ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivist theory)

ความหมายของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
รูปแบบของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (types of constructivism)
กลไกการพัฒนาทางปัญญา (Mechanism of Cognitive development)
การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
กิจกรรมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการสอนใน CLEs
การออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบเปิด (open-ended Environment)
ฐานการช่วยเหลือสำหรับการกล่าวออกมาและการสะท้อนผล
เครื่องมือกระบวนการ (Processing Tool)

รูปแบบของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (types of constructivism)

คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) ใช่ว่าจะเป็นทฤษฎีที่เป็นหนึ่งเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ แต่ ภายใต้ทฤษฎีนี้ ได้มีผู้แบ่งประเภท (Categories) ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ Cognitive Constructivism Radical Constructivism และ Social Constructivism ( Peter E. Doolittle , 2002 ) หรือในสาขาคณิตศาสตร์ได้มีการแบ่งกลุ่มไว้เป็น 3 กลุ่ม เช่นกัน ได้แก่ Radical Constructivism Social Constructivism และ Socio – Constructivist (Tom Cowan, 2004) เนื่องจากแนวคิดที่เป็นรากฐานสำคัญซึ่งปรากฏจากรายงานของนักจิตวิทยา และนักการศึกษา คือ Jean piaget และ Lev vygotsky ชาวรัสเซียได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท (อ้างถึงใน สุมาลี ชัยเจริญ, 2547 : 96) ซึ่งจะเป็นการพิจารณา (debate) ใน 2 รากฐานที่สำคัญที่อีกกลุ่มเน้นกระบวนการโครงสร้างทางปัญญาของบุคคล (individual Cognitive Structuring process) และ อีกกลุ่มหนึ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เป็นผลทางสังคม (Social effects on learning) ทั้งสองรากฐานตามแนวคิดของกลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ ก็คือ Cognitive constructivism และ Social Constructivism ( fosnot ,1996,P.23) ดังนี้



Cognitive Constructivism

Cognitive Constructivism เป็นทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยมที่มีจากรากฐานมา จากทฤษฎีของ พีอาเจต์ (Piaget) นักจิตวิทยา ชาวสวิส ที่ให้ความสำคัญกับอายุและขั้นของพัฒนาการ (Ages and Atage) พีอาเจต์ ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ในสาขา สัตววิทยา ที่มหาวิทยาลัย Neuchatel ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากได้รับปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1918 พีอาเจต์ ได้ไปทำงานกับนายแพทย์

บิเนต์ (Binet) และ ซีโม (Simo) ผู้ซึ่งเป็นผู้แต่งข้อสอบเชาวน์ขึ้นเป็นครั้งแรก พีอาเจต์มีหน้าที่ทดสอบเด็กเพื่อจะหาปทัสถาน (Norm) สำหรับเด็กแต่ละวัย พีอาเจต์พบว่า คำตอบของเด็กน่าสนใจมาก โดยเฉพาะคำตอบของเด็กที่เยาว์วัย เพราะมักจะให้คำตอบผิด แต่เมื่อพีอาเจต์ได้วิเคราะห์คำตอบที่ผิดเหล่านั้นก็พบว่า คำตอบของเด็กเล็กที่ต่างไปจากคำตอบเด็กโต เพราะมีความคิดต่างกัน

พีอาเจต์ เชื่อว่า คนเราเกิดมามีความพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและมีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ Organization และ Adaptation (สุรางค์ โค้วตระกูล : 2545,47-50)

การจัดและรวบรวม(Organization) หมายถึง กระบวนการจัดและรวบรวมกระบวนการต่าง ๆ ภายในเข้าเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เป็นระเบียบและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตราบที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

การปรับตัว (Adaptation) หมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรืออยู่ในภาวะสมดุล

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย