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
ที่พยายามจะทำความเข้าใจ กับสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ (Hannafin, Hall, Land,
& Hill, 1994, p. 48).
OLE ประกอบด้วย การเข้าสู่บริบท (enabling contexts) แหล่งข้อมูล
(Resource) เครื่องมือ (tools) และ ฐานการช่วยเหลือ (Scaffolding) สุมาลี ชัยเจริญ
(2547) ได้วิเคราะห์ การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ OLEs ไวั ดังนี้
1. การเข้าสู่บริบท (Enabling contexts)
เป็นพาหนะที่เหมาะสมซึ่งแต่ละละคนจะได้รับคำแนะนำ ที่เป็นความต้องการ หรือ ปัญหา
และการอธิบายแนวคิด การเข้าสู่บริบทจะแนะแนวผู้เรียนเกี่ยวกับการรู้จำ
(recognition) หรือ การสร้างปัญหาที่กำหนดให้
และการสร้างกรอบความต้องการในการเรียนรู้ ซึ่งมีรูปแบบพื้นฐาน 3 รูปแบบ คือ
- บริบทที่เป็นปัญหาเจาะจง (Externally Imposed)
เป็นบริบทการเรียกร้องจากภายนอก
จะช่วยให้เกิดความกระจ่างเกี่ยวผลลัพธ์ที่คาดหวังเกี่ยวกับความพยายามของผู้เรียน
และมีการแนะแนวทาง อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกและการใช้กลยุทธ์ Externally
Imposed มักจะถูกนำเสนอในรูปของปัญหาที่เหมาะสม หรือ
คำถามที่มีการจัดเรียบเรียงสิ่งเหล่านี้
จะช่วยผู้เรียนในการอ้างอิงหรือเชื่อมโยงไปยังลักษณะที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของตนเอง
- บริบทของ Externally Induced จะเป็นเรื่องราวที่เป็นฉากละคร ปัญหา
กรณีศึกษา การอุปมาอุปมัย
หรือเป็นคำถามที่จัดให้และผู้เรียนจะสร้างปัญหาที่ต้องแก้
และวิธีการที่จะแก้ปัญหา
- การเข้าสู่บริบทแบบ individual generated เป็นการเข้าสู่บริบทที่ผู้เรียนแต่ละคนสร้างขึ้นเอง ซึ่งเป็นบริบทที่ลักษณะเฉพาะไม่สามารถออกแบบมาล่วงหน้าได้ ผู้เรียนต้องสร้างการเข้าสู่บริบทบนพื้นฐานความต้องการและกรณีแวดล้อมมาเป็นหน่วยรวม
2. แหล่งทรัพยากร (Resources) เป็นแหล่งรวมวัสดุต่าง ๆ
ที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ ตั้งแต่ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (เช่น ฐานข้อมูล
คอมพิวเตอร์แบบการสอน และวีดีทัศน์) จนกระทั่ง สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือ ตำรา
แหล่งข้อมูลทั่วไป บทความในวารสาร) รวมถึงบุคคล ( เช่น ผู้เชี่ยวชาญ พ่อแม่ ครู
และกลุ่มเพื่อน สื่อบนเครือข่ายเป็นที่รวบรวมแหล่งทรัพยากรที่หลายหลาย
และแพร่หลายมากที่สุด และสามารถช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้ก็จริง
แต่สมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับแหล่งทรัพยากรที่หาได้ค่อนข้างจะยากสำหรับแต่ละคนในการค้นหา
การใช้สื่อบนเครือข่ายเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับ OLEs
มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการให้เนื้อหาที่ชัดเจนยากต่อการเข้าถึงแหล่งเนื้อหา หรือ
ยากต่อการใช้งาน หรือทั้งสองอย่าง ส่วนที่มีความเกี่ยวข้องอย่างมากของแหล่งทรัพยากร
คือ เป้าหมายการเรียนรู้ของแต่ละคน และความสามารถในการเข้าสู่แหล่งทรัพยากร ซึ่ง
แหล่งทรัพยากร อาจเป็นไปได้ทั้ง แหล่งทรัพยากรคงที่ (static Resources) เช่น
รูปภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ CD-ROM ตำรา มัลติมีเดีย หนังสือ
สารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ภาพยนตร์ เป็นต้น และ แหล่งทรัพยากรที่เป็นพลวัตร (Dynamic
Resources) เช่น ฐานข้อมูลวิชาภูมิศาสตร์ที่สร้างโดยกรมอุตุนิยม
ซึ่งมาจากฐานข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
3. เครื่องมือ (Tool) เป็นสื่อกลาง
หรือวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความใส่ใจ และลงมือกระทำกับแหล่งการเรียนรู้
และแนวคิดของตนเอง อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของเครื่องมือจะแบ่งตามการเข้าสู่บริบทของ
OLE และเจตนาของผู้ใช้ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยี
ชนิดเดียวกันสามารถที่สนับสนุนการทำงานที่แตกต่างกัน
เครื่องมือไม่ใช่สิ่งที่จะสนับสนุนกิจกรรมทางพุทธิปัญญา หรือ ทักษะ
แต่อาจะเป็นตัวกลางซึ่งจะสนับสนุน เพิ่มพูน หรือ ขยายการคิด
เครื่องมือเป็นสิ่งที่เป็นตัวกลาง สำหรับการนำเสนอและจัดกระทำกับความคิดรวบยอด
หรือแนวความคิดที่ซับซ้อนที่เป็นนามธรรม มี 3 ประเภท