วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
นักประพันธ์ชาวเยอรมันในยุค Aufklaerung
[1720-1785]
ยุคนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคพุทธิปัญญา หรือยุคกระจ่างแจ้ง
ยุคนี้จะเน้นความเชื่อในเหตุผล ( der Glaube an die Vernunft)
คนในสมัยนี้เชื่อว่า ถ้ามนุษย์รู้จักใช้ ปัญญา ในทางที่ถูกต้องแล้ว
มนุษย์ก็จะสามารถเอาชนะความเปราะบางและความเจ็บปวดจากสงครามศาสนาได้
มนุษย์ควรใช้ปัญญาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในโลกเสียใหม่คือการกล้าคิด
กล้าพูดในสิ่งต่างที่ถูกต้อง แล้วต่อจากนั้นทุกชีวิตก็จะมีความสุข
แต่มีข้อแม้ว่ามนุษย์ต้องได้รับการ
อบรมให้เข้าใจก่อนว่าสิ่งใดถูกต้องและอะไรคือเหตุผลที่แท้จริง ยุคนี้จึงได้ชื่อว่า
ยุคแห่งการใช้ปัญญา
พระเจ้า Friedrich Wilhelm I [1731-1740] ปกครอง Preussen
พระองค์เป็นคนเรียบง่าย ประหยัด และไม่รักความหรูหรา ได้รับการขนานนามว่าเป็น
Soldatenkoenig พระองค์เป็นคนเคร่งศาสนา ไม่สนใจการละคร
และหันมาใช้เงินเพื่อสร้างกองทัพแทน มีการนำรูปแบบของการเกณฑ์ทหาร (Wehrpflicht)
มาใช้ ในสมัยพระองค์เศรษฐกิจของรัฐ Preussen รุ่งเรืองมาก
พระองค์เป็นผู้ส่งเสริมแนวคิดแบบ Aufklaerung ในเยอรมัน
พยายามสร้างจรรยาบรรณแห่งรัฐ (Staatsethik) ที่ว่าทุกคนแม้แต่กษัตริย์
ก็ต้องรับใช้รัฐ ด้วยคำกล่าว Ich bin der erste Diener des Staates
อีกทั้งในขณะนั้นประเทศปกครองด้วยลักษณะสมบูรณาญาสิทธิราช (Absolutismus)
จึงมีการเรียกว่า Aufgeklaerter Absolutismus
ในฝรั่งเศสยุคของพระเจ้าหลุยที่ 14 มีนักปรัชญาที่สำคัญหลายคน เช่น
- Descartes [1596 1650]
เขาเป็นผู้สอนลัทธิเหตุผลนิยมคนแรก และมีคำกล่าวของเขาว่า ich denke , also bin
ich (เพราะฉันคิดฉันจึงเป็น) กระตุ้นให้มนุษย์รู้จักคิด
- Voltaire [1694 1778]
เป็นคนที่ชอบวิจารณ์ศาสนา การเมือง
ความไม่ยุติธรรม เพื่อจะให้ถูกต้องตามเหตุผล
เขาเป็นคนแรกที่เขียนวรรณคดีตามแนวคิดนี้สำเร็จ
งานของเขามีผลต่อวรรณคดีเยอรมันอย่างมาก
นักปรัชญา Aufklaerung ของเยอรมัน
- Gottfried Wilhelm Leibniz [1646 - 1716]
เขาได้สร้างคำสอนขึ้นมาเรียกว่า Monadenlehre ก็คือโลกมนุษย์จะประกอบไปด้วย
Monaden (ดวงจิต) รวมกันเป็นโลก พระเจ้าจะสร้างสิ่งต่าง ๆ ด้วย Monaden
ให้เป็นระเบียบและสมเหตุสมผลจนกลายเป็นมนุษย์ และMonaden ที่ใหญ่ที่สุดคือ Gott
(พระเจ้า)
- Imanuel Kant [1724 1804]
เป็นนักปรัชญาที่สำคัญ
และมีอิทธิพลต่อนักเขียนอื่นๆ Kant วิธีอธิบายที่แตกต่างกันออกไป
มองโลกค้านกับ Empirismus โดยสิ้นเชิงเชื่อว่าโลกนี้เต็มไปด้วย Vernuft
แต่ไม่ได้เกิดจากประสบการณ์ มนุษย์มี Vernunft มาตั้งแต่เกิด
มนุษย์สามารถรู้จักได้เอง เนื่องจากในสมองถูกจัดระบบมาแล้ว มนุษย์มี Kategorie
การจัดระบบความคิดอยู่แล้ว มนุษย์มีทั้ง Vernunft (ปัญญา) , Geist (จิตวิญญาณ) ,
Verstand (ความเข้าใจ) เป็นการส่งเสริมยกย่องมนุษย์ขึ้นไป
หนังสือที่เผยแพร่แนวความคิดแบบ Aufklaerung ของเขา ที่สำคัญ
Kritik der reinen Vernunft [1781]
Beantwortung der Frage: Was ist
Aufklaerung? [1784]
Zum ewigen Frieden [1795]
นักประพันธ์ชาวเยอรมันในยุค Aufklaerung
- Johann Christoph Gotsched
Gottsched เป็นนักเขียนแนวหน้าในยุค Aufklaerung เกิดเมื่อ 1700
ที่เมืองยูดิทเทน ในแคว้น พรอยเซนตะวันออก
เขาหนีออจากพรอยเซนเพื่อให้พ้นจากการเกณฑ์ทหารของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1
เนื่องจากเขามีรูปร่างสูงใหญ่จึงเป็นที่สนใจและมีพระประสงค์จะให้เขาไปเป็นทหารรักษาพระองค์
เขาหนีไปอยู่ที่ไลพ์ซิกใน ค.ศ. 1724 ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิยาลัย
และทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางวรรณคดีของยุค เขาได้เขียนบทความชื่อ
ศิลปะในการเขียนงานวิจารณ์ (Versuch einer kritischen Dichtkunst)
ตั้งแต่นั้นเขาก็ถูกยกย่องว่าเป็น สันตะปาปาแห่งวรรณศิลป์ (Literaturpapst)
อีกทั้งงานที่มีอิทธิพลกับงานประพัน์ธคือ Deutsche Schaubuehne nach den Regeln der
Griechen und Roemer eingerichte [1740 - 1750] เกี่ยวข้องกับการละครโดยตรง
วางกฎเกณฑ์ของละครตามกฎของกรีกโรมันโบราณ
เขานำวิธีการเขียนแบบเคร่งครัด แจ่มแจ้ง และเรียบง่าย
เข้ามาแทนวิธีการเขียนแบบใช้คำฟุ่มเฟือยของสมัยบาร็อค โดยตั้งกฎการเขียนไว้ว่า
ต้องใช้คำให้น้อยที่สุดแต่ได้ความมากที่สุด ที่สำคัญก็คือ Gottsched
ได้ปฏิรูปการละครและการเขียนบทละคร และได้ตั้งกฎที่สำคัญไว้หลายอย่างได้แก่
กฎแห่งเอกภาพทั้งสาม (dreifache Einheiten des Dramas) ได้แก่
- Hanlung (เอกภาพของการแสดง) คือ ละครเรื่องหนึ่งๆ ควรเป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ
- Zeit (เอกภาพของเวลา) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะต้องจบภายในวันเดียว
- Ort (เอกภาพของสถานที่) คือ บนเวทีฉากจะต้องมีฉากเดียวไม่เปลี่ยนสถานที่ของเหตุกาณ์
เอกภาพทั้ง 3 ค่อนข้างเคร่งครัดเกินไป ดังนั้นจึงมีนักเขียนคนอื่นๆ
วิจารณ์คำสอนของเขาอย่างรุนแรง โดยเฉพาะ Lessing เห็นว่าทฤษฎีของ Gottsched
เคร่งครัดเกินไป และไม่เหมาะกับยุคนี้
บทละครในสมัยโบราณ คนดูจะต้องเกิด Karthasis (การชำระล้างจิตใจ)
เพราะแต่ก่อนเล่นเพื่อบูชาเทพเจ้าจุดประสงค์จะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
การบรรยาย Gottsched ไปอิงนักการละครของกรีกชื่อ Aristoteles เขาได้เขียนเรื่อง
Poetik เอาไว้ เป็นทฤษฎีการละคร และ Gottsche ไปอิงหนังสือเล่มนี้มากไป Aristoteles
อ้าง Karthasis (การชำระล้างจิตใจ) Gottsched
ได้นำตรงนี้มาขยายความว่าละครในสมัยนี้น่าจะเป็นอย่างนี้ได้ วิธีการที่ทำให้เกิด
Karthasis ของยุคโบราณคือ การใช้วิธี Furcht (ความกลัว)
และเมื่อดูชะตากรรมของมนุษย์บนเวที เราก็จะเกิดความกลัว
และเมื่อดูละครจบความกลัวต่อบาปนี้จะช่วยชำระความไม่ดีออกไปได้ แต่ Gottsched
ยกตัวอย่างละครที่มี Furcht ผิดไป เพราะไปยกตัวอย่างของการแสดงของฝรั่งเศส
จุดนี้จึงถูก Lessing วิจารณ์ว่า ละครของฝรั่งเศสเทียบกับของกรีกไม่ได้เลย
เพราะของฝรั่งเศสไม่ใช่ Furcht แต่เป็น Schreck (ตกใจ,สยดสยอง) Lessing
บอกว่าละครที่มี Furcht ควรเป็นของอังกฤษ
ทฤษฎีของ Gottsched อีกอย่างคือ การแบ่งละครเป็น 2 ชนิด ตาม Aristoteles
- Tragoedie ใช้เล่นสำหรับเจ้านายชั้นสูง เป็นชะตากรรมของผู้สูงศักดิ์
ห้ามนำไปเล่นกับสามัญชน
- Komoedie เป็นชะตากรรมของสามัญชน
Lessing
เห็นว่าจุดนี้เป็นการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจนไม่เหมาะกับยุค Aufklaerung
เพราะยุคนี้เน้นความเสรีภาพ สติปัญญา เขาจึงได้นำมาแบ่งใหม่
- Gotthold Epharim Lessing [1729 1781]
เป็นนักเขียนที่เด่นที่สุดในยุค Aufklaerung และเป็นคนสุดท้ายของยุค
เขาเป็นคนที่ชอบโต้แย้ง ไม่รับอะไรง่ายๆ ลักษณะงานประพันธ์ก็จะสอดคล้องกับความเสรี
สร้างสรรค์ ความคิดเชิงสั่งสอน ออกมาในรูปแบบ satirisch/kritisch (เสียดสี)
Lessingไม่ได้ตั้งทฤษฏีเอง แต่เพียงแค่วิจารณ์ทฤษฎีของคนอื่น
เขายังมีอิทธิพลต่อนักเขียนรุ่นหลังๆ เช่น Goethe Schiller เป็นอย่างมาก Lessing
เป็นผู้ยกระดับวรรณคดีเยอรมันให้เป็นวรรณคดีโลก เท่ากับอังกฤษ และฝรั่งเศส
Lessing เป็นลูกบาทหลวง เกิด 22 ม.ค. 1729 ที่เมืองคาเมนซ์ ในแคว้นซัคเซน
สนใจการละครโดยได้รับแรงบันดาลใจจาก Gottsched
ผลงานของเขาได้แก่
- Der junge Gelehrter [1747]
- Miss Sara Sampson
[1755] เขาเริ่มการเขียนแนวใหม่โดยไม่ใช้คำประพันธ์วรรคยาวอีกต่อไป
แต่เขียนเป็นร้อยแก้วธรรมดาแทน ละครเรื่องนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น
ละครโศกนาฏกรรมชาวบ้าน (Das buergerliche Trauerspiel) เรื่องแรก
เพราะแต่เดิมสอนกันว่าละครโศกนาฏกรรมจะต้องเป็นเรื่องของกษัตริย์หรือวีรบุรุษชั้นสูงในสังคมเท่านั้น
แต่ Lessing ทำให้เห็นว่าชาวบ้านหรือสามัญชนก็สามารถนำมาแต่งเป็นโศกนาฏกรรมได้
และเขายังเป็นชาตินิยมอีกด้วยโดยในเรื่องนี้เขาได้ใช้คำว่า Trauerspiel แทนคำว่า
Tragoedie และ Lustspiel แทนคำว่า Komoedie ในเรื่อง Minna von Barnhelm
- Philotas [1759] เรื่องนี้
Lessingได้เขียนขึ้นเพื่อสรรเสริญเจ้าชายฟิโลทัสผู้ตกเป็นเชลยของข้าศึกและทรงตัดสินพระทัยสละพระชนชีพเพื่อมปิตุภูมิของพระองค์
- Minna von Barnhelm [1767]
เรื่องเป็นการนำชะตากรรมของพวกชั้นชนสูงมาเล่นให้ดู เป็นเรื่องของแม่ทัพพรอยเซน
ชื่อเทลไฮม์ กับสตรีผู้สูงศักดิ์ชื่อ มินนา ฟอน บาร์นเฮล์ม ทั้งคู่เป็นคู่หมั้นกัน
เทลไฮม์ถูกกล่าวหาว่าเข้าข้างซัคเซน
ดังนั้นจึงถูกปลดจากตำแหน่งและถูกยึดทรัพย์
และยิ่งไปกว่านั้นเขายังได้รับบาดเจ็บที่แขนทำให้เขาเป็นคนพิการ
เทลไฮม์รู้สึกว่าตัวเองต้อยต่ำจึงถอนหมั้นและหนีไปอยู่ที่โรงแรมเล็กๆ แห่งหนึ่ง
มินนาออกตามหาเทลไฮม์จนพบ แต่เทลไฮม์ก็ได้ปฏิเสธความรักและความหวังดีของมินนา
เพราะคิดว่าตัวเองเป็นคนพิการและยากจนไม่อยากทำให้มินนาลำบาก
จนในที่สุดมินนาคิดอุบายว่าแกล้งทำเป็นประสบชะตาเดียวกันกับเทลไฮม์คือ
ถูกไล่ล่ออกจากบ้านและถูกตัดออกจากกองมรดก เทลไฮม์จึงยอมหมั้นกับมินนาอีกครั้ง
สุดท้ายโชคได้ช่วยทั้งสอง กษัตริย์พรอยเซนได้คืนตำแหน่งให้เทลไฮม์
- Emilia Galotti [1772] เป็นโศกนาฏกรรมชาวบ้านเรื่องที่สอง
เรื่องมีว่า เจ้าชายกอนซากา(Gonzaga)
ผู้ครองนครผู้เหี้ยมโหดได้ใช้กำลังฉุดเอมิเลียมาเป็นนางบำเรอ
ในคืนที่เอมิเลียกำลังจะแต่งงาน และลูกน้องของเจ้าชายได้ฆ่าคนรักของเอมิเลีย
หลังจากนั้นคนรักของเจ้าชายชื่อ
Orsinaได้เปิดโปร่งเรื่องทั้งหมดและกล่าวหาว่าเอมิเลียร่วมมือกับเจ้าชายฆ่าเจ้าบ่าวตัวเอง
ทำให้เอมิเลียเกิด Konflikในตัวเอง จึงคิดจะฆ่าตัวตาย
แต่พ่อของเธอบอกว่าจะช่วยฆ่าให้เพื่อรักษาสิ่งที่เรียกว่า Tugend (ความดี)
และพ่อของเธอก็ถูกจับ
ละครเรื่องนี้มีอิทธิพลมากสมัยนั้น
เพราะในบทละครได้มีการกล่าวโจมตีการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้องของเจ้าครองแคว้น
และวิจารณ์ความหยาบช้าของผู้คนในราชสำนัก เป็นเหมือนการโจมตีสภาพสังคมสมัยนั้น
และแสดงให้เห็นวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของสามัญชน
- Nathan der Weise [1777] Lessing
ได้เผยแพร่งานเขียนของนักศาสนศาสตร์ ชื่อไรมารุส (Reimarus)
ซึ่งเป็นข้อความที่เขียนวิจารณ์ข้อความในคัมภีร์ไบเบิ้ล
ทำให้เขามีปัญหากับหัวหน้าพระชื่อ Goeze ในฮัมบวร์ก Goeze ได้เขียนโจมตี Lessing
และLessing ก็ได้เขียนตอบโต้กลับด้วยบทความที่ฉลาดและแหลมคม ข้อความนี้ชื่อ แอนติ
เกิซเซ (Anti-Goeze) แต่แล้วการตอบโต้ก็ต้องหยุดลง เพราะ Herzogs Karl von
Braunschweig ได้สั่งห้ามให้Lessingเผยแพร่เรื่องราวนี้ต่อไป ทำให้Lessing
แสดงความคิดของเขาลงในงานประพันธ์แทน Nathan der Weise เป็นบทละครร้อยกรอง
เรื่องเกิดขึ้นในยุคกลางสมัยสงครามครูเสด สามผู้แทนศาสนามาพบกันใน
Jerusalem ได้แก่ Sulatan Saladin (อิสลาม), Nathan der Weise (ยิว), Tempelritter
(คริสต์) ทั้งสามมีความขัดแย้งซึ่งกันและกัน แต่ความขัดแย้งก็ถูกแก้โดยใช้เหตุผล
จุดสำคัญของเรื่องอยู่ตอนที่ Sulatan ถาม Nathan
ว่าศาสนาใดในสามศาสนาเป็นศาสนาที่แท้จริง Nathan
ตอบแบบอุปามอุปไมยโดยยกตัวอย่างเรื่องแหวนสามวง (Ringparabel) แหวน อุทาหรณ์
เรื่องมีอยู่ว่า
พ่อคนหนึ่งมีลูกสามคนและมีแหวนวิเศษวงหนึ่ง
ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้เป็นที่รักของคนทุกคน เขาไม่รู้จะให้แหวนแก่ลูกชายคนไหนดี
จึงสั่งทำแหวนปลอมที่เหมือนของจริงขึ้นมาสองวง แล้วมอบให้ลูกทั้งสามคน เมื่อเขาตาย
ลูกทั้งสามต่างทะเลาะวิวาทกันว่าใครจะได้แหวนที่แท้จริงไป
จนกลายเป็นศัตรูกันและต้องพึ่งศาลตัดสิน ผู้พิพากษาเป็นคนฉลาดจึงถามทั้งสามคนว่า
คนไหนที่รักอีกสอง ปรากฏว่าทุกคนต่างรักตนเองและเกลียดอีกสองคน
ผู้พิพากษากล่าวต่อไปว่าให้ทั้งสามคนออกไปแข่งกันทำให้คนอื่นรัก
โดยแนะนำว่าควรจะต้อง ทำดี มีจิตใจอ่อนโยน และเข้ากับทุกคนได้แท้จริง เท่านั้น
ใครทำสำเร็จคนนั้นจะได้ครอบครองแหวนที่แท้จริง เช่นเดียวกัน
ศาสนาที่แท้จริงจะปรากฏก็ต่อเมื่อมีมนุษยธรรมและความอดกลั้นเท่านั้น
ไม่ใช่ในสงครามหรือชัยชนะ จุดมุ่งหมายของเรื่องคือ ขันติธรรมทางศาสนา
เคร่งศาสนาได้แต่ต้องใช้เหตุผล ไม่ใช่เชื่ออย่างงมงาย
Lessing ตายอย่างกะทันหันระหว่างเดินทางไปเยือนเมือง Braunschweig (15
ก.พ.1781)