สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมาย

ปูรณ์ จิระวิณิจ

       สังคมเป็นที่รวมของคนหมู่มาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวางระเบียบหรือกฎเกณฑ์แห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคมเพื่อให้มนุษย์ในสังคมสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ระเบียบหรือกฎเกณฑ์เหล่านี้มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น ศีลธรรม ศาสนา จารีตประเพณีและกฎหมาย เป็นต้น ในการที่มนุษย์มาอยู่รวมกันจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม กฎเกณฑ์นี้เองเรียกว่า “กฎหมาย” กฎหมายที่ใช้อยู่ในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไปตามพัฒนาการของแต่ละสังคม ดังนั้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการอยู่รวมกันในสังคมโลกจึงจำเป็นที่ต้องควรทราบถึงพัฒนาการของระบบกฎหมายที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันสามารถแบ่งระบบกฎหมายออกได้เป็น 4 ระบบ ดังนี้คือ

• ระบบกฎหมายโรมาโน – เยอรมันนิค (Romano Germanic Law)
• ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)
• ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law)
• ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม (Religious and Traditional Law)

กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคลในสังคมซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามหรือควรจะปฏิบัติตาม มิฉะนั้นจะได้รับผลร้ายหรือไม่ได้รับผลดีที่เป็นสภาพบังคับโดยเจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมาย ลักษณะของกฎหมายในปัจจุบัน สามารถจำแนกลักษณะของกฎหมายได้ 4 ประการ คือ

1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
“กฎเกณฑ์” (Norm) หมายความว่ากฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน (Standard) ที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือทำไม่ได้ ตัวอย่างกฎเกณฑ์ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตผู้นั้น กระทำความผิดฐาน ลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพักบาท” บทบัญญัตินี้เป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์ว่า การลักทรัพย์ของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ผิดไม่สมควรกระทำ เป็นต้น

 

2. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล
ความประพฤติ (Behavior) ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ ความประพฤติของมนุษย์ที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายนั้นต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไข 2 ประการคือ

- ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
- การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวนั้น กระทำภายใต้การควบคุมของจิตใจ

หากแม้มีการเคลื่อนไหวร่างกายแต่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ ตามกฎหมายก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำของมนุษย์ที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย เช่น การกระทำโดยละเมอ การกระทำโดยตื่นเต้นตกใจ เป็นต้น ส่วนการไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ เช่น การที่แม่นิ่งเฉยเสียไม่ยอมให้นมหรืออาหารให้แก่ลูกทารก ทำให้ลูกเสียชีวิต เป็นต้น

3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ สภาพบังคับ (Sanction)
ของกฎหมาย คือมาตรการกำหนดผลของการกระทำตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนไม่ยอมกระทำตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลร้าย เช่น การลงโทษทางอาญา ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน คือ

1.ประหารชีวิต
2.จำคุก
3.กักขัง
4.ปรับ
5.ริบทรัพย์สิน

หรือการลงโทษทางแพ่ง เช่น การให้ส่งมอบทรัพย์สิน หรือการยึดทรัพย์สินของจำเลยนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ เป็นต้น หรือสภาพบังคับที่เป็นผลดีหากทำตามที่กฎหมายกำหนด เช่น รัฐลดภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลที่ทำธุรกิจตามที่รัฐกำหนด เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วคนมักเข้าใจว่ากฎหมายมีสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายเท่านั้น

4. กฎหมายต้องมีกระบวนการที่แน่นอน
จากการที่กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ซึ่งสภาพบังคับของกฎหมายนั้นจะต้องมีกระบวนการที่แน่นอนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การบังคับใช้กฎหมายก็ต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐสมัยใหม่จะไม่ยอมให้มีการบังคับกฎหมายโดยประชาชน เพราะจะทำให้คนที่แข็งแรงกว่าใช้กำลังบังคับคนที่อ่อนแอกว่า ซึ่งจะทำให้สังคมวุ่นวาย กระบวนการบังคับให้กฎหมายที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐนี้กระทำ โดยผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล และ ราชทัณฑ์ เป็นต้น

ในปัจจุบันเหตุการณ์หนึ่งซึ่งมีปัญหาเป็นอย่างมากในสังคมก็คือปัญหาที่เกิดจากโลกสังคมออนไลน์เนื่องจากว่าคนในปัจจุบันนั้นสามารถเข้าถึงโลกไอทีได้ง่าย อาจกล่าวได้ว่า แทบจะทุกบ้านทั่วโลกจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อบ้าน และในปัจจุบันนั้นการเข้าถึงสังคมออนไลน์นั้นไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น ในปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่คนเราแทบทุกคนจะต้องมีนั้นก็สามารถติดต่อเข้าถึงโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย จึงต้องมีการออกกฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองในเรื่องเกี่ยวกับสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งในอดีตจะไม่มีกำหมายดังกล่าวก็คือ กฎหมายเทคโนโลยี และ สารสนเทศนั่นเอง และที่ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปนี้ก็จะเป็นเรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างไรที่อาจเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสารทนเทศ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย