วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

กีฏวิทยา

» กีฏวิทยาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

» วิวัฒนาการของแมลง

» การเปลี่ยนแปลงด้านวิวัฒนาการของแมลง

» การกำเนิด และวิวัฒนาการของแมลง

» ประโยชน์และโทษของแมลง

» แมลงกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน

» ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคแมลง

» ความเชื่อเกี่ยวกับแมลง

» ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงในประเทศไทย

» จำนวนชนิดแมลงในโลก

» การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง

» การอนุรักษ์แมลงในประเทศไทย

» แนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง

» เอกสารอ้างอิง

ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงในประเทศไทย

ประวัติการศึกษาแมลงในประเทศไทย
นักสำรวจรวบรวมตัวอย่างแมลงในประเทศไทย สมัยก่อนเป็นชาวต่างประเทศและส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป โดยเข้ามาสำรวจธรรมชาติวิทยาโดยตรง หรือเข้ามาด้วยธุรกิจอย่างอื่น เช่น ค้าขายหรือติดต่อราชการในขณะเดียวกันได้รวบรวม ตัวอย่างแมลงเป็นงานอดิเรกไปด้วย แมลงที่เก็บส่วนใหญ่เป็นแมลงสวยงาม เช่น ผีเสื้อ แมลงปอ หรือด้วงชนิดต่างๆ ตัวอย่างแมลงที่เก็บได้เอาไว้เป็นสมบัติส่วนตัวหรือส่งไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของประเทศเขา ไม่มีผู้ใดทราบว่าชาวต่างประเทศเข้ามาสำรวจแมลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อใด เท่านี้มีหลักฐานปรากฏพบว่าปี พ.ศ.2330 ซึ่งเป็นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ Fabricius นักธรรมชาติวิทยาชาวเดนมาร์กได้ศึกษาพบว่าผีเสื้อที่จับจากประเทศไทย 4 ชนิด เป็นผีเสื้อชนิดใหม่ ไม่มีผู้ใดเคยตั้งชื่อให้ไว้ก่อนจึงไดัทำการตั้งว่า Papilio arcesilaus , P.cocles , P. periander และ P. allica ผีเสื้อทั้ง 4 ชนิดนี้ถือว่าเป็นแมลงชนิดแรกของประเทศไทยที่ได้รับการตั้งชื่อ (Godfrey, E.J. 1930) ปี พ.ศ. 2469 Mr. W.R.S Ladell ชาวอังกฤษผู้เข้ามารับราชการในกระทรวงเกษตรของประเทศไทย ได้เก็บรวบรวมตัวอย่างแมลงศัตรูพืชเศรษฐกิจในขณะนั้น มาจำแนกชนิดเป็นครั้งแรกได้ 69 ชนิด ต่อมาได้ศึกษาแมลงศัตรูพืชเพิ่มเติมอีกหลายชนิด ตัวอย่างแมลงที่ เลเดียล ศึกษานี้ได้รวบรวมเก็บเป็นพิพิธภัณฑ์แมลงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้ง “แผนกกีฏวิทยา” ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลที่ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแมลงเป็นครั้งแรกของประเทศไทย แผนกกีฏวิทยานี้ได้เจริญพัฒนามาเป็นกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน ส่วนพิพิธภัณฑ์แมลงในสังกัดได้เจริญเติบโตมาเป็นพิพิธภัณฑ์แมลงที่มีข้อมูลทางด้านแมลงมากที่สุดในประเทศไทย (องุ่น ลิ่ววานิช, 2534)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย