วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
คำยืมภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย
สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย
คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย
คำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต
คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ
คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย
คำภาษาเขมรในภาษาไทย
คำภาษาชวา-มลายูที่มีใช้ในภาษาไทย
คำภาษาอื่น ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทย
คำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต
- ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย มีรูปคำสละสลวย ไพเราะ
นิยมใช้เป็นคำราชาศัพท์ ภาษาในวรรณคดี ชื่อบุคคล และสถานที่ เป็นต้น
- ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาสันสกฤต นิยมใช้ ฑ เช่น กรีฑา จุฑา ครุฑ ไพฑูรย์
วิฑาร เป็นต้น
- นิยมใช้ ร หัน เช่น กรรณ ขรรค์ ครรภ์ ธรรม พรรษา บรรพต วรรค วรรณะ
มหัศจรรย์ สรรพ สวรรค์ สุวรรณ อัศจรรย์ เป็นต้น
- นิยมมีอักษรควบกล้ำ เช่น กษัตริย์ เกษตร ตรุษ บุตร ปราชญ์ ปรารถนา พฤกษ์
เนตร ไมตรี ศาสตรา อาทิตย์ เป็นต้น
- ใช้ ศ ษ ประสมคำเป็นส่วนมาก เช่น กษัย เกษม เกษียณ ทักษิณ ทัศนีย์ บุษกร
บุรุษ เพศ ภิกษุ มนุษย์ วิเศษ ศิลปะ ศิษย์ ศึกษา ศุกร์ ศูนย์ เศียร อักษร
อัธยาศัย เป็นต้น ใช้ ส นำหน้าพยัญชนะวรรค ตะ (ต ถ ท ธ น) เช่น พัสดุ พิสดาร
สตรี สถาน สถิต สถิติ สถาปนา สนธยา สัตย์ สันโดษ อัสดง เป็นต้น
- ประสมด้วยสระ ไอ เอา ฤ ฤ ๅ ฦ ฦ ๅ เช่น ไศล ไศวะ ไวทย์ ไวษณพ ไวยากรณ์ ไวศฺย
ไอราวัณ ไอยรา เกาศัย เอารส ฤดี ฤทัย ฤทธิ์ ฤๅษี กฤษณา พฤติกรรม พฤษภาคม ทฤษฎี
นฤมล มฤตยู ฦๅชา ฦๅสาย เป็นต้น
- มีหลักเกณฑ์ตัวสะกด ตัวตามไม่แน่นอน กัลป์ การบูร กีรติ โกรธ จักร จันทรา ดัสกร ทรัพย์ นิตยา ประพันธ์ ประพฤติ พยายาม ลักษณะ วิทยุ มนตรี มัตสยา มัธยม ศัพท์ ศาสนา ศาสตรา อาชญา อาตมา อาจารย์ อุทยาน เป็นต้น
ตัวอย่างคำภาษาสันสกฤต
กัลบก กรรณ กรรม กษัตริย์ กัลป์ การบูร กีรติ โกรธ กรีฑา เกษม กษัย เกษียณ เกษียร เกษตร ครรชิต ครรภ์ จักร จักรวาล จันทรา จุฑา ดัสกร ทรมาน ทรัพย์ ทฤษฎี ทิศ ทหาร กษิณ ทัศนีย์ ทิพย์ นักษัตร นมัสการ นาที นฤคหิต นิตยา นิทรา นฤมล เนตร บุษบา บรรพต บุษกร บุรุษ ประเทศ ประทีป ประพันธ์ ประพฤติ ประเวณี ประมาท ประโยค ประถม ภักษา ภิกษุ มฤตยู มนุษย์ มนัส มารุต มิตร มนตรี ไมตรี มหัศจรรย์ ยักษา ลักษณะ วรรค วรรณะ วัสดุ พรรษา พยายาม พฤศจิกายน วิทยุ พิสดาร วิเศษ เพศ ศัพท์ ศาสนา ศาสตรา ศึกษา ศิลปะ ศิษย์ ศุกร์ ศูนย์ ศรี เศียร สัตย์ สันโดษ สมปฤดี สตรี สวรรค์ สรรพ สุวรรณ สถาปนา สดุดี สกล สกุล อักษร อาตมา อัศจรรย์ อัธยาศัย อารยะ อวกาศ อาจารย์ อาทิตย์ อุทยาน
ข้อแตกต่างของภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาตระกูลเดียวกัน
และมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอินเดียเหมือนกัน จึงมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก
แต่มีข้อแตกต่างที่เปรียบเทียบได้ดังนี้`
การนำเอาคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย
เลือกรับคำภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น
- เลือกรับแต่คำภาษาบาลี เช่น กังขา ขันติ จุติ เมตตา วินิจฉัย วิสัญญี
เป็นต้น
- เลือกรับแต่คำภาษาสันสกฤต เช่น จักรพรรดิ ตรรกะ ทรัพย์ ปรารถนา รักษา
เป็นต้น
- เลือกใช้รูปคำภาษาสันสกฤตแต่ใช้ความหมายของภาษาบาลี เช่น
เปรต (ส.) แปลว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว, วิญญาณของบรรพบุรุษ
เปต (บ.) แปลว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว,
สัตว์ในอบายภูมิประเภทหนึ่งซึ่งรับ ผลกรรมตามที่เคยทำไว้ ไทยใช้
รูปคำตามภาษาสันสกฤต คือ เปรต ในความหมายของภาษาบาลี คือ
สัตว์ในอบายภูมิประเภทหนึ่งซึ่งรับผลกรรมตามที่เคยทำไว้
ปรเวณี (ส.) แปลว่า ผมเปีย, ผ้าซึ่งทอจากเปลือกไม้ย้อมสี
ปเวณี (บ.) แปลว่า ผมเปีย, ผ้าซึ่งทอจากเปลือกไม้ย้อมสี,
สิ่งที่สังคม ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง ไทยใช้ รูปคำตามภาษาสันสกฤต คือ
ประเพณี ในความหมายของภาษาบาลี คือ สิ่งที่สังคมปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง
- รับมาทั้งสองภาษาในความหมายเดียวกัน เช่น บาลี สันสกฤต ไทยใช้ ความหมาย
กญฺญา กนฺยกา กัญญา, กันยา หญิงสาว ถาวร สฺถาวร ถาวร, สถาพร มั่นคง, แข็งแรง
ธุช ธวช ธุช, ธวัช ธง
-รับมาทั้งสองภาษาแต่ใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น บาลี สันสกฤต ไทยใช้
ความหมาย เขตฺต เกฺษตฺร - นา, ไร่, บริเวณ, แดน เขต บริเวณ, แดน เกษตร นา, ไร่
สามญฺญ สามานฺย - ชั่วช้า, ทั่วไป สามัญ ทั่วไป สามานย์ ชั่วช้า
คำประพันธ์ สังเกตคำยืมที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
บาลีสันสกฤต ไทยทุกทิศใช้สื่อสาร
เราใช้มาเนิ่นนาน อินเดียฐานถิ่นกำเนิด
รูปคำแปลกจากไทย ไพเราะยิ่งพริ้งแพร้วเพริศ
เพิ่มคำมีมากเกิด เลือกใช้ได้ดังฤดี
หลักเกณฑ์เขากำหนด ตั้งกฎไว้ระบุชี้
ผู้เรียนสังเกตที่ ดังบอกกล่าวต่อไปนี้
สามสิบสามนั่นหรือ คืออักษรของบาลี
สันสกฤตเขานั้นมี สามสิบห้าก็เพียงพอ
ที่มากกว่าบาลี ศ ษ นี้เข้าใจหนอ
บาลีนิยม ฬ เราเออออเอามาใช้
กีฬา นาฬิกา จุฬา ครุฬ ทมิฬ ไซร้
สันสกฤตแตกต่างไป นิยม ฑ มีหลายคำ
จุฑา ครุฑ กรีฑา ไพฑูรย์หนาควรจดจำ
ต่อไปจะขอย้ำ หลักบาลีเสียก่อนหนา
สระมีแปดตัว อัวไม่มีหลอกหนูจ๋า
อิ อี อุ อู อา อะ เอ โอ รัก ส สันต์
ร หัน ไม่นิยม ชมชื่นชอบตัวซ้อนกัน
บุคคลปัจจุบัน มีปัญญาไร้อวิชชา
มีสะกดต้องมีตาม หนึ่งสามห้าสะกดนา
หนึ่งสะกดหนึ่งสองมา ตามต่อถ้าวรรคเดียวกัน
ทุกขัง หัตถ์ มัจฉา บุปผาพา ปัจฉิมพลัน
สามสี่ตามสามนั้น อัชฌาสัย พุทธ
พยัคฆา
แถวห้าต้องสะกด เขากำหนดหนึ่งถึงห้า
ตามได้ไม่กังขา สัณฐานว่าสัญจรไป
องค์สงฆ์ทุกสัญชาติ สัมพันธ์ญาติมีน้ำใจ
สันธานสัมผัสไม- ตรีอัมพรทำสัญญา
ต่อไปสันสกฤต เหล่ามวลมิตรคุ้นเคยตา
สระ สิบสี่หนา เพิ่ม ฤ ฤๅ ไอ เอา ฦ ฦๅ
นิยมคำ ร หัน อัศจรรย์ บรรพต บรรพชา
ครรชิตแก่พรรษา วรรณาธรรมละกรรมเวร
ตัว ฤ เช่นฤดี ฤทัยนี้รักหลานเหลน
นฤมลกลัวโล่เขน กฤษณาพฤกษ์ไม้เนื้อหอม
ตัวกล้ำใช้มากมี เนตรมนตรีหญิงยลยอม
ศาสตร์ศิลป์ปราโมทย์น้อม บุตรปราชญ์พร้อมรีบเร่งเรียน
ศ ษ ดูจงดี
ศักดิ์ศรีศาลศาสตร์ศูนย์เศียร
อักษรศึกษาเพียร วิเศษสุดสุขเกษม
ส เสือ นำวรรค ต ต ถ ท ธ น เอม
พิสดารสถานเหม สถิตถ้ำย่ำสนธยา
จบความพอสังเขป รู้ขั้นเทพต้องศึกษา
เพิ่มเติมเสริมวิชา จากตำราอาจารย์ครู
รู้หลักจักจำแนก สังเกตแปลกแจ้งชัดหู
มุ่งมั่นตั้งใจรู้ ให้เป็นครูภาษาไทย
สมศิริ อมรวัฒนสวัสดิ์