ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
ความหมายของบุคลิกภาพ
ความสำคัญของบุคลิกภาพ
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ
ประเภทของบุคลิกภาพ
แบบของบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์
บุคลิกภาพกับการเลือกอาชีพ
ประเภทของบุคลิกภาพ
นักจิตวิทยาหลายท่านได้ทำการศึกษาแบบแผนทางบุคลิกภาพ
โดยปรากฏเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ในลักษณะต่างกัน ดังนี้
คาร์ล กุลสตาฟ จุง (Carl Gustary Jung) จำแนกบุคลิกภาพเป็น 2 ประเภทคือ
- บุคลิกภาพแบบอินโทรเวิท (Introvert) บุคลิกภาพแบบอินโทรเวิทนั้น
เมื่อมีความกดดัน ทางอารมณ์หรือเมื่อมีความขัดแย้งในใจ จะมีแนวโน้มที่จะเก็บตัว
เก็บความทุกข์ไว้กับตนเอง ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
ที่จะต่อสู้กับเหตุการณ์ภายนอก ชอบคิด ชอบทำอะไรเงียบ ๆ อยู่คนเดียว
และชอบครุ่นคิดคนเดียว บุคคลที่มีลักษณะอินโทรเวิทมาก
โอกาสที่จะมีความผิดปกติทางจิตทางอารมณ์และทางบุคลิกภาพ จะเกิดขึ้นได้มาก
- บุคลิกภาพแบบเอกซโทรเวิท (Extrovert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบเอกซโทรเวิท จะมีลักษณะตรงข้ามกับอินโทรเวิท บุคคลประเภทนี้ หากมีความยุ่งยากใจ หรือมีความขัดแย้งในใจ จะไม่เก็บตัวหรือหมกมุ่นอยู่คนเดียว แต่จะหาทางออกโดยการเข้าสังคม นอกจากนี้บุคคลประเภท เอกซโทรเวิทจะเป็นบุคคลที่มีน้ำใจ สนใจต่อผู้คนและสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว สนใจต่อเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกภายนอกมากกว่าจะจดจ่อสนใจเฉพาะเรื่องของตนหรือภายในใจตนเองเท่านั้น มีความสนใจในการเข้าสังคม ชอบสังคมชอบพบปะผู้คนมากกว่าสิ่งของ ชอบสมาคม ชอบอาชีพที่มีการติดต่อกับผู้คน
อย่างไรก็ตาม ลักษณะของอินโทรเวิท และเอกซโทรเวิทนั้น
ไม่สามารถจะแยกกันได้อย่างเด็ดขาด เพราะว่าคนส่วนมากจะมีลักษณะที่เรียก แอมบิเวิท
(Ambivert) คือมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างอินโทรเวิท และเอกซโทรเวิท
โดยในบางครั้งเขาอาจจะมีลักษณะที่โน้มเอียงไปในทางอินโทรเวิท
บางครั้งมีแนวโน้มเอียงไปในทางเอกซโทรเวิทได้ แบบฉบับของบุคลิกภาพของจุงนั้น
สังคมยอมรับแบบเอกซโทรเวิทมากกว่าแบบอินโทรเวิท แบบอินโทรเวิทนั้น
เป็นผู้ที่ไม่ก่อประโยชน์ให้แก่สังคมที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่มากเท่าที่ควร
สังคมอาจจะเจริญก้าวหน้าจำเป็นต้องอาศัยสมาชิกของสังคมที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงออก และสามารถก่อประโยชน์ให้สังคม
เอิร์นสท์ เครชเมอร์ (Ernst Kretschmer) แบ่งบุคลิกภาพตามลักษณะทางร่างกาย
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับลักษณะของจิตใจไว้ 4 ประการคือ
- พวกที่มีรูปร่างผอมสูง ตัวยาว ขายาว ความสูงไม่สัมพันธ์กับน้ำหนัก
(Asthenia Type) บุคคลประเภทนี้มีจิตใจที่ไม่ใคร่ทุกข์ร้อน ชอบคิด ชอบฝัน
แต่หากบุคคลประเภทนี้มีจิตใจผิดปกติ จะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคจิตเภท
- พวกที่มีรูปร่างอ้วนเตี้ย แคระ มีลักษณะคล้ายมะขามข้อเดียว (Pyknic type)
บุคคลประเภทนี้มักจะเจ้าอารมณ์ ดีใจง่าย โกรธง่าย ชอบสนุกสนาน
แต่หากบุคคลประเภทนี้มีจิตใจผิดปกติ
จะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคประสาทแบบคลั่ง-ซึมเศร้า
- พวกที่มีรูปร่างสูงใหญ่มากเกินไป และร่างกายไม่สมประกอบ (Dysphasic type)
บุคคลประเภทนี้มักจะมีเชาว์ปัญญาต่ำและมักจะมีปมด้อยเกี่ยวกับรูปร่างของตน
- พวกที่มีรูปร่างสมส่วน แข็งแรง ล่ำสัน (Athletic type) บุคคลประเภทนี้จะชอบผจญภัย ต่อสู้ กล้าได้กล้าเสีย มักจะไม่มีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติทางจิตใจ