ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
จิตรกรรม
ศิลปะตะวันตก
ศิลปะตะวันออก
จิตรกรรม
จิตรกรรม ( Painting)
เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ
วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา
แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้
ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน
องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ
1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
2. วัสดุ
ที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน
งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์
เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ
จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน
การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร
(Painter)
งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ
ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพื้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น
คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต่
การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น
จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย
ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึกฝนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน
ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป
2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง
หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี
ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่า การวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม
เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น
ประติมากรรม (Sculpture)
เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร
มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ
วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน
ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้น
ประเภทของงานประติมากรรม
1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief )
เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ
มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า
มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่ รูปนูนแบบเหรียญ
รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์
วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ
ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ
แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก
ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ
ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ
พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ
การพิมพ์ภาพ
การพิมพ์ภาพ ( PRINTING ) การพิมพ์ภาพ หมายถึง
การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะ
เหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถ
สร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา
ชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี
จากนั้น จึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก
ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพ ขึ้นมาอย่างมากมาย
มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการพิมพ์ ทำให้การพิมพ์มีการ
พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์
2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป
3. สีที่ใช้ในการพิมพ์
4. ผู้พิมพ์
ผลงานที่ได้จากการพิมพ์ มี 2 ชนิด คือ
1. ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ
เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ
อาจมีข้อความตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้
2. สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ
ตัวเลข อาจมี ภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้
ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้
1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
- ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น
งานวิจิตรศิลป์
- ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์
แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
- ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT )
เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธีการพิมพ์ที่ถูก
สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน
จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน
เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย
- ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
- ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
- ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม
แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ
- แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS )
เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์
ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์
ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT )
ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ
- แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS )
เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง
ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง
) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING
แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด
คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์
ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร
- แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า
ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย
ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET )
ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT )
- แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น
องค์ประกอบของศิลปะ
การมองเห็นแบบธรรมดา ( Looking)
หรือแบบทั่วไปนั้นเป็นการมองเห็นหรือการรับรู้ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่ปราศจากการสังเกตความตั้งใจและไร้ความประสงค์
คล้ายกับปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นโดยทันทีเป็นปกติวิสัย
ซึ่งแตกต่างจากการรับรู้การเห็นทางศิลปะที่เป็นความสามารถที่จะเข้าใจ
และกินความกว้างขวางจากภายนอกสู่ความรู้สึกภายในมากกว่า
การเห็นรูปทรงศิลปะและพยายามทำความเข้าใจกับรูปทรงที่มองเห็นนั้นเป็นอาการที่ลึกซึ้งกว่ากระบวนการใช้สายตาแบบปกติ
และยังเกี่ยวข้องไปถึงการทำงานของสมองและระบบประสาทของผู้ดู
ซึ่งกำลังรับรู้ข้อมูลต่างๆ จากประสาทสัมผัสด้วยความมีชีวิติชีวาและเมื่อได้รับรู้
การรับรู้จะรวมตัวเป็นการรับรู้สะสม
( Funded Perception ) และพัฒนาไปสู่ประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ ( Aeathetic
Ezxperience ) ขั้นของการมองเห็นในช่วงนี้จะเห็นความสัมพันธ์ของส่วนละเอียด และ /
หรือการเห็นทะลุปรุโปร่งแบบแจ้งเห็นจริง ( สุชาต เถาทอง. ม.ป.ป. : 53 )
องค์ประกอบของการเห็น
- การเห็นรูปและพื้น ( Figure and Ground )
เป็นองค์ประกอบแรกที่มนุษย์มองเห็นจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมีผลมาจากการที่เรามองเห็นวัตถุตาเราจะรับรู้พร้อมๆ กันทั้งรูปและพื้น
โดยวัตถุจะเป็นรูปและบริเวณรอบ ๆ จะเป็นพื้น
- การเห็นแสงและเงา ( Light and Shadow )
การรับรู้ได้หรือมองเห็นได้เพราะแสงสว่างส่องกระทบบริเวณวัตถุนั้นต้องอยู่
ถ้าไม่มีแสงสว่างน้ำหนักของวัตถุจะไม่เกิดขึ้นหรือถ้ามีแสงสว่างเท่ากันเงาก็ไม่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
แสงและเงาจึงมีผลต่อการรับรู้รูปร่าง
และขนาดของวัตถุที่แปรเปลี่ยนไปตามปริมาณและค่าน้ำหนักของแสงและเงา ( Value )
- การเห็นตำแหน่งและสัดส่วน ( Position and Proportion )
การรับรู้หรือมองเห็นเกิดขึ้นได้ เพราะตำแหน่งของเราและตำแหน่งของวัตถุ
ถ้าเราอยู่ใกล้วัตถุก็จะมองเห็นส่วนราย ละเอียดได้ชัดเจน และมีขนาดใหญ่
แต่ถ้าอยู่ไกลจากวัตถุก็ตะมองเห็นไม่ชัดเจนและมีขนาดเล็กเป็นสัดส่วนกันไป
- การเห็นความเคลื่อนไหว( Motion ) การรับรู้และมองเห็นได้เพราะความเคลื่อนไหวของวัตถุหรือเพราะตัวเราเคลื่อนไหวเองซึ่งการเคลื่อนไหวมีทั้งการเคลื่อนที่อย่าง รวดเร็ว เชื่องช้า ทิศทาง และ จังหวะ เป็นต้น
ทัศนธาตุ
ทัศนธาตุ คืออะไร ทัศนธาตุมีความสำคัญมากเป็นส่วนประกอบของศิลปะ (Elements of arts) เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้งานศิลปะเกิดเป็นรูปธรรม ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง แสง เงา สีน้ำหนัก ลักษณะผิวพื้น ฯลฯ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปะ
- จุด เป็นทัศนธาตุเบื้องต้นที่สุดของการเห็น จุดมีมิติเป็นศูนย์ ไม่มีความกว้าง ความยาว หรือความลึก เป็นธาตุที่ไม่สามารถแบ่งออกได้อีก เป็นสิ่งที่เล็กที่สุดที่จะใช้สร้างรูปทรงขึ้นในภาพ
- เส้น เป็นทัศนธาตุเบื้องต้นของทัศนศิลป์ทุกๆ แขนง เส้นเป็นพื้นฐานของโครงสร้างของทุกสิ่งในจักรวาล สามารถแสดงความรู้สึกได้ทั้งด้วยตัวมันเองและด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ขึ้น
- สี เป็นทัศนธาตุที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในงานจิตรกรรม สีมีคุณลักษณะของทัศนธาตุอื่นๆ อยู่ครบถ้วน สีสามารถให้ความรู้สึกถึง ความร้อน อบอุ่น หรือเยือกเย็น ขึ้นอยู่กับการนำคุณสมบัติของสีมาใช้ในผลงานทัศนศิลป์
- รูปร่าง มีลักษณะเป็น 2 มิติ หรืออาจะเป็นการเรียกง่ายๆ ว่า เส้นรอบนอก ของรูปทรง
- รูปทรง มีลักษณะเป็น 3 มิติ มีมวลและปริมาตรที่ชัดเจน
- แสงเงา เป็นลักษณะของค่าน้ำหนักอ่อนแก่ตั้งแต่ดำที่สุดไปจนถึงขาวที่สุด
- สี มี 2 ลักษณะ คือ แสงสีและสีที่เป็นวัตถุธาตุ โดยมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป
- น้ำหนัก เป็นลักษณะของค่าน้ำหนักอ่อนแก่ของสีตั้งแต่เข้มที่สุดไปจนถึงสว่างที่สุด
- ลักษณะพื้นผิว เป็นการสร้างให้ผลงานมีความพิเศษและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นโดยใช้พื้นผิวที่เหมาะสมกับภาพผลงานนั้นๆ เป็นตัวนำเสนอ ซึ่งผลงานบางชิ้นอาจจะมีลักษณะพื้นผิวหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- พื้นที่ว่าง ผลงานทุกชิ้นจำเป็นต้องมีพื้นที่ว่าง ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับรองรับทัศนธาตุแบบต่างๆ