สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายคำว่าข้าว
ประวัติและความเป็นมาของข้าว
ประวัติข้าวของโลก
ประวัติของข้าวไทย
ข้าวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
พิธีกรรมความเชื่อ
การปลูกข้าว
ประเภทของข้าว
คุณประโยชน์และความสำคัญของข้าว
พิธีกรรมความเชื่อ
ประเทศไทยมีลักษณะของผู้คนที่อยู่อย่างกระจายไม่หนาแน่น
ความเชื่อที่พบในสังคมไทยจะไม่มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
พิธีกรรมและความเชื่อจึงขึ้นอยู่กับสภาพของสังคมในแต่ละท้องถิ่นที่
ผู้ปกครองบ้านเมืองจึงต้องสร้างและบูรณาการให้ผู้คนที่เต็มไปด้วยชนเผ่าต่าง ๆ
ที่หลากหลายมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จำเป็นต้องนำระบบความเชื่ออิทธิฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพสามารถที่จะเอาชนะหรือสร้างความเคารพยอมรับจากชนเผ่าต่าง
ๆ ได้ ดังนั้น
เมื่อสังคมพัฒนาเป็นบ้านเป็นเมืองลักษณะของพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวจึงเกิดการนำเอาพิธีพุทธซึ่งมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวด
ทำบุญทำทาน และพิธีพราหมณ์มาผสมผสานเข้ามาเพื่อสร้างเป็นพีธีกรรมที่ความอลังการ
มีความศักดิ์สิทธิ์ ความน่าเชื่อถือให้กับราชสำนัก
และพิธีกรรมอันนี้เองที่ส่งผลอิทธิพล
และสะท้อนกลับไปยังความเชื่อของชาวบ้านอีกต่อหนึ่ง พิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวในปัจจุบัน
จึงเป็นเรื่องราวของความเชื่อที่ผสมผสานกันระหว่างความเชื่อในเรื่องของผี
ความเชื่อท้องถิ่น ความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูด้วย เช่น พิธีจุดบั้งไฟ
มีความเชื่อว่า แถน
เป็นเทพดั้งเดิมของชนเผ่าไทเป็นผู้ที่สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ
ลม ไฟ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ทุกอย่าง มีอิทธิพลต่อการทำมาหากิน
ความเป็นอยู่ของผู้คน ทำให้ผู้คนกลัวมาก เมื่อมีปัญหาอะไรต้องไปขอให้พระยาแถนช่วย
พิธีกรรมนี้มีความสำคัญมากต่อการทำมาหากินและการปลูกข้าวของคนไทยหรือคนถิ่นไทยลาว
เพื่อส่งสาส์นไปถึงพระยาแถน ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
พิธีกรรมในประเพณีจุดบั้งไฟนี้เป็นพิธีที่ไม่สามารถทำขึ้นโดยคนเพียงไม่กี่คน
แต่เป็นเรื่องของคนทั้งชุมชนทั้งสังคมต้องให้ความร่วมมือร่วมใจกันที่จะแก้ปัญหาวิกฤตในสังคมตัวเอง
บทบาทของพิธีกรรมไม่ใช่เพียงแต่จะบันดาลให้ฝนตกมาได้ตามความเชื่อของท้องถิ่นเท่านั้น
แต่เป็นพิธีกรรมที่ทำให้คนทั้งชุมชนมีความสามัคคีและร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมด้วย
แม่โพสพ เป็นความเชื่อนับแต่อดีตถึงปัจจุบันว่าเป็น เทพธิดาแห่งข้าว
โดยมีที่มาของความเชื่อว่า แม่นั้นเป็นผู้ให้กำเนิด
เป็นผู้ที่มีบทบาทสูงที่สุดในครอบครัวและสิ่งที่มีคุณประโยชน์ทั้งหลายในสังคมไทยนั้นมักจะใช้คำว่าแม่เป็นคำเรียกชื่อไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ
แม่ธรณี ฯลฯ การใช้คำว่า แม่ เรียกข้าวก็คือเป็นการให้การยกย่องมากที่สุด
ข้าวมีความสำคัญก็เพราะว่าข้าวเป็นผู้ให้ชีวิตแก่มนุษย์ เพราะฉะนั้น
หน้าที่ที่มนุษย์ต้องตอบแทนคือมนุษย์ต้องเลี้ยงดูฟูมฟักเลี้ยงดูข้าวด้วย
ข้าวมีขวัญข้าว ซึ่งเหมือนกับมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องมีขวัญ
ขวัญนั้นสามารถที่จะกระทบกระเทือนเจ็บไข้ได้ป่วยหรือไม่พึงพอใจได้
เพราะฉะนั้นถ้าต้องการให้อยู่ดีมีสุข ต้องเอาอกเอาใจขวัญของข้าว
นับแต่อดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมคือการเพาะปลูก
พิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวจึงมีความสำคัญต่อชีวิตในการทำเกษตรกรรม
เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
พิธีกรรมจึงมีจุดประสงค์หลักที่เกี่ยวกับข้าวแสดงให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหาของชาวบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านในการเผชิญกับปัญหาเรื่องปากเรื่องท้องเรื่องความอยู่รอด
พิธีกรรมข้าวมีความสำคัญต่อชาวบ้านมากที่สุด
เพราะเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินเลี้ยงชีพ ดังนั้น
พิธีกรรมข้าวจะมีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี
โดยช่วงที่สำคัญที่สุดจะอยู่ระหว่างหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตและก่อนเริ่มฤดูกาลใหม่
พิธีกรรมข้าวมี 4 ขั้นตอน ดังนี้
- พิธีกรรมก่อนการเพาะปลูก มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวง
บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือบรรพบุรุษให้คุ้มครองป้องกันภยันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
ให้มีความสวัสดิมงคล มีความอุดมสมบูรณ์
ขอโอกาสและความเชื่อมั่นในการดำรงชีวิตในรอบปีนั้น ๆ เช่น
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีเลี้ยงขุนผีขุนด้ำ พิธีแห่นางแมว
เทศน์พญาคันคาก สวดคาถาปลาช่อน พิธีปั้นเมฆ พิธีบุญบั้งไฟ พิธีบุญ ซำฮะ
- พิธีช่วงเพาะปลูก มีเป้าหมายเพื่อบวงสรวงบนบาน บอกกล่าว
ฝากฝังสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้าวหรือการเพาะปลูกแก่เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ขอให้การเพาะปลูกข้าวดำเนินไปได้ด้วยดี ปราศจากอันตรายต่างๆ อาทิ พิธีแรกไถนา
พิธีเลี้ยงผีตาแฮก ตกกล้า พิธีแรกดำนา พิธีปักข้าวตาแฮก พิธีปักกกตาแฮก
- พิธีกรรมเพื่อการบำรุงรักษา เพื่อให้ข้าวงอกงาม ปลอดภัยจากสัตว์ต่างๆ
หนอนเพลี้ย พิธีกรรมประเภทนี้
จัดขึ้นในช่วงระหว่างการเพาะปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว อาทิ พิธีไล่น้ำ
พิธีปักตาเหลว พิธีสวดสังคหะ พิธีรับขวัญแม่โพสพ พิธีไล่หนู ไล่นก ไล่เพลี้ย
ไล่แมลง และอื่นๆ โดยใช้น้ำมนต์ ผ้ายันต์ ภาวนาโดยหว่านทราย หรือเครื่องราง
- พิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยว-ฉลองผลผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตมาก และเพื่อแสดงความอ่อนน้อมกตัญญูต่อข้าว ตลอดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้อง พิธีกรรมประเภทนี้ จัดขึ้นในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว อาทิ พิธีรวบข้าว พิธีแรกเกี่ยวข้าว พิธีเชิญข้าวขวัญ พิธีวางข้าวต๋างน้ำ พิธีปลงข้าว พิธีขนข้าวขึ้นยุ้ง พิธีตั้งลอมข้าว พิธีปิดยุ้ง พิธีเปิดยุ้ง
ปัจจุบันพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวที่มีความสำคัญคือพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีปฐมฤกษ์มีแหล่งกำเนิดมาจากศาสนาพราหมณ์ในการทำนาปลูกข้าวของแต่ละปี พิธีแรกนาขวัญนี้จะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวงประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมอบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเกษตรเป็นพระยาแรกนาทำการไถและหว่านเมล็ดข้าว ณ ท้องสนามหลวง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถจะทรงเสด็จมาเป็นประธานและทรงแต่งตั้งพระยาแรกนาให้เป็นผู้นำในพิธีแทน ในพิธีมีการทำนายปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง โดยพระยาแรกนาจะเลือกผ้าสามผืน ที่มีความยาวต่างขนาดกัน ผืนที่ยาวที่สุดทายว่า ปริมาณฝนจะมีน้อย ผืนที่สั้นที่สุดทายว่าปริมาณน้ำฝนจะมาก และผืนที่มีความยาวปานกลาง ทายว่ามีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ หลังจากสวมเสื้อผ้าเรียกว่า ผ้านุ่ง เรียบร้อยแล้ว พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทองซึ่งลากโดยพระโคผู้สีขาว ตามขบวนด้วยเทพีทั้งสี่ผู้ซึ่งหาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุด้วยเมล็ดข้าวเปลือกพระราชทานและหว่านข้าวเปลือกลงไปบนพื้นดินที่ไถ มีคณะพราหมณ์เดินคู่ไปกับขบวนพร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไปพร้อมกัน เมื่อเสร็จแล้วพระโคก็จะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่ม 7 ชนิด คือ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้า เมล็ดงา น้ำ และเหล้า เมื่อพระโคจะเลือกกินหรือดื่มสิ่งใด ทายว่าปีนี้จะอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเลือก เมื่อเสร็จพิธีจบก็จะเปิดให้ประชาชนเก็บเมล็ดข้าวที่หว่านโดยพระยาแรกนาเก็บไปเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อเป็นสิริมงคลในการปลูกข้าวเพื่อให้พืชผลในปีที่จะมาถึงนี้อุดมสมบูรณ์ เพราะว่าเมล็ดข้าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง