สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ

ไทยกับสงครามอิรัก

พอมาถึงเดือนมีนาคม 2003 สหรัฐฯบุกยึดอิรักและประกาศว่า ประเทศต่าง ๆ ต้องร่วมมือกับสหรัฐฯ ต้องเป็นแนวร่วม สงครามอิรักเกิดการถกเถียงกันอย่างมากว่า เป็นสงครามที่ชอบธรรมหรือไม่ สหรัฐฯถูกต้องหรือไม่ที่ไปบุกโดยไม่ผ่านมติของคณะมนตรีความมั่นคง คราวนี้จึงกลายเป็นมีประเทศร่วมกับสหรัฐฯน้อยกว่าเมื่อตอนสงครามอัฟกานิสถาน ซึ่งได้รับไฟเขียวจากคณะมนตรีความมั่นคง สงครามอิรักสหรัฐฯได้ 30 ประเทศ เรียกว่าเป็น “coalition of immediate disarmament of Iraq” ซึ่งสหรัฐฯบอกว่ายังมีประเทศนอกจากนี้อีก ที่สนับสนุนแต่ไม่อยากเปิดเผยตัว มีข่าวจาก CNN ระบุว่า ประเทศลับ ๆ ที่ว่านี้มีไทยอยู่ด้วย

ประเทศที่เปิดเผยเป็นแนวร่วมกับสหรัฐฯในลาตินอเมริกามี 3 ประเทศคือ โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และนิคารากัว ส่วนในเอเชียมีญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ที่สนับสนุนอย่างเปิดเผย และ 4 ประเทศนี้เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ แต่พันธมิตรหายไปประเทศหนึ่งคือไทย ไทยเป็น 1 ใน 5 พันธมิตรหลักของสหรัฐฯในเอเชีย และนอกจากนั้นส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในยุโรปตะวันออก เพราะยุโรปตะวันออกในช่วงนี้ต้องการความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ และอยากจะเป็นสมาชิก NATO สมาชิก EU จึงสนับสนุนสหรัฐฯซึ่งได้แก่ บัลกาเรีย เช็ก ฮังการี ลัตเวีย โปแลนด์ โรมาเนีย สโลวาเกีย สำหรับกลุ่มประเทศตะวันตกที่สนับสนุนสหรัฐฯมี ออสเตรเลีย เดนมาร์ก อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน และอังกฤษ

ไทยไม่ได้อยู่ใน 30 ประเทศที่สนับสนุนอย่างเป็นทางการ ที่หนักไปกว่านั้น ในระหว่างที่เกิดสงคราม ทักษิณให้สัมภาษณ์ ออกมาเกรี้ยวกราดว่า ไทยต่อต้านสงคราม ไทยสนับสนุน UN ในการแก้ปัญหาอิรักโดยสันติวิธี แต่ว่าสหรัฐฯได้ตัดสินใจบุกอิรัก ไทยจึงไม่สามารถเข้าร่วมสงครามได้ เพราะไทยไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกัน ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้ออกมาพูดอีกอย่าง คือเป็นภาษาทางการทูตมากกว่า ดร.สุรเกียรติ์ให้สัมภาษณ์ว่า ไทยไม่เคยอยู่ข้างเดียวกับประเทศที่ผลิตอาวุธร้ายแรง ไทยจะร่วมมือกับสหรัฐฯ แต่โดยสรุปท่าทีของไทยตอนเกิดสงครามอิรักทำให้ไทยเสียคะแนนไปอีกในสายตาของสหรัฐฯ

ต่อมาในเดือนเมษายน ปี 2003 กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯออกรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน วิพากษ์วิจารณ์ไทย โดยเฉพาะในเรื่องของการวิสามัญฆาตกรรมในกรณีปราบปรามยาเสพติดและมีเรื่องของการลิดรอนสิทธิของสื่อ นายกทักษิณก็ฉุนเฉียว ออกมาต่อว่าสหรัฐฯ อีก

แต่หลังจากนั้น เมื่อสหรัฐฯยึดอิรักได้ บางคนมองว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุคจักรวรรดิอเมริกัน สหรัฐฯได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ใครเป็นเจ้าครองโลก เพราะ UN ยังทำอะไรสหรัฐฯไม่ได้ สหรัฐฯข้ามหัว UN ไปได้ง่าย ๆ สหรัฐฯต้องการเข้าไปยึดประเทศใดประเทศหนึ่ง สหรัฐฯก็เข้าไปยึดได้เลย โดยไม่ต้องฟังเสียงต่อต้านจากประชาคมโลก สหรัฐฯถือว่าตัวเองเป็นตำรวจโลก

» ช่วงก่อนสงครามเย็น-1960

» ช่วงทศวรรษ 1970-1990

» ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในยุควิกฤติเศรษฐกิจ

» ท่าทีไทยในช่วงหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ

» ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทักษิณ

» ไทยกับสงครามอิรัก

» ทักษิณเยือนสหรัฐฯ

» ทหารไทยในอิรัก

» Bush เยือนไทย

» สถานะพันธมิตรนอกนาโต้

» สถานการณ์ความสัมพันธ์ล่าสุด

» การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ

» สหรัฐฯต้องการอะไร

» ไทยต้องการอะไร

» การเจรจา

» ผลเสียของ FTA ไทย-สหรัฐฯ

» ผลดีของการทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ

» ยุทธศาสตร์การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ

» สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ

» ประเด็นปัญหาความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ

» สหรัฐอเมริกา : ภัยหรือโอกาสต่อไทย

» อนาคตของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา

» ทางเลือกนโยบายไทยต่อสหรัฐฯ (Policy Options)

» นโยบายสายกลาง

» บทสรุป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย