ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม

กำเนิดวัฒนธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม
ประเภทของวัฒนธรรม
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
หน้าที่ของวัฒนธรรม
ที่มาของวัฒนธรรม
ลักษณะของวัฒนธรรม
พัฒนาการของวัฒนธรรมไทย

ที่มาของวัฒนธรรม

เป็นที่ทราบกันแล้วว่า วัฒนธรรมมีในสังคมมนุษย์เท่านั้น สัตว์ไม่มีวัฒนธรรมเหมือนมนุษย์ หรือสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาไม่ได้ แต่มีมนุษย์มีวัฒนธรรม หรือสร้างวัฒนธรรมได้นั้น สาเหตุมาจากเปรียบเทียบกับสัตว์ ในการมองสิ่งต่าง ๆ มีความสามารถใช้มือและนิ้วอย่างอิสระ มีอายุยืนยาว มีมันสมองที่สามารถคิดค้นเรียนรู้ได้ดี และสามารถ่ายทอดโดยใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน มีความสามารถในการคิดพิจารณาไตร่ตรอง มีความจำ มีการทดลองค้นคว้า ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมหรือการอยู่ร่วมกันได้ดี สิ่งเหล่านี้เองจึงทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์

แนวคิดเรื่องที่มาของวัฒนธรรมนี้ ได้มีผู้รู้ให้แนวคิดแตกแยกออกไปหลายทางด้วยกัน แต่มีแนวความคิดที่สำคัญอยู่ 2 ทางด้วยกัน คือ

  1. ทฤษฎี Parallelism ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า วัฒนธรรมนั้นเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ พร้อมกัน เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์คล้ายันมาก ฉะนั้นจึงมีความคิดที่คล้ายกัน มนุษย์ที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ ย่อมสามารถก่อสร้างวัฒนธรรมของตนขึ้นมาได้ จะเห็นได้จากการประดิษฐ์สิ่งของอย่างเดียวกันในสถานที่ต่างกัน จะแตกต่างกันเฉพาะในรูปลักษณะของการประดิษฐ์สิ่งนั้น ๆ เช่น ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำก็มักจะสร้างเรือเป็นพาหนะในชีวิตประจำวันของตน รูปร่างของเรืออาจจะแตกต่างกัน แต่ประโยชน์ใช้สอยเหมือนกัน
  2. ทฤษฎี Diffusionism ทฤษฎีนี้มีแนวความคิดว่าวัฒนธรรมเกิดจากศูนย์กลางที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว และแพร่กระจายไปในชุมชนต่าง ๆ อาจเป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปหรือแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง โดยจากการประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ หรือเกิดสถาบันใหม่ โดยที่สถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่ห่างไกลได้นำวัฒนธรรมนั้นไปดัดแปลงใช้จนกระทั่ววัฒนธรรมนั้นแพร่หลายครอบคลุมไปทั่วโลก กลไกลของการแพร่กระจายวัฒนธรรมนี้ได้แก่ การอพยพล่าอาณานิคม การทำสงคราม การเผแพร่ศาสนา การติดต่อการค้าขาย เป็นต้น

  โดยทั่วไปแล้วเนื้อหาวัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะแพร่หลาย แต่ก็มิได้ราบรื่นโดยตลอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก ชุมชนอยู่ห่างไกลเกินไป ประชาชนเกิดการต่อต้านวัฒนธรรมใหม่ เพราะยังมิเห็นถึงประโยชน์ หรือ อาจจะต่อต้านเพราะเห็นว่าวัฒนธรรมที่มีอยู่มีคุณค่ามีประโยชน์แล้ว หรือรู้สึกว่าขัดกับลักษณะของวัฒนธรรมที่หลั่งไหลเข้ามา เช่น ในกรณีสังคมไทยซึ่งได้รับอิทธิพลจากสังคมตะวันตกในเรื่องการดื่มน้ำชา กาแฟ แต่ยังไม่แพร่หลายในหมู่คนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบชนบทยังนิยมกินหมากหรืออมเมี่ยงอยู่ เพราะแต่ละชุมชนเคยชินกับวัฒนธรรมของตนและเห็นว่ามีคุณค่าเหมือนกัน และใช้แทนกันได้อยู่แล้ว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย