ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศยุโรป
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาเหนือ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปออสเตรเลีย

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศยุโรป

ช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 21 ประเทศในทวีปยุโรปแสวงหาอาณานิคม ประเทศในทวีปเอเชียตกเป็นอาณานิคมของประเทศในทวีปยุโรปบางส่วนได้อพยพเข้าไปอยู่ในประเทศยุโรป ซึ่งคนเหล่านี้นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อไปอยู่ประเทศใด ก็คงประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวยุโรปเกิดความสนใจ ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ เพิ่มเติม เมื่อพบว่าพระพุทธศาสนาได้ศาสนาที่ตั้งอยู่บนหลักเหตุผล นำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างดีจึงเกิดความเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา

ประเทศอังกฤษ
พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศอังกฤษ ประมาณ พ.ศ. 2393 โดย นายสเปนเซอร์ อาร์คี ได้พิมพ์หนังสือศาสนจักรแห่งบูรพาทิศ ออกเผยแต่ไม่มีผู้สนใจมากนัก จนกระทั่ง เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ได้เขียนหนังสือ ประทีปแห่งเอเชีย พิมพ์ออกเผยจนได้รับความสนใจจากชาวอังกฤษ ต่อมาศาสตราจารย์ ที ดับเบิลยู ริส เดวิดส์ ได้จัดตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษออกเผย

พระพุทธศาสนาอังกฤษในปัจจุบัน ประเทศอังกฤษมีความสัมพันธ์กับชาวพุทธในประเทศไทย โดยทำหนังสือผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน ขอเชิญผู้แทนสงฆ์ไทยพร้อมด้วยอธิบดีกรมการศาสนาเดินทางไปประเทศอังกฤษ เพื่อทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและจัดหลักสูตรการศึกษาธรรม ซึ่งเรื่องนี้ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2507 ต่อมาได้มีการสร้างวัดไทย และตั้งมูลนิธิพระพุทธศาสนาขึ้น ณ กรุงลอนดอน วัดไทยวัดแรก คือวัดพุทธปทีป มีพระสงฆ์ไทยอยู่จำพรรษา และประกอบศาสนกิจ ต่อมาก็มีวัดไทยตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดป่าจิตตวิเวก เมื่อปีเตอร์ฟิลด์ วัดป่าสันติธรรม เมืองโลเวอร์ ฟุลบรุค เป็นต้น

 

ประเทศเยอรมนี
ชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมนี นำโดย ดร.คาร์ล ไซเกนสติกเกอร์ ได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนาในเยอรมนี ขึ้นที่เมืองเลปซิก เมื่อ พ.ศ. 2446 เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนี นอกจากนี้มีการจัดแสดงปาฐกถาธรรมและสนทนาธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นประจำ หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงมาก คือ หนังสือพระพุทธวจนะ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลและเรียบเรียงจากภาษาบาลี เป็นภาษาเยอรมัน โดยพระภิกษุชาวเยอรมัน ท่านญาณดิลก หนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอื่น ๆ กว่า 10 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย

ในปี 2491 สมาคมมหาโพธิในศรีลังกา ประกาศเอาพุทธสมาคมมิวนิกเป็นสาขาทำให้พุทธสมาคมอื่น ๆ ในเยอรมนีมีการศึกษาพระพุทธศาสนาคือ มหาวิทยาลัยเฮล ในเยอรมนีตะวันตก การประสานกันกับทางศรีลังกามากขึ้น และต่างก็สมัครเข้าเป็นสาขาของสมาคมมหาโพธิดำเนินการเผยเอกสารต่าง ๆ

ประเทศเนเธอร์แลนด์
พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยผ่านทางพ่อค้าชาวดัตช์ และชาวพื้นเมืองจากประเทศศรีลังกา ที่เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในประเทศเนเธอร์แลนด์

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ได้มีชาวพุทธในกรุงเฮกได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยการจัดตั้งชมรมชาวพุทธดัตช์ขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์ของพุทธศาสนิกชนในประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อดำเนินการเผยแผ่และกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาประเทศเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน เริ่มแรกจะมีการจัดตั้งองค์กร หรือพุทธสมาคมขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อพบปะสังสรรค์ในระหว่างชาวพุทธด้วยกัน และอาจจะมีการดำเนินการเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น สหภาพพระพุทธศาสนาแห่งออสเตรีย ศูนย์ธรรมจักรแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมาคมสหายแห่งพระพุทธศาสนาในฟินแลนด์ พุทธสมาคมสวีเดน เป็นต้น ซึ่งพุทธสมาคมและกลุ่มชาวพุทธต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้เกือบทุกประเทศได้แปลพระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่นๆทางพระพุทธศาสนาจากภาษาบาลีให้เป็นภาษาของประเทศนั้น ๆ พร้อมทั้งมีการจัดทำวารสารจุลสารต่าง ๆ ออกเผย

นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนในทวีปยุโรปที่เป็นชาวไทยก็สร้างวัดในประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปหลายวัด ได้แก่ วัดธรรมาภิรมย์ เมืองชัวซี เลอรัว ประเทศฝรั่งเศส วัดพุทธาราม เมืองวัลเวค ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมูลนิธิวัดไทยเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย