ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม
กำเนิดวัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม
ประเภทของวัฒนธรรม
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
หน้าที่ของวัฒนธรรม
ที่มาของวัฒนธรรม
ลักษณะของวัฒนธรรม
พัฒนาการของวัฒนธรรมไทย
ประเภทของวัฒนธรรม
โดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ (Material Culture)
ซึ่งได้แก่สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดค้นผลิตขึ้นมา เช่น
สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น
- วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non material Culture) หมายถึง อุดมการณ์ ค่านิยม แนวคิด ภาษา ความเชื่อทางศาสนา ขนมธรรมเนียมประเพณี ลัทธิการเมือง กฎหมาย วิธีการกระทำ และแบบแผนในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม (Abstract) ที่มองเห็นไม่ได้
การแบ่งประเภทของวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภท ดังกล่าวข้างต้น นักสังคมวิทยาบางท่านเห็นว่า แนวคิดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุนั้นคลุมเครือ จึงได้แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ คือ
- วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material) ได้แก่ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า
ยารักษาโรค
- วัฒนธรรมความคิด (Idea) หมายถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ
ความเชื่อต่าง ๆ เช่น ความเชื่อในเรื่องตายแล้วเกิดใหม่
ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม การเชื่อถือโชคลาง ตลอดจนเรื่องลึกลับ นิยายปรัมปรา
วรรณคดี สุภาษิต และอุดมการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
- วัฒนธรรมด้านบรรทัดฐาน (Norm)
เป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่สังคมกำหนดเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม
ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ดังนี้
- วัฒนธรรมทางสังคม (Social Culture) เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความประพฤติ หรือมารยาททางสังคม เช่น การไหว้ กาจับมือทักทาย การเข้าแถว การแต่งชุดดำไปงานศพ เป็นต้น
- วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย (Legal Culture) เป็นวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบและกฎเกณฑ์เพื่อให้คนในสังคมอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
- วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับจิตใจและศีลธรรม (Moral Culture) วัฒนธรรมประเภทนี้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น
ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2485 ได้แบ่งประเภทวัฒนธรรมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
- คติธรรม (Moral) คือวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำรงชีวงิตส่วนใหญ่เป้นื่องของจิตใจ และได้มาจากศาสนา ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของสังคม เช่น ความเสียสละ ความขยัน หมั่นเพียร การประหยัดอดออกม ความกตัญญู ความอดทน ทำดีได้ดี เป็นต้น
- เนติธรรม (Legal) คือวัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญพอ ๆ กับกฎหมาย เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
- สหธรรม (Social) คือวัฒนธรรมทางสังคม รวมทั้งมารยาทต่าง ๆ ที่จะติดต่อเกี่ยวข้องกับสังคม เช่น มารยาทในการรับประทานอาหาร มารยาทในการติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ ในสังคม
- วัตถุธรรม (Material) คือวัฒนธรรมทางงวัตถุ เช่น เคราองนุ่งห่ม ยารักษาโรค บ้านเรือน อาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ สะพาน ถนน รถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ปัจจุบันเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและส่งเสริมวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แบ่งออกเป็น 5 สาขา คือ
- สาขามนุษย์ศาสตร์ ได้แก่ ขนบธรรมประเพณี คุณธรรม ศีลธรรม ศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มารยาทในสังคม การปกครอง กฎหมาย เป็นต้น
- สาขาศิลปะ ได้แก่ ภาษา วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ วิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เป็นต้น
- สาขาช่างฝีมือ ได้แก่ การเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การทอผ้า การจัดสาน การทำเครื่องเขิน การทำเครื่องเงิน เครื่องทอง การจัดดอกไม้ การประดิษฐ์ การทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
- สาขาคหกรรมศิลป์ ได้แก่ ความรู้เรื่องอาหาร การประกอบอาหาร ความรู้เรื่องการแต่งกาย การอบรมเลี้ยงดูเด็ก การดูแลบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ความรู้เรื่องบา การรู้จักใช้ยา ความรู้ในการอยู่รวมกันเป็นครอบครัว เป็นต้น
- สาขากีฬาและนันทนาการ ได้แก่ การละเล่น มวยไทย ฟันดาบสอบมือ กระบี่กระบอง การเลี้ยงนกเขา ไม้ดัดต่าง ๆ เป็นต้น