สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

มนุษย์

พัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ในยุครามาพิเธคัส
พัฒนาการของมนุษย์ในยุคออสตราโลพิเธคัส (Australopithecus)
พัฒนาการของมนุษย์ในยุคโฮโม แฮบิลิส (Homo Habilis)
พัฒนาการของมนุษย์ในยุคโฮโม อีเรคตัส (Homo Erectus)
พัฒนาการของมนุษย์ในยุคโฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens)
เผ่าพันธุ์ของมนุษย์

พัฒนาการของมนุษย์

มนุษย์กลุ่มแรกถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 20,000,000 ปีมาแล้ว แต่ก็มีคำถามมากมายที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ที่ผ่านมานั้นมนุษย์ใดมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในลักษณะใดและอย่างไรบ้าง นอกเหนือจากปัญหาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแน่นอนว่ามนุษย์และวานรนั้นสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน นักมานุษยวิทยาเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมนุษย์โดยตรง นักวิชาการสาขานี้พยายามค้นคว้าหาหลักฐานเพื่ออธิบายแหล่งกำเนิด ความเป็นมาและวิวัฒนาการทางด้านกายภาพและทางด้านวัฒนธรรม (ความคิด) ของมนุษย์ ส่วนนักวิชาการด้านอื่นๆ ที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่ากันในการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของมนุษย์ก็คือ นักโบราณคดี นักชีววิทยา นักกายวิภาคศาสตร์ เป็นต้น

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกไพรเมต (Primate) สันนิษฐานว่าไพรเมตเริ่มแรกเป็นพวกสัตว์กินแมลงอาศัยอยู่ตามต้นไม่มีลักษณะคล้ายกระแต หากินในเวลากลางคืน ต่อมาปรับตัวหากินในเวลากลางวันห้อยโหนต้นไม้คล่องขึ้น และวิวัฒนาการมาเป็นลิง

ลำดับขั้นไพรเมต แยกเป็น 2 ลำดับขั้นย่อย คือ

  1. พวกไพรเมตชั้นต่ำ ได้แก่ พวกลิงลม และลิงทาร์ซิเมอร์ ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของพวกไพรเมตชั้นสูง มีนิ้วบางนิ้วเริ่มมีเล็บแบน และมีหางยาวคล้ายกับลิงอื่นๆ แต่หน้ายังยื่นยาวคล้ายหนูและมีเบ้าตาลึก
  2. พวกไพรเมตชั้นสูง แบ่งเป็น 3 พวก ดังนี้
    - พวกที่ 1 ลิงโลกใหม่ เป็นลิงที่มีรูจมูลกว้าง มีหางทำหน้าที่คล้ายมือและเท้าในการจับกิ่งไม้ แขนขายาว ห้อยโหนเต็มที่ พบมากในทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง
    - พวกที่ 2 ลิงโลกเก่า เป็นลิงที่มีรูจมูกใหญ่หางไม่ได้ทำหน้าที่ช่วยจบกิ่งไม้เหมือนกับพวกที่ 1 พบมากที่ทวีปแอฟริกาใต้ เอเชียและยุโรป จึงเรียกว่าเป็นลิงในโลกเก่า ได้แก่ ลิงบาบูน ลิงแสม ลิงกัง ค่าง
    - พวกที่ 3 ลิงไม่มีหาง เข้าใจกันว่ามีวิวัฒนาการสืบทอดมาจากลิงในโลกเก่า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ พวกวานรมนุษย์ซึ่งมีเขี้ยวใหญ่เลยระดับฟันแถวเดียวกัน จนต้องมีช่องว่างระหว่างฟันไว้รับปลายเขี้ยว มีการเดินโดยใช้ 4 ขา ได้แก่ ชะนี อุรังอุตัง ชิมแปนชี กอริลลา อีกกลุ่มคือ พวกมนุษย์

ลักษณะสำคัญของตระกูลโฮมินิเด คือ มีเขี้ยวเล็กและอยู่ในระดับเดียวกับฟันอื่น เดิน 2 ขา จากการพบซากดึกดำบรรพ์ ทำให้แบ่งตระกูลนี้ได้เป็น 3 สายพันธุ์ คือ รามาพิเธคัส ออสตราโลพิเธคัส และโฮโม



ฉะนั้น นักวิชาการเกี่ยวกับมนุษย์สาขาต่างๆ สรุปความเห็นตรงกันว่าทวีปแอปริกาคือถิ่นกำเนิดของมนุษย์มนุษย์ในยุคแรกๆ ที่พบหลักฐานคือ มนุษย์วานร กล่าวกันว่า มนุษย์วิวัฒนาการมาจากสัตว์สกุลลิงใหญ่ (Ape) เมื่อประมาณ 4 ล้านปีมาแล้ว คือเริ่มลงมาเดินสองขาที่เราเรียกว่า ออสตราโลพิเธคัส (Australopithecus) และต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นโฮโม แฮบิลิส (Homa Habilis) หรือมนุษย์ที่รู้จักใช้เครื่องมือ 2.5 ล้านปีมาแล้ว) และพัฒนาต่อมาเป็นโฮโม อีเรคตัส (Homo Erectus) หรือมนุษย์ที่ยืนตัวตรง 1.5-2 ล้านปี) และวิวัฒนาการต่อมาเป็นมนุษย์ปัจจุบัน คือ โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ (Homo Sapiens Sapiens หรือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดยิ่ง) เมื่อประมาณ 1-2 แสนปีที่ผ่านมา

ในช่วงก่อนวิวัฒานการมาสู่ขั้นโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ต้นบรรพบุรุษมนุษย์วิวัฒนาการโดยอาศัยหลักเดียวกับสิ่งที่มีชีวิต สัตว์ พืช อื่นๆ คือ การปรับตัวเพื่อการเคลื่อนไหวที่ใช้สองขา การเพิ่มขนาดของสมองฯลฯ เป็นต้น โดยมีปัจจัยพิเศษเพิ่มเติม คือ การรู้จักใช้เครื่องมือหยาบๆ ตั้งแต่ยุคของโฮโม แฮบิลิสเมื่อ 2.5 ล้านปีมาแล้ว รวมทั้งการรู้จักใช้ไฟ การรวมกลุ่ม การสร้างที่พักอาศัย ในช่วงของโฮโมอีเรตัส เมื่อ 1.5 ล้านปีมาแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนของการใช้ระบบภาษา ถ้าเราถือว่าภาษาเป็นปัจจัยสำคัญสุดของความเป็นมนุษย์ เราก็คงเรียกช่วงนี้ว่าเป็นช่วงก่อนวัฒนธรรม (pre-culture) หรือกึ่งวัฒนธรรม (quasi culture)

ในช่วงการเกิดโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ มีลักษณะพิเศษเกิดขึ้นกับมนุษย์ นั่นคือการพัฒนาสมองซึ่งนอกจากจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจาก 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรของโฮโม อีเรคตัส เป็น 1,300 ลูกบาศก์เซนติเมตรแล้วยังเป็นการพัฒนาการสมองในส่วนซึ่งมีบทบาทช่วยในความสามารถในการใช้ภาษากับการคิดที่เป็นรูปธรรมขึ้นด้วย จากจุดนี้ได้นำมนุษย์ไปสู่การวิวัฒนาการทางความคิดและวัฒนธรรม

ช่วงการพัฒนาความสามารถทางภาษาและจินตนาการของมนุษย์ปัจจุบัน จึงเกิดมาเมื่อเพียง 5 หมื่นปีเศษมานี้เอง เพราะเป็นช่วงที่เราพบในเชิงศิลปะ พิธีกรรม ของมนุษย์อย่างแพร่หลาย กว้างขวาง และนับจากนั้นมนุษย์ก็ได้อาศัยภาษา ศิลปะ จินตนาการของตน พัฒนาตัวเอง ทั้งในด้านเครื่องมือ เสื้อผ้า เครื่องใช้ไม้สอยอื่นๆ จนพัฒนาตัวเองไปอย่างรวดเร็ว เราจึงอาจเรียกวิวัฒนาการในช่วงนี้ของมนุษย์ว่าเป็นขั้นตอนของการใช้วัฒนธรรมทั้งความคิดและวัตถุ (Ideational กับ material culture) เป็นปัจจัยสำคัญและก็เป็นที่สังเกตได้ว่ามนุษย์ได้หยุดกระบวนการวิวัฒนาการเชิงกายภาพในช่วงนี้ ยกเว้นแต่การปรับตัวเล็กน้อยเพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมเฉพาะ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย