สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ

ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในยุควิกฤติเศรษฐกิจ

ยุคต่อมาคือ ยุควิกฤติเศรษฐกิจ ไม่มีใครคิดว่าจะมีวิกฤติเศรษฐกิจ ไม่มีใครคิดว่าไทยต้องมาปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯใหม่อีกครั้ง เป็นช่วงที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ต่อสหรัฐฯ เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น ทำให้สหรัฐฯกลับมามีความสำคัญต่อไทยอีกครั้ง เพราะว่าไทยพึ่งใครไม่ได้อีกแล้ว ไทยหวังที่จะพึ่งญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นก็ย่ำแย่ ไทยเคยพึ่งพาจีนด้านความมั่นคง แต่ทางด้านเศรษฐกิจจีนช่วยอะไรไทยไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไทยจึงไม่มีทางเลือก ต้องหันกลับไปหาสหรัฐฯ

ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯเริ่มเปลี่ยนใหม่ จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ การที่นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย เดินทางไปเยือนสหรัฐฯในเดือนมีนาคม 1998 การเดินทางครั้งนี้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด ที่ชัดเจนคือ ไทยต้องกลับไปหาสหรัฐฯ ไทยได้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจประมาณ 2 พันล้านเหรียญจากสหรัฐฯ สหรัฐฯเป็นผู้ให้กู้รายใหญ่ใน IMF ไทยรู้ดีว่า สหรัฐฯเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยกอบกู้เศรษฐกิจของไทย

อย่างไรก็ตาม การที่ไทยกลับไปหาสหรัฐฯ ได้ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ไทยจะต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง สิ่งที่สหรัฐฯจะได้จากไทยคงจะมีหลายด้าน ประเด็นแรกคือ ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯกลับไปสู่ความสัมพันธ์ดั้งเดิมที่เรียกว่า “Traditional Patronage” คือ ความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมที่สหรัฐฯเป็นผู้ให้ ไทยเป็นผู้ขอ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยกล้าชนสหรัฐฯและเรียกร้อง

ความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกับสหรัฐฯ กับยุโรปและญี่ปุ่นด้วย เป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (economic partnership) มีความเท่าเทียมกัน ไทยไม่ต้องการความช่วยเหลือแล้ว ไทยขอเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ หุ้นส่วนทางด้านการค้า การลงทุน แต่คำนี้หายไปจากคำศัพท์ (vocabulary) ของนโยบายต่างประเทศไทยไปแล้ว เพราะฉะนั้น ในความสัมพันธ์ลักษณะนี้ ทำให้สหรัฐฯกลับมามีบทบาทในภูมิภาคอีกครั้ง สหรัฐฯรู้สึกว่าบทบาทของตนลดลง ในขณะที่ญี่ปุ่นมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคนี้ นี่จึงเป็นโอกาสที่จะให้สหรัฐฯกลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง

อีกประการ ผลจากที่ไทยต้องไป “ง้อ” สหรัฐฯคือ ในอดีตที่บริษัทธุรกิจของสหรัฐฯอยากจะเข้ามาทำธุรกิจในไทย แต่มีการกีดกัน โดยเฉพาะการเข้ามาทำธุรกิจในภาคบริการ เช่น การธนาคาร การเงิน การโทรคมนาคม มีการปิดตลาด ไม่เปิดเสรีให้ต่างชาติเข้ามาเปิดสาขาธนาคารโดยเสรีได้ เพราะฉะนั้น สหรัฐฯจึงมีปัญหา แต่ต่อไปนี้ทุกอย่างคงจะราบรื่นสำหรับสหรัฐฯ

ผลอีกประการหนึ่ง ในการที่จะกลับไปปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ คือ บทบาทของไทยในเวทีต่างๆ เช่น สหประชาชาติ เอเปค WTO มีความเป็นไปได้ที่ไทยต้องสนับสนุนท่าทีของสหรัฐฯมากขึ้น จากในอดีตที่ผ่านมา ท่าทีของไทยไปชนกับสหรัฐฯในหลายๆเรื่อง ท่าทีของไทยอ่อนลงไป ในด้านความมั่นคง ไทยพูดง่ายขึ้น ในการที่สหรัฐฯมาขอไทยเรื่องความมั่นคง การทหาร สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องสูญเสียไป เพื่อแลกกับบางสิ่งที่ได้มา

นโยบายไทยต่อสหรัฐฯในยุคหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ บทนี้จะวิเคราะห์ประเด็นความร่วมมือไทย – สหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปี 2001 จนถึงปัจจุบัน ดังมีรายละเอียดดังนี้

» ช่วงก่อนสงครามเย็น-1960

» ช่วงทศวรรษ 1970-1990

» ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในยุควิกฤติเศรษฐกิจ

» ท่าทีไทยในช่วงหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ

» ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทักษิณ

» ไทยกับสงครามอิรัก

» ทักษิณเยือนสหรัฐฯ

» ทหารไทยในอิรัก

» Bush เยือนไทย

» สถานะพันธมิตรนอกนาโต้

» สถานการณ์ความสัมพันธ์ล่าสุด

» การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ

» สหรัฐฯต้องการอะไร

» ไทยต้องการอะไร

» การเจรจา

» ผลเสียของ FTA ไทย-สหรัฐฯ

» ผลดีของการทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ

» ยุทธศาสตร์การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ

» สภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ

» ประเด็นปัญหาความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ

» สหรัฐอเมริกา : ภัยหรือโอกาสต่อไทย

» อนาคตของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา

» ทางเลือกนโยบายไทยต่อสหรัฐฯ (Policy Options)

» นโยบายสายกลาง

» บทสรุป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย