สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดความรู้ของมนุษย์
พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
ยุคอริสโตเติล อริสโตเติล (Aristotle)
ยุคฟรานซิส เบคอน
ยุคปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles
Darwin)
พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
เนื่องจากมนุษย์มีธรรมชาติของความอยาก รู้อยากเห็น ความคิดริเริ่ม
และมีความปรารถนาที่จะพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของตนให้ดียิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงพยายามเสาะแสวงหาความรู้ความจริงต่าง ๆ อยู่เสมอ
เมื่อพบเห็นสิ่งใดหรือเกิดความสงสัยขึ้นมาก็พยายามศึกษาหาความรู้ความจริงใน
สิ่งนั้น วิธีหาความรู้ความจริงมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน อาจแบ่งตามยุคสมัยได้ดังนี้
ยุคโบราณ ในสมัยโบราณมนุษย์มักได้ความรู้ความจริงโดยวิธีต่าง ๆ เช่น
- โดยบังเอิญ (By chance) ความรู้ความจริงประเภทนี้
เป็นความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดฝันหรือไม่เจตนาโดยตรง
แต่บังเอิญเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์บางอย่างทำให้มนุษย์ได้รับความรู้ เช่น
การค้นพบยาเพนนิซิลินของอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Flemming)
การค้นพบวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคของหลุยส์ ปาสเตอร์ (Louise Paster)
การค้นพบรังสีเอกซ์ (X-ray) ของเริงท์แกน (Raentgen)
การค้นพบว่ายางพาราดิบเมื่อถูกความร้อนจะช่วยให้ยางนั้นแข็งตัว
และมีความทนทานเพิ่มขึ้นของชาร์ลส์ กูดเยียร์ (Charls Goodyear)
ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์ยางรถยนต์ที่แพร่ฟลายในปัจจุบันนี้ เป็นต้น
การค้นพบดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในขณะทำการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้นและพบ
ปรากฏการณ์โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่ไม่ได้คาดหวังเอาไว้
- โดยขนบธรรมเนียมประเพณี (By custom and tradition)
บางครั้งมนุษย์ได้รับความรู้โดยวิธีการทำตามปทัสถาน (Norm) ของสังคม เช่น
การเคารพ การแต่งกาย การแต่งงาน มารยาท และพิธีทางสังคมต่าง ๆ เป็นต้น
- โดยผู้เชี่ยวชาญ (By expert) เป็นการหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง
เช่น ได้ความรู้มาจากนักกฎหมาย แพทย์ นักดนตรี เป็นต้น
- โดยผู้มีอำนาจหรือผู้มีชื่อเสียง (By authority)
เป็นการหาความรู้ที่ได้จากผู้รอบรู้ที่มีชื่อเสียงหรือที่เรียกว่า นักปราชญ์
ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลหรือมีอำนาจในสังคม
ความรู้ที่ได้นี้อาจจะถูกหรือผิดก็ได้เช่น อริสโตเติล (Aristotle)
ปราชญ์ในสมัยโบราณ กล่าวว่า ผู้หญิงมีฟันมากกว่าผู้ชาย หรือ ที่ปโตเลมี
(Ptolemy) เชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล
ซึ่งก็มีการเชื่อถือกันมาโดยไม่มีใครกล้าตรวจนับ เปรียบเทียบหรือพิสูจน์
- โดยประสบการณ์ส่วนตัว (By personal experiences) ประสบการณ์ต่าง ๆ
ของแต่ละคนช่วยให้บุคคลมีความรู้และมีวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ
โดยยึดประสบการณ์ที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วเป็นแนวทาง เช่น
การทำนาในเดือนที่เคยปลูกได้ผลมากที่สุด การสอนตามประสบการณ์ที่คิดว่าได้ผล
เป็นต้น
- โดยวิธีลองผิดลองถูก (By trial and error) ความรู้ชนิดนี้มักได้มาจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือปัญหาที่ไม่เคยทราบมาก่อน เมื่อแก้ปัญหานี้ถูกก็จดจำไว้ใช้ต่อไป ถ้าแก้ปัญหาผิดก็จำไว้เพื่อจะได้ไม่ใช้อีกต่อไป