สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดความรู้ของมนุษย์
ญาณวิทยา (epistemology) หมายถึง
ศาสตร์หรือทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้แท้ หรือความรู้ที่มีระบบ ในทางปรัชญา
ความรู้ต้องเป็นความรู้ในความจริง เพราะฉะนั้นปัญหาญาณวิทยา จึงไม่ใช่เพียงว่า
ความรู้คืออะไร แต่ยังเกี่ยวพันกับความจริงด้วย เช่น อะไรคือสิ่งที่เรารู้
มนุษย์รู้ความจริงได้หรือไม่ โดยวิธีใด ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์ (Relative)
หรือเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) เป็นต้น
โปรตากอรัส (Protagoras) มนุษย์คือมาตรการสำหรับทุกสิ่ง (Man
is the measure of all things.) : ความรู้และความจริงเป็นอัตวิสัย
โปรตากอรัสเห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า ความรู้
นั้นเป็นเพียงความเห็นหรือทัศนะของแต่ละคน (subjective opinion)
ความรู้ขึ้นอยู่กับผู้รู้แต่ละคน สำหรับโปรตากอรัส ความรู้ที่เป็นสากล
เปลี่ยนแปลงได้ ไม่ตายตัว ไม่จริงแท้แน่นอน ในฐานะนักคิดในลัทธิประสบการณ์นิยม
(empiricism) โปรตากอรัส เน้นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส
และเชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นสิ่งจริง (seeing is believing
โสคราตีส (Socrates) โสคราตีส เชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งสัมบูรณ์ คือ
เป็นสากล เที่ยงแท้แน่นอน โสคราตีสเชื่อว่า ผู้มีความรู้จะไม่เป็นคนเลวโดยเด็ดขาด
ส่วนผู้ที่ยังทำผิด ก็เพราะเขาไม่มีความรู้ มีแต่เพียงความเห็น
จึงอาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดา ผู้มีความรู้ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงได้ตรงกัน
เพราะความรู้หรือความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์อยู่แล้ว
เรียกว่าเป็นความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriori Knowledge) ดังนั้นสิ่งที่ถูกรู้คือ
ตัวเรา มิใช่โลกภายนอก คนเราต้องศึกษาตนเอง (Know Thyself)
ให้เข้าใจแล้วจะพบความจริง
พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
ยุคอริสโตเติล อริสโตเติล (Aristotle)
ยุคฟรานซิส เบคอน
ยุคปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles
Darwin)