วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

คำยืมภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย

สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย
คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย
คำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต
คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ
คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย
คำภาษาเขมรในภาษาไทย
คำภาษาชวา-มลายูที่มีใช้ในภาษาไทย
คำภาษาอื่น ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทย

คำภาษาเขมรในภาษาไทย

ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย

ลักษณะคำภาษาเขมรในภาษาไทย

  1. มักจะสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เผด็จ บำเพ็ญ กำธร ถกล ตรัส
  2. มักเป็นคำควบกล้ำ เช่น ไกร ขลัง ปรุง
  3. มักใช้ บัง บัน บำ นำหน้าคำที่มีสองพยางค์ เช่น
    - บัง บังคับ บังคม บังเหียน บังเกิด บังคล บังอาจ
    - บัน บันได บันโดย บันเดิน บันดาล บันลือ
    - บำ บำเพ็ญ บำบัด บำเหน็จ บำบวง
  4. นิยมใช้อักษรนำ เช่น สนุก สนาน เสด็จ ถนน เฉลียว เป็นต้น
  5. คำเขมรส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น ขนง ขนอง เขนย เสวย บรรทม เสด็จ โปรด เป็นต้น
  6. มักแผลงคำได้ เช่น
    - ข แผลงเป็น กระ เช่น ขดาน เป็น กระดาน ขจอก เป็น กระจอก
    - ผ แผลงเป็น ประ ผสม - ประสม ผจญ - ประจญ
    - ประ แผลงเป็น บรร ประทม เป็น บรรทม ประจุ - บรรจุ ประจง - บรรจง

การยืมคำภาษาเขมรมาใช้ในภาษาไทย

  1. ยืมมาใช้โดยตรง เช่น กระดาน กระท่อม กะทิ บัง โปรด ผกา เป็นต้น
  2. ยืมเอาคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น กังวล บำบัด แผนก ผจัญ
  3. ยืมทั้งคำเดิมและคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น เกิด-กำเนิด ขลัง-กำลัง เดิน-ดำเนิน ตรา-ตำรา บวช-ผนวช
  4. ใช้เป็นคำสามัญทั่วไป เช่น ขนุน เจริญ ฉงน ถนอม สงบ เป็นต้น
  5. ใช้เป็นคำในวรรณคดี เช่น ขจี เชวง เมิล สดำ สลา เป็นต้น
  6. ใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น เขนาย ตรัส ทูล บรรทม เสวย เป็นต้น
  7. นำมาใช้ทั้งเป็นภาษาพูดและภาษาเขียน

ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย

กระชับ กระโดง กระเดียด กระบอง กระบือ กระท่อม กระโถน กระพัง ตระพัง ตะพัง กระเพาะ กระแส กังวล กำจัด กำเดา รัญจวน ลออ สกัด สนอง สนุก สดับ สบง สังกัด สไบสำราญ สรร สำโรง แสวง แสดง กำแพง กำลัง ขนาน ขจี โขมด จัด เฉพาะ ฉบับ เชลย โดยทรวง ถนน บายศรี ประกายพรึก ปรับ ประจาน โปรด เผด็จ ผจญ ผจัญ เผอิญ เผชิญ เพ็ญเพลิง เพนียด ระลอก

บทเพลงคำยืมที่มาจากภาษาเขมร

คำเขมรที่ใช้ปนมาอยู่ในภาษาไทยมีมากหลาย
เราคนไทยใช้กันจนเก่า เรานิยมใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น สนับเพลา
เสด็จ เสวย เขนย ขนง อีกธำมรงค์ ผทม สรง และพระศรี
มีทั้งคำ บัง บัน บรร และบำ นำหน้าคำที่มีสองพยางค์
บังเอิญ และ บังคับ ทั้งบรรเจิด บรรสาน บันดาล และบำนาญนั่น
ยังมีคำที่นำด้วย กำ คำ จำ และ ทำ ดำ ตำ กับ ชำ
ใช้นำหน้าคำอีกเช่นกัน นั่นคือ กำเนิด จำเริญ
ดำรง คำนับ ชำนาญ กำนัล ทำนบ และตำรวจนั้นก็คำเขมรไง
ยังมีคำที่มีอักษรนำ ควบกล้ำ เราใช้ปนคำไทย รู้กันดีว่า
ขจี เจริญ โขลน ทวาร และเผอิญ เผชิญ เสน่ง สลา
ขจร ขจาย ผกาย ผกา เหล่านี้นา ล้วนมาจาก เขมร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย