ปรัชญา
อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
จิตวิทยาพื้นฐาน
สาเหตุทำให้บุคคลไม่กล้าแสดงออก
- เข้าใจผิดว่าการแสดงออกที่เหมาะสมแบบเข้มแข็ง เป็นการแสดงออกของคนก้าวร้าว
ทำให้ไม่กล้าแสดงออกทั้งนี้อาจเป็น เพราะการสั่งสมประสบการณ์ที่เคยมีมาในอดีต เช่น
จากครอบครัว โรงเรียน และสังคมรอบข้างเชื่อในความคิดนี้
- เข้าใจผิดว่า พฤติกรรรมที่ไม่กล้าแสดงออกเป็นการแสดงออกที่สุภาพอ่อนโยน
เพราะเหตุที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาให้เป็นคนสุภาพ อ่อนโยน
เกรงใจผู้อื่นเพื่อการยอมรับและมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ดังนั้นทำให้เกิดการรับรู้ที่ผิดพลาดไปว่า การไม่แสดงออกเป็นความสุภาพอ่อนโยน
เขาจึงไม่กล้าแสดงออกถึงความต้องการของตนเองโดยไม่กล้าขอร้องหรือปฏิเสธผู้อื่น
- ไม่ยอมรับในสิทธิส่วนบุคคล คือ
ไม่ยอมรับว่าเขามีสิทธิในการที่จะแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกและอารมณ์
ออกมาตรงๆกลับคิดว่า ถ้าแสดงให้ผู้อื่นรู้จะเป็นการเสียหน้า อับอาย
หรือถูกติฉินนินทา เพื่อความปลอดภัยจึงเลือกเอาการไม่แสดงออกดีกว่า
- ความวิตกกังวลกลัวว่าจะเกิดผลในทางลบ คือ
กลัวว่าการแสดงออกถึงความต้องการที่จริงของตนเอง จะทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ
ทำให้เขาเสียหน้า หรือทำให้ตัวเองด้วยคุณค่า จึงทำให้ไม่กล้าแสดงออกมาตรงๆ
ในที่สุดก็เลยกลายเป็นผู้ไม่กล้าแสดงออก
- เข้าใจผิดว่า การไม่แสดงออกจะเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิเสธคำขอร้องของผู้อื่น เพราะมีความเกรงใจ
เกรงว่าเขาจะได้รับความผิดหวัง
- ขาดทักษะในการแสดงออกที่เหมาะสม เป็นเพราะขาดการฝึกฝน ขาดการอบรมสั่งสอนตามแบบอย่างของการแสดงออกที่เหมาะสม ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะรู้ว่าการแสดงออกที่เหมาะสมเป็นอย่างไร ไม่มีผู้แนะนำและไม่ได้รับการฝึกหัด จึงไม่กล้าแสดงออก
ลักษณะของจิตมนุษย์
ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic human Needs)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
สาเหตุทำให้บุคคลไม่กล้าแสดงออก
สาเหตุที่ทำให้บุคคลแสดงออกแบบก้าวร้าว
ชนิดของการแสดงออกที่เหมาะสม