ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม

กำเนิดวัฒนธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม
ประเภทของวัฒนธรรม
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
หน้าที่ของวัฒนธรรม
ที่มาของวัฒนธรรม
ลักษณะของวัฒนธรรม
พัฒนาการของวัฒนธรรมไทย

หน้าที่ของวัฒนธรรม

ดังได้กล่าวมาแล้ว่า วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคม ซึ่งได้สืบทอดต่อมายังชนรุ่นหลัง วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนเครื่องห่อหุ้มสังคม ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ เพราะฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีสังคม หรือที่ใดมีวัฒนธรรมที่นั่นก็มีสังคม ที่ใดมีสังคมที่นั่นก็มี วัฒนธรรม เท่ากับเป็นของสิ่งเดียวกันที่มีสองด้านแยกกันในทางปฏิบัติไม่ได้ หน้าที่ของวัฒนธรรมที่พึงมีต่อสังคมพอสรุปได้ดังนี้

  1. เป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน เช่น รูปแบบของครอบครัวว่า ชายจะมีภรรยาได้กี่คน หรือ หญิงจะมีสามีได้กี่คน เป็นต้น
  2. เป็นตัวกำหนดบทบาท ความสัมพันธ์ของมนุษย์ เช่น ในสังคมไทยผู้ชายจะบวชเรียนเมื่อมีอายุครบ 20 ปี หรือการที่เด็กต้องแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่หรือผู้มีอายุมากกว่า เป็นต้น
  3. ทำหน้าที่ควบคุมสังคม เช่น การมีประเพณีต่าง ๆ ให้ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะได้รับการตำหนิจากสังคม เช่น การกระทำของหญิงที่หนีตามผู้ชาย โดยไม่มีการสู่ขอตามประเพณีนั้น เป็นการสมควรที่จะได้รับการตำหนิจากสังคม เพื่อนบ้าน อาจจะไม่คบค้าสมาคมด้วย ฯลฯ เป็นต้น
  4. ทำหน้าที่เป็นเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ที่แสดงว่าสังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง เช่น สังคมไทยทักทายด้วยการไหว้ สังคมธิเบตทักทายด้วยการแลบลิ้น สังคมตะวันตกทักทายด้วยการจับมือ เป็นต้น
  5. ทำให้เกิดความเป็นอันเหนึ่งอันเดียวกันในสังคม เกิดเป็นปึกแผ่นความจงรักภักดี และอุทิศตนให้แก่สังคม ทำให้สังคมอยู่รอด
  6. วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและหล่อหลอมบุคลิกภาพของสังคมให้กับสมาชิก
  7. ทำให้สมาชิกแต่ละคนและแต่ละสังคมได้ตระหนักถึงความหมายและวัตถุประสงค์ ของการมีชีวิตของคน เช่น สังคมไทยพุทธเชื่อว่าเกิดมาแล้วต้องชดใช้กรรม ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับชีวิตของคน เขาก็เชื่อว่าเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม
  8. สร้างหรือจัดรูปแบบความประพฤติและการปฏิบัติร่วมกัน โดยบุคคลไม่จำเป็นต้องคิดหาวิธีประพฤติปฏิบัติโดยไม่จำเป็น รูปแบบความประพฤติที่สังคมเคยกระทำอย่างไร หน้าที่ของสมาชิกในสังคมก็คือ การปฏิบัติตาม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย