วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
» กีฏวิทยาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
» การเปลี่ยนแปลงด้านวิวัฒนาการของแมลง
» การกำเนิด และวิวัฒนาการของแมลง
» แมลงกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน
» ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคแมลง
» ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงในประเทศไทย
» การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง
» แนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง
การกำเนิด และวิวัฒนาการของแมลง
โดยทั่วไปมักจะพิจารณาว่าสัตว์ในกลุ่มอินเซกตา มีวิวัฒนาการมาจากไมริอาพอดหรือ
ไพรโมริอาพอดก่อนยุคดีโวเนียน (Devonian period) แต่จากการศึกษาความแตกต่างของกราม
และวิธีการเคลื่อนไหวของกราม แมนตัน (Manton, S.M. 1964) สรุปได้ว่า
แมลงไม่ได้สืบทอด จากไมริอาพอดโดยตรง แต่สัตว์ทั้งสองกลุ่มนี้มีวิวัฒนาการร่วมกันมา
โดยมีบรรพบุรุษร่วมกัน
และจากข้อมูลทางชีววิทยาโมเลกุลก็ไม่ได้สนับสนุนความใกล้ชิดของสัตว์ทั้งสองกลุ่มเลย
แต่ลำดับการเกิดของแมลง รอส และคณะ (Ross, H.H., et al, 1991)
สามารถแสดงขั้นตอนได้ดังนี้
- ช่วงแรก สัตว์จะมีรูปร่างเป็นปล้อง
ไม่มีขาเป็นระยะที่สัตว์มีรูปร่างคล้ายหนอนหรือ เป็นระยะคล้ายแอนิลิดา
ส่วนของร่างกายยังไม่ได้เปลี่ยนสภาพลำตัวเป็นปล้อง ด้านหน้าเรียกว่า โพรสโทเมียม
(Prostomium) หรืออะครอน ส่วนท้ายสุดเรียกว่าเพอริพรอคต์ (Periproct) หรือ
หางปากอยู่ระหว่างโพรสโทเมียมกับลำตัวปล้องแรก ทวารหนักเปิดออกในส่วน เพอริพรอคต์
(ภาพที่ 1.3 A)
- ช่วงที่มีวิวัฒนาการโดยมีการเจริญของรยางค์เป็นคู่ๆ
รยางค์จะมีลักษณะคล้ายพู เป็นแบบสมมาตรด้านข้าง เกิดตาเดี่ยวบนโพรสโทเมียม 1 คู่
และเกิดหนวดสัมผัสบนปล้องที่สอง 1 คู่
การจัดเรียงตัวของอวัยวะในระยะนี้คล้ายกับออนีโคเฟอรา (ภาพที่ 1.3 B)
- ช่วงโพรโทไมริอาพอด หรือระยะก่อนเป็นแมลง (Protoinsect)
เป็นระยะที่เกิดลักษณะของสัตว์ขาปล้อง กล่าวคือ
รยางค์แต่ละปล้องมีสมมาตรด้านข้างเกิดเป็นปล้อง รยางค์ของปล้องที่ 4, 5 และ6
ลดรูปไป และเคลื่อนเข้าไปติดกับหัวกลายเป็นโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการกินอาหาร
รยางค์ปล้องหลังสุดกลายเป็นอวัยวะรับความรู้สึกและไม่ได้ทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่
อาจกล่าวได้ว่าระยะนี้เป็นระยะแรกเริ่ม
และมีการผันแปรไปเป็นการกำเนิดของไมริอาพอดและแมลง (ภาพที่ 1.3 C)
- เป็นช่วงที่มีการจัดเรียงตัวของอวัยวะคล้ายกับไมริอาพอด
จะพบรยางค์ซึ่งมีสมมาตรด้านข้างเกือบทุกส่วนของร่างกาย และรยางค์ลำตัวปล้องที่ 2, 3
และ4 กลายเป็นส่วนของปากที่มีกรามเป็นแบบดั้งเดิม (ภาพที่ 1.3 D)
- การจัดเรียงตัวในระดับของแมลง (ภาพที่ 1.3 E และ F) ลำตัวเปลี่ยนสภาพไป
โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของแมลง รยางค์ปล้องที่ 7, 8 และ9
เปลี่ยนเป็นโครงสร้างใช้ในการเคลื่อนที่ รยางค์ส่วนที่เหลือหายไป
รยางค์ท้องปล้องที่ 8 และ9 เปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (External
genitalia) และแพนหางซึ่งมีรยางค์ปล้องที่ 11 ยังคงเหลืออยู่ส่วนหางหายไป
รูเปิดของทวารหนักอยู่ภายในท้องปล้องที่ 11
ภาพที่ 1.3
แสดงสมมติฐานการเจริญของรยางค์จากบรรพบุรุษที่มีรูปร่างคล้ายหนอนจนเป็นแมลง
A. ระยะรูปร่างคล้ายหนอน B. ระยะการเจริญของรยางค์ C.
ระยะที่เกิดลักษณะของปล้อง
D. ระยะที่พบรยางค์ที่ลำตัว E. และ F. ระยะที่ลำตัวแบ่งจนมีลักษณะของแมลง
ที่มา : Ross, H.H., et al, 1991 : 28