สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สหรัฐฯต้องการอะไร
ภาษี
ประโยชน์ที่สหรัฐฯจะได้จาก FTA ไทย-สหรัฐฯ
คือการส่งเสริมการส่งออกของสหรัฐฯ อเมริกาส่งออกมาไทย 4.9 พันล้านเหรียญในปี 2002
แต่ไทยยังมีภาษีสูง โดยเฉลี่ยประมาณ 16 %
โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในการเจรจา FTA
อเมริกาพยายามที่จะให้ไทยลดภาษีและขจัดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี ออกไปด้วย เพราะฉะนั้น
FTA จะให้ประโยชน์ต่อชาวไร่ชาวนาของสหรัฐฯ
ซึ่งขณะนี้กำลังประสบปัญหาทางด้านภาษีซึ่งสูงถึง 35 % ในกรณีสินค้าเกษตร
และสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ภาษีรถยนต์และอะไหล่รถยนต์สูงถึง 80%
การลงทุน
เพื่อที่จะเป็นการคุ้มครอง
ปกป้องผลประโยชน์ทางด้านการลงทุนของสหรัฐฯ FTA
จึงจะต้องปกป้องสถานะของอเมริกาในด้านการลงทุนภายใต้สนธิสัญญาระหว่างไทยกับสหรัฐฯ
ที่ได้ทำกันไว้หลายสิบปีมาแล้ว สนธิสัญญาดังกล่าว
บริษัทอเมริกันมีสิทธิ์เท่าเทียมกับบริษัทของคนไทย
ขณะนี้มีบริษัทอเมริกันในไทยเกินกว่าพันบริษัท มีการลงทุนในไทยถึง 20,000
ล้านเหรียญสหรัฐฯ อเมริกาบอกว่าต้องการคงสนธิสัญญาฉบับนี้ไว้
นอกจากสนธิสัญญานี้แล้ว ไทยยังจะต้องแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจของนักลงทุนอเมริกันอีกด้วย
การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ อเมริกาบอกว่า
การจัดซื้อจัดจ้างของไทยไม่โปร่งใส ในเรื่องของการประมูลโครงการใหญ่ ๆ มักจะมีการ
ฮั้ว กัน มี ใต้โต๊ะ อเมริกาต้องการให้โปร่งใส
และมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นการกีดกัน
ทรัพย์สินทางปัญญา
เรื่องต่อมาก็เป็นเรื่องใหญ่
คือเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา อเมริกาบอกว่า ธุรกิจเสียหายจาก CD เถื่อน software
เถื่อนต่าง ๆ รวม ๆ แล้วเสียหายอย่างน้อย 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี
สำหรับตลาดในไทย ล่าสุด รายงาน Special 301 ของสหรัฐฯ ปรากฏว่า
ไทยถูกขยับไปอยู่ในบัญชี PWL (priority watch list) จากที่เคยอยู่ในบัญชี WL (watch
list) เพราะฉะนั้น เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา อเมริกาเอาเต็มที่ในการเจรจา FTA
ไม่มีประเทศไหนที่ได้ทำ FTA กับสหรัฐฯ โดยอเมริกาจะไม่เล่นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
การค้าภาคบริการ
ต่อมาเรื่องการค้าภาคบริการ
ซึ่งก็มีหลายเรื่องหลายสาขา ทั้งภาคการเงิน การธนาคาร โทรคมนาคม ประกันภัย ฯลฯ
มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม
ส่วนเรื่อง
มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม สองเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ใน WTO
คือเรื่องมาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมที่เอามาผูกโยงกับเรื่องการค้า
อเมริกาเล่นเรื่องนี้ไม่ได้ในระดับ WTO จึงเอามาเล่นในระดับทวิภาคี
ประเด็นคือ ในกระบวนการของการผลิตสินค้า ถ้ามีการละเมิดมาตรฐานแรงงาน เช่น มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานผิดกฎหมาย และนายจ้างให้ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่ามาตรฐาน ถ้ามีการทำผิดเหล่านี้ ถือว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าผิดกฎหมาย หรือในกระบวนการของการผลิตสินค้ามีการทำลายสิ่งแวดล้อม สินค้านั้นก็จะถือว่าเป็นสินค้าผิดกฎหมาย นี่คือสิ่งที่อเมริกาพยายามจะเอาใส่เข้าไปในข้อตกลงของ WTO ซึ่งได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากประเทศกำลังพัฒนา ตอนหลังอเมริกาจึงต้องถอนเรื่องนี้ออก ทีนี้ก็เลยพยายามเอามาใส่ในข้อตกลงทวิภาคีแทน
» ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในยุควิกฤติเศรษฐกิจ
» ท่าทีไทยในช่วงหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ
» การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ
» การเจรจา
» ยุทธศาสตร์การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ
» ประเด็นปัญหาความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
» สหรัฐอเมริกา : ภัยหรือโอกาสต่อไทย
» อนาคตของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา
» ทางเลือกนโยบายไทยต่อสหรัฐฯ (Policy Options)
» บทสรุป