วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
» กีฏวิทยาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
» การเปลี่ยนแปลงด้านวิวัฒนาการของแมลง
» การกำเนิด และวิวัฒนาการของแมลง
» แมลงกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน
» ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคแมลง
» ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงในประเทศไทย
» การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง
» แนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง
การอนุรักษ์แมลงในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติทางด้านแมลงอย่างอุดมสมบูรณ์
ทั้งชนิดและปริมาณ
แมลงมีความหลากหลายทั้งรูปร่างลักษณะและสีสันบางชนิดมีรูปร่างแปลก
และสีสวยงามเป็นที่ต้องการเสาะแสวงหาเพื่อสะสมไว้เป็นสมบัติของตัวเอง
หรือซื้อขายแลกเปลี่ยน จึงมีการล่าจับแมลงกันมากเพื่อประโยชน์ทางการค้า
จากการที่มีธุรกิจการค้าแมลงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้
ทำให้น่าเป็นห่วงว่าแมลงจะถูกจับไปเป็นจำนวนมาก จากสภาพแวดล้อมปกติของมัน
ซึ่งปกติแมลงกำลังถูกคุกคามทางด้านอื่นๆ อย่างหนักอยู่แล้ว
เช่นนั้นการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณแมลงลดน้อยลง
เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไป
ทั้งยังมีการล่าจับแมลงเพื่อเป็นการค้ามากยิ่งขึ้น
อาจทำให้แมลงบางชนิดที่มีปริมาณน้อยอยู่แล้วในธรรมชาติสูญพันธุ์ไปได้
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอนุรักษ์แมลง
โดยเฉพาะแมลงที่สวยงามและหายาก
ปัญหาเกี่ยวกับการจับและการค้าแมลง
ในการอนุรักษ์แมลงนั้น
จำเป็นต้องหามาตรการในการควบคุม และแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2 ประการคือ
ในด้านที่เกี่ยวกับการจับแมลง และด้านที่เกี่ยวกับการค้าแมลง
ในด้านเกี่ยวกับการจับแมลงนั้น ส่วนใหญ่จะเข้าไปจับในแหล่งที่มีแมลงมาก
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าแมลงมีความสัมพันธ์กับพืช
ดังนั้นในแหล่งที่มีพืชอุดมสมบูรณ์จะพบมีแมลงอาศัยอยู่มาก แหล่งดังกล่าวนี้ ได้แก่
เขตป่าอนุรักษ์ต่างๆ ในประเทศไทย เช่น เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
สำหรับในเขตอุทยานแห่งชาตินั้น มีกฏหมายคือ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
ห้ามทำการล่าสัตว์ต่างๆ รวมทั้งแมลงอยู่แล้ว ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
มีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นกฎหมายดูแลอยู่แต่พระราชบัญญัติฉบับเก่าที่ใช้อยู่ก่อน
ปี พ. ศ. 2535 นั้น ไม่รวมแมลงเข้าไปในความหมายของคำว่าสัตว์ป่าด้วย
ดังนั้นในอดีตการเข้าไปจับแมลงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
แต่ต้องได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ก่อน พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับใหม่
ซึ่งใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ได้รวมแมลงเข้าไปเป็นสัตว์ป่าด้วย
ในเขตป่าอนุรักษ์ดังกล่าวนี้
เป็นแหล่งอาศัยและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติของแมลงได้เป็นอย่างดี มีแมลงชนิดต่างๆ
อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งแมลงที่สวยงาม แปลก และหายาก
จึงเป็นที่ต้องการของนักค้าแมลงในการที่จะมีไว้ครอบครอง โดยออกไปจับเอง
หรือจ้างชาวบ้านจับ ในกรณีนี้ผู้ค้าแมลงจะสอนวิธีการจับ
และเก็บรักษารวบรวมทั้งให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น สวิง ขวดสารเคมีฆ่าแมลง
ซองใส่แมลง ตลอดจนรูปภาพแมลงที่ต้องการซื้อและราคาที่กำหนดให้ด้วย
วิธีการนี้ทำให้ผู้ค้าได้แมลงที่แปลก สวยงามและหายาก
ในขณะเดียวกันทำให้เกิดมีการลักลอบเข้าไปจับแมลงในป่าอนุรักษ์อยู่เสมอ
สำหรับเรื่องเกี่ยวกับการค้าแมลงนั้น
แมลงที่นำมาค้าเกือบทั้งหมดเป็นแมลงที่จับมาจากแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมัน
ส่วนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงนั้นมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
ผู้ค้าจะรับซื้อแมลงจากชาวบ้านในราคาถูก แต่นำมาจำหน่ายในราคาสูง
ผู้ค้าบางรายมีขอบข่ายการซื้อขายกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
และเป็นที่น่าสังเกตว่ามีชาวต่างประเทศหลายรายดำเนินธุรกิจด้านซื้อขายแมลงในประเทศไทย
โดยทำเป็นธุรกิจส่วนตัว ไม่มีการตั้งเป็นบริษัทห้างร้าน นอกจากทำการค้าในประเทศแล้ว
ยังมีการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศตามใบสั่งของลูกค้า หรือส่งบัญชีรายชื่อ
และราคาไปยังกลุ่มพ่อค้าแมลงในต่างประเทศเพื่อให้พิจารณาสั่งซื้อแมลงที่ส่งขายต่างประเทศบางตัวมีราคาแพงตัวละหลายพันบาท
ธุรกิจการส่งแมลงไปจำหน่ายต่างประเทศนั้นทำรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ผู้ค้า
แต่ไม่มีการเสียภาษีให้แก่รัฐบาลไทย
และประเทศต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติทางด้านแมลงไปเป็นจำนวนมาก
จากปัญหาเรื่องการจับและการค้าแมลงดังที่กล่าวมาแล้วทำให้น่าเป็นห่วงว่า
แมลงที่สวยงามซึ่งมีการจับและการค้ามากนั้น
จะมีปริมาณลดน้อยลงไปมากจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของมัน และบางชนิดอาจสูญพันธุ์ได้
ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาหาแนวทางอนุรักษ์แมลงเหล่านี้ขึ้น
หลักเกณฑ์ในการกำหนดชนิดแมลงอนุรักษ์มีดังนี้
เป็นแมลงในกลุ่มที่มีการจับเพื่อการค้ามาก ซึ่งได้แก่ ด้วง
และผีเสื้อเป็นแมลงที่หายาก โดยพิจารณาดูว่า
ด้วงและผีเสื้อที่มีตัวอย่างเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แมลงของกรมวิชาการเกษตรนั้น
ชนิดใดเป็นชนิดที่หายาก โดยเป็นชนิดที่จับได้เมื่อ 30 40 ปีมาแล้ว
แต่ต่อมาสำรวจไม่พบแมลงชนิดนั้นอีกหรือพบแต่มีปริมาณน้อยมากจัดว่าเป็นแมลงที่หายาก
เป็นแมลงที่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อในอนุสัญญา CITES (Convention on lnternationaI
Trade in Endangered species of Wild Fauna and FIora)
หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าซึ่งพืชป่าและสัตว์ป่าที่กำลังสูญพันธุ์
ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญานี้มีรายชื่อแมลงที่พบในประเทศไทยด้วย 3 รายการ คือ
ผีเสื้อภูฐาน Bhutanitis spp. ผีเสื้อไกเซอร์ Teinopalpus spp. และผีเสื้อถุงทอง
Troides spp. ดังนั้นในการกำหนดชนิดแมลงอนุรักษ์จึงได้กำหนดแมลงทั้ง 3 รายการนี้
เข้าไปในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2535 พร้อมทั้งแมลงชนิดอื่นรวม
13 รายการ คือ
- ด้วงกว่างดาว Cheirotonus parryi Gray. (Family Scarabaeidae)
- ด้วงคีมยีราฟ Cladagnathus giraffa Fabricus. (Family Lucanidae)
- ด้วงดินขอบทองแดง Mouhotia batesi Lewis. (Family Carabidae)
- ด้วงดินปีกแผ่น Mormolyce phyllodes Hegenb. (Family Carabidae)
- ผีเสื้อกลางคืนค้างคาว Lyssa zampa Butler. (Family Uraniidae)
- ผีเสื้อกลางคืนหางยาวในสกุล Actias spp. (Family Saturniidae)
- ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง Actias selene Huber.
- ผีเสื้อหางยาวตาเดี่ยวปีกลายหยัก Actias maenas Doubleday.
- ผีเสื้อหางยาวตาเดี่ยวปีกลายตรง Actias rhodopneuma Rober.
- ผีเสื้อหางยาวปีกลายหยัก Actias sinensis heterogyna Mell. - ผีเสื้อไกเซอร์ Teinopalpus imperialis imperatrix de Nicevill. (Family Papilionidae)
- ผีเสื้อถุงทอง สกุล Troides spp. (Family Papilionidae)
- ผีเสื้อถุงทองป่าสูง Troides helena Linnaeus. (Family Papilionidae)
- ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ Troides amphrysus Cramer. (Family Papilionidae)
- ผีเสื้อถุงทองธรรมดา Troides aeacus Felder. (Family Papillonidae) - ผีเสื้อนางพญาในสกุล Stichopthalma spp. (Family Amathusiidae)
- ผีเสื้อนางพญาเขมร Stichopthalma cambodia Hewitson.
- ผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์ Stichopthalma godfreyi Rothschild.
- ผีเสื้อนางพญาพม่า Stichopthalm 1ouisa Wood-Mason. - ผีเสื้อภูฐาน Bhutanitis 1idderdalei Atknson. (Family Papilionidae)
- ผีเสื้อรักแร่ขาว Papilio protenor euprotenor Fruhstorfer. (Family Papilionidae)
- ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ Meandrusa gyas Westwood. (Family Papilionidae)
- ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว Papilio palinurus Fabricius. (Family Papilionidae)