ปรัชญา
อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
จิตวิทยาพื้นฐาน
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
การให้ข้อมูลย้อนกลับถือว่าเป็นเครื่องมือที่ จะช่วยให้คนปรับพฤติกรรม
หรือทำงานได้อย่างมีปะสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะจะทำให้เขารู้ว่าที่เขาทำไปนั้นมีผลกระทบที่ดี
หรือผิดพลาดต่อผู้อื่นมากน้อยเพียงใด คนอื่นเขาจะคิดอย่างไรกับผลงานของเรา
แล้วนำข้อติชมต่าง ๆ เหล่านั้นมาวิเคราะห์วิจารณ์ศึกษา และปรับปรุงให้ดีขึ้นไปอีก
หลักการให้ข้อมูลย้อนกลับ
การให้ข้อมูลย้อนกลับที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ให้และผู้รับนั้น
ผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับจะต้องแน่ใจว่าสิ่งที่บอกผู้รับข้อมูลย้อนกลับนั้น
จะเป็นประโยชน์ต่อเขาในอนาคตวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดีได้แก่
- ต้องสร้างความไว้วางใจ และความเชื่อถือให้เกิดขึ้นก่อนเพราะการติชมด้วยความหวังดีให้เขาประสบความสำเร็จ จะทำให้ผู้รับพร้อมที่จะรับฟังและเต็มใจมากกว่า
- การใช้คำพูด จังหวะ น้ำเสียง สีหน้า สิ่งเหล่านี้จะช่วยสื่อเจตนารมณ์ของผู้พูดได้อย่างดี คือจะต้องทำให้เขารับรู้ว่าเราจริงใจกับเขา
- การให้ข้อมูลย้อนกลับ จะต้องจับประเด็นให้ตรงเรื่อง การให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดีจะต้องเป็นเฉพาะเจาะจง ไม่ใช่ติกราด จะต้องบอกให้ได้ว่า อะไรที่ไม่ดี และอะไรที่ควรแก้ไข เช่น ถ้าบอกว่า คุณพูดมากไปแล้วค่ะ ก็ต้องบอกเขาให้ได้ว่า เมื่อไหร่ และอย่างไรที่เราคิดว่าพูดมากกกว่าทำ ถ้าเรายกสถานการณ์นั้นๆได้ ผู้รับข้อมูลย้อนกลับก็จะได้มองเห็นภาพตนเอง ในสถานการณ์นั้นได้แจ่มแจ้ง
- การให้ข้อมูลย้อนกลับควรเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องที่เกิดนานแล้ว
- ถูกกาลเทศะ ไม่ควรท้วงติงเมื่อมีผู้อื่นอยู่ด้วย
- ให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงพฤติกรรมนั้นๆแก่ผู้รับด้วย
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของมนุษย์
สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามที่ต้องการได้แต่ในความเป็นจริง
การที่เราจะปรับพฤติกรรมผู้อื่นนั้น ย่อมทำได้ยากกว่าการมุ่งมาปรับพฤติกรรมของตนเอง
ดังนั้น ผู้นำก็ควรเรียนรู้การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่เหมาะสม
เพื่อพัฒนาตนเองให้เกิดความเชื่อมั่นในการแสดงออก
นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเข้าสังคม หรือในการทำงานต่อไป
โดยปกติพฤติกรรมการแสดงออกของคนเราโดยทั่ว ๆ ไปมี 3 รูปแบบ คือ
1.พฤติกรรมการแสดงออกแบบก้าวร้าว (Aggressive Behavior)
2.พฤติกรรมการไม่กล้าแสดงออก (Nonassertive or Passive Behavior)
3.พฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertive Behavior)
1.
พฤติกรรมการแสดงออกแบบก้าวร้าว (Aggressive Behavior)
เป็นพฤติกรรมที่แสดงการต่อสู้อย่างตรงไปตรงมา
เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและแสดงให้เห็นถึงความคิด
ความรู้สึกและความเชื่อในทุกวิถีทาง
ซึ่งเป็นการไม่เหมาะสมเพราะเป็นการคุกคามสิทธิของผู้อื่นอยู่เสมอจะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการแสดงออกแบบก้าวร้าว
เป็นการแสดงความคิดเพื่อเอาชนะ คุกคามผู้อื่นให้เสียหายทำให้เขาขายหน้า ด้อยค่าลง
หมดความสำคัญ และไม่สามารถต้านทานได้
2. พฤติกรรมการไม่กล้าแสดงออก (Nonassertive or Passive Behavior)
เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการคุกคามสิทธิของตนเอง
โดยการไม่กล้าแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก
และความเชื่อก็เลยยอมให้ผู้อื่นคุกคามตนเอง การยอมรับผิดรับโทษ
ยอมลดความสามารถที่มีอยู่ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
การยอมรับที่จะไม่ได้ความต้องการของตนแต่ยอมรับผู้อื่นพร้อมกันนั้นก็จะพยายามหลักเหลี่ยงความขัดแย้งในทุกๆกรณี
3. พฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertive Behavior)
เป็นการแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก และความเชื่อ
ออกมาอย่างตรงๆตามที่เป็นจริงได้อย่างเหมาะสม โดยไม่รุกรานสิทธิของผู้อื่น
การพูดโดยปราศจากการควบคุมผู้อื่นไม่ทำให้ผู้อื่นขายหน้าหรือด้อยค่า
พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมนี้เป็นการยอมรับผู้อื่น
แต่ไม่คล้อยตามหรือยอมอยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่น
หรือบุคคลที่มีสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นด้วยวัย ความมีอำนาจ
ประสบการณ์ ความรู้ที่เหนือว่า หรือมีความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ
การแสดงออกที่เหมาะสมนี้เป็นการแสดงการยอมรับนับถือถึงคามต้องการ
และการปกป้องสิทธิทั้งของตนเองและผู้อื่น พฤติกรรมแบบนี้
จะกล้าขอร้องและปฏิเสธคำขอร้องของผู้อื่นด้วยความเชื่อมั่น
แต่อยู่ในวิถีของการยอมรับในสิทธิของผู้อื่น
ลักษณะของจิตมนุษย์
ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic human Needs)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
สาเหตุทำให้บุคคลไม่กล้าแสดงออก
สาเหตุที่ทำให้บุคคลแสดงออกแบบก้าวร้าว
ชนิดของการแสดงออกที่เหมาะสม