สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ระบบประธานาธิบดี

(Presidential System)

       รูปแบบรัฐบาลระบบประธานาธิบดีเกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก โดย ผู้นำ ของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ได้พัฒนาระบบการปกครองแบบประธานาธิบดีนี้ขึ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ใครมีโอกาสได้ใช้อำ นาจมากเกินไป ระบบประธานาธิบดีมีรายละเอียดดังนี้

1. มีการแบ่งแยกอำ นาจ (Separation of Powers) ได้แก่การแยกอำ นาจหน้าที่ฝ่าย บริหารกับนิติบัญญัติ หลักการที่สำ คัญของการแบ่งแยกอำ นาจได้แก่ ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกมาจากประชาชนจะเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้งคณะรัฐ มนตรี โดยผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐมนตรีจะไม่สามารถเป็นสมาชิกรัฐ สภาได้ ตรงนี้จะเห็นได้ว่าตรงข้ามกับระบบรัฐสภาที่สมาชิกรัฐสภาเป็นกลุ่มเดียว กับรัฐบาล

2. ประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารเป็นคน ๆ เดียวกัน ระบบนี้กำ หนดให้ หัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้แก่ประธานาธิบดีเพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะหากรัฐบาลมีความแตกแยกกัน จะเกิดผลเสียอย่างไรต่อระบบรัฐสภาในระบบประธานาธิบดีอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ประธานาธิบดีเป็นบุคคลที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนทั้งประเทศ ทำ ให้ ประธานาธิบดีมีอำ นาจในการบริหารประเทศอย่างมากมาย และได้รับความ เคารพจากประชาชนในฐานะประมุขของประเทศอีกด้วย

3. ฝ่ายบริหารเป็นอิสระต่อการควบคุมต่อรัฐสภา เนื่องจากรูปแบบการปกครองนี้มี ลักษณะของการแยกอำ นาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้น ประธานาธิบดีจึงเป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐสภา รัฐสภาไม่มีอำ นาจลงมติ ไม่ไว้วางใจรัฐบาล



4. รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดี เนื่องจากประธานาธิบดีเป็น ประมุขของฝ่ายบริหารแต่เพียงผู้เดียว จึงหมายความว่าประธานาธิบดีมีอำ นาจ ในการแต่งตั้งถอดถอนรัฐมนตรีได้ รัฐมนตรีในระบบประธานาธิบดีไม่ต้องรับผิด ชอบต่อรัฐสภา ดังนั้นพวกเขาจึงไม่จำ เป็นต้องไปร่วมประชุมรัฐสภา เพื่อตอบ กระทู้ถามจากรัฐสภาแต่ประการใด

5. ใช้หลักการคานอำ นาจ (Balance of Power) เนื่องจากทั้งประธานาธิบดีและรัฐ สภาต่างได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน ดังนั้นจึงมีการแบ่งแยกอำ นาจกันอย่าง เด็ดขาดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ โดยใช้วิธีการตรวจสอบอำ นาจซึ่ง กันและกัน (Check and Balances) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในอำ นาจมาก เกินไปกว่าที่กำ หนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หลักการคานอำ นาจก็คือ ประธานาธิบดีมี อำ นาจในการใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ตามรัฐธรรมนูญ โดยการไม่ลงนามใน กฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ในขณะที่รัฐสภามีอำ นาจลบล้างสิทธิยับยั้ง ดังกล่าวของประธานาธิบดีได้ด้วย ทั้งนี้โดยการลงคะแนนรอบสอง ซึ่งหาก คะแนนเสียงของสมาชิกสภาทั้งสองเห็นด้วยคะแนน 2 ใน 3 ก็จะถือว่ากฎหมาย นั้นมีผลบังคับใช้ได้ นอกจากนี้รัฐสภามีอำ นาจอย่างหนึ่งที่จะกล่าวโทษ ประธานาธิบดีได้ อำ นาจที่จะกล่าวโทษนั้น เรียกว่าอิมพีชเม้นต์ (Impeachment) โดยการอิมพีชเม้นท์นั้นต้องมีคะแนนสองในสามของรัฐสภา และขั้นตอนสุดท้าย วุฒิสภาจะเป็นผู้ปลด (Removal) ตำ แหน่งประธานาธิบดี ซึ่งใช้คะแนนสองใน สามของจำ นวนวุฒิสมาชิก

6. บทบาทของวุฒิสภา (Senate) มีอำ นาจในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งเจ้า หน้าที่ฝ่ายบริหาร เช่น รัฐมนตรี หรือเอกอัครราชทูตตามที่ประธานาธิบดีเสนอมา หากวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบก็จะดำ รงตำ แหน่งใด ๆ ไม่ได้

7. อำ นาจตุลาการ สำ หรับตำ แหน่งผู้พิพากษานั้น อำ นาจในการแต่งตั้งเป็นของ ประธานาธิบดี โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ตุลาการโดยเฉพาะ ประธานาธิบดีมีอำ นาจในการถ่วงดุลรัฐสภาโดยใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในขณะ ที่รัฐสภาใช้วิธีการกล่าวโทษ (Impeachment) เพื่อให้วุฒิสภาเป็นผู้ปลด (Removal) ประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกาหน่วยงานใดที่มีหน้าที่ตัดสินว่า กฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ? ศาลสูง (Supreme Court) มีอำ นาจชี้ขาดว่ากฎหมายฉบับใดที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ออกมานั้นขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบการใช้อำ นาจ ของฝ่ายนิติบัญญัติไปด้วยในตัว ซึ่งหากกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัตินั้น ขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นก็เป็นอันตกไป สำ หรับการปกครองระบบประธานาธิบดีนี้ มีข้อดีและข้อเสียดังนี้

ข้อดีของระบบประธานาธิบดี

1. ประธานาธิบดีมีสิทธิเด็ดขาดในการเลือกคณะรัฐมนตรีของตัวเอง ดังนั้น ประธานาธิบดีจึงสามารถเลือกผู้ที่มีความชำ นาญเฉพาะด้าน เพื่อดำ รงตำ แหน่งสำ คัญ ๆเช่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นต้น

2. รัฐมนตรีมีเวลาเต็มที่ในการปฏิบัติภาระกิจ เพราะไม่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ไม่จำ เป็นต้องประชุมสภา หรือเสียเวลาในการตอบกระทู้ถามของรัฐสภา ซึ่งทำ ให้คณะรัฐมนตรีมีอิสระเต็มที่ในการบริหารกระทรวงตามที่ได้รับมอบหมายจากประธานาธิบดี โดยไม่ต้องหาเสียงจากสมาชิกรัฐสภา

3. หากเกิดวิกฤติการณ์ฉุกเฉิน ประธานาธิบดีมีอำ นาจอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติ หน้าที่อย่างเด็ดขาด เพราะเป็นอิสระปราศจากการควบคุมของรัฐสภา

ข้อเสียของระบบประธานาธิบดี

หากประธานาธิบดีสังกัดพรรคการเมืองที่เป็นคนละพรรคกับพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภา ประธานาธิบดีอาจจะไม่สามารถบริหารประเทศอย่างราบลื่นได้โดยเฉพาะเมื่อต้องการที่จะออกกฎหมายบางฉบับ แต่ตามความเป็นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองที่เป็นพรรคการเมืองหลักในรัฐสภามักจะเป็นคนละพรรคกับพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่การบริหารงานก็ไม่เกิดความขัดแย้งมากมายนัก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย