ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์

จิตวิทยาพัฒนาการ

จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น

จิตวิทยาพื้นฐาน

ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล

สาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกันมีหลายประการ คือ

พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดจากสายเลือดของบิดามารดาและปู่ย่าตายาย โดยมียีน (Gene) เป็นตัวทำหน้าที่สืบทอดลักษณะ ลักษณะต่างๆที่ได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษทางพันธุกรรม จะทำให้คนเราแตกต่างกัน ดังนี้

  • เชื้อชาติ (Race) เช่น ไทย ฝรั่ง นิโกร จีน ฯลฯ ย่อมมีลักษณะเฉพาะชาติของตนเองแตกต่างจากชาติอื่นๆ ลักษณะรูปร่างโครงกระดูก ขนาดร่างกาย หน้า ตา ผิวพรรณ สีผม สำเนียงภาษา
  • เพศ (Sex) โดยธรรมชาติจะมี 2 เพศ คือ หญิงกับชายซึ่งมีลักษณะประจำเพศแตกต่าง เช่น เพศชายจะรูปร่างแข็งแรง ไหล่ผาย อกกว้าง มีหนวด เพศหญิงจะมีรูปร่างกลมกลืน ตะโพกพาย เป็นต้น
  • ชนิดของกลุ่มเลือด โดยลูกจะมีเลือดกลุ่มเดียวกับพ่อหรือแม่ เช่น พ่อเลือดกลุ่ม O แม่เลือดกลุ่ม B ลูกมีโอกาสเป็น O,B
  • ความบกพร่องทางร่างกาย และโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง เช่น ตาบอดสี ศีรษะล้าน โรคเบาหวาน โรคลมชัก ผิวเผือก
  • ลักษณะรูปทรงของร่างกาย โดยมีนักจิตวิทยากล่าวถึงแบบของร่างกายของคนไว้ดังนี้
    Krestschmer นักจิตวิทยาชาวเยอรมันได้แยกความแตกต่างทางกายภาพของคนออกเป็น 4 แบบ
    - Asthenic or Leptosome Type พวกผอมสูง ตัวยาว (Long –thin Type) แขน-ขายาวพวกนี้มีแนวโน้มเป็นคนเงียบ เหงา ช่างคิด เจ้าอารมณ์ มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว
    - Pyknics Type รูปร่างอ้วน เตี้ย หนา ( Short-Thick Types) คอใหญ่ ท้องฟลุ้ย พวกอารมณ์เปลี่ยนแปลงอ่อนไหวง่าย เดี๋ยวสดชื่น ร่างเริง เดี๋ยวเศร้า ซึม กลับไปมาระหว่างความร่าเริง และความเศร้าเป็นพวกที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว
    - Athletic Type มีลักษณะระหว่าง Phyknics และ Leptosome ร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อมากเป็นแบบนักกีฬา ชอบออกกำลังกา ย หรืองานกลางแจ้ง ชอบสนุกสนาน
    - Dysplastic Type or Mixed Type บุคคลที่สัดส่วนของร่างกายไม่สอดคล้องกันมักมีรูปร่างสูงใหญ่ผิดปกติธรรมดา สติปัญญาต่ำ ขี้โรค
  • สติปัญญา คือ ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมากจากพันธุกรรม ได้แก่ ความคิด ความจำ เชาวน์
  • ความสามารถที่มีมาแต่กำเนิดหรือความถนัด ( Aptitude) เฉพาะตัวหรือพรสวรรค์ แต่ละคนรับถ่ายทอดมาจากผู้ให้กำเนิด

  สิ่งแวดล้อม (Environment)

สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราและทำให้คนเราแตกต่างกัน ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู การคบเพื่อน การสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา ดินฟ้าอากาศ ที่อยู่อาศัยและอาหาร ลำดับการเกิด สื่อมวลชน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้คนเราแตกต่างกัน ดังนี้

  1. สภาวะขณะอยู่ในครรภ์ มีผลต่อบุคลิกภาพมาก เช่น ถ้ามารดาบริโภคอาหารดี มีคุณค่า ถุงมดลูกดีอยู่สภาพสมบูรณ์ มีน้ำหล่อเลี้ยงดี เด็กเจริญเติบโต แข็งแรงดี ถ้ามารดาสุขภาพไม่ดี มีโรคแทรก เด็กจะมีร่างกายและพลานามัยไม่สมบูรณ์โรคบางชนิด เช่น หัดเยอรมันอาจทำให้เด็กพิการได้ แม้แต่ยาชนิดที่มารดารับประทานขณะตั้งครรภ์ก็มีผลต่อเด็ก เช่น ยากแก้แพ้บางชนิด ควินิน ฯลฯ อาจทำให้เด็กพิการได้ แม่ดื่มสุรา-สูบบุหรี่จัด ก็มีผลต่อสุขภาพของเด็ก ถ้าแม่อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด โกรธ กลุ้มใจ วิตกกังวล หวาดกลัว เด็กก็จะได้รับความกระทบกระเทือนด้วย เจตคติที่พ่อแม่มีต่อเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญพ่อแม่ที่อยากมีลูกก็จะชื่นชมตั้งใจเลี้ยงดูเอาใจใส่ทะนุถนอมอย่างดี
  2. การเลี้ยงดูของบิดามารดา อาหารดี มีคุณภาพ อนามัยดี บำรุงรักษา ให้สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายได้สัดส่วนไม่เป็นโรคขาดสารอาหารถ้าเด็กได้รับความรักความเข้าใจ ความอบอุ่นจะทำให้เด็กเจริญเติบโตทั้งทางกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา แต่ถ้าเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป (Over Protection) ก็จะทำให้เด็กช่วยตัวเองไม่ได้ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวมีผลต่อคนในครอบครัวมาก คนชั้นสูงผู้ดีมีฐานะให้ความอบอุ่นและการอบรมศึกษาแก่ลูกได้ต่างกับคนจน
  3. ลำดับที่ในการเกิด ทำให้คนเราแตกต่างกันได้หลายอย่าง ลูกคนกลางๆช่วยเหลือตัวเองดี เจริญเติบโตเร็วกว่าลูกคนโต แต่ลูกคนโตมีความรับผิดชอบสูงกว่า ส่วนลูกคนสุดท้องมีความรับผิดชอบไม่ดีนัก ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ เพราะมีคนอื่นคอยเอาอกเอาใจทำทุกอย่างให้
  4. อาหารการกิน ถ้าขาดสารอาหารร่างกายก็ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร อาจทำให้ต่อมภายในไม่ทำหน้าที่ ร่างกายเจริญเติบโตได้ช้า บางคนเป็นโรคขาดอาหาร เป็นเด็กปัญญาอ่อน บางรายร่างกายอ่อนแอและทำให้จิตใจอ่อนแอไปด้วย คนที่รู้จักกินอาหารดีมีประโยชน์ร่างกายย่อมมีความสมบูรณ์แข็งแรง
  5. ประสบการณ์และการเรียนรู้ของแต่ละคน ประสบการณ์ กับการเรียนรู้ทั้งสองอย่างนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แยกออกจากกันมิได้ ประสบการณ์เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และในเวลาเดียวกันนั้นผลจากการเรียนรู้ทำให้คนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ แต่ต้องอาศัยการจัดประสบการณ์ที่ดีพอจึงจะทำให้คนได้เรียนรู้เป็นผลสำเร็จ แต่ทุกคนไม่ได้รับประสบการณ์ที่เท่าเทียมกัน สิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน จึงมีโอกาสได้เรียนรู้ต่างกัน ฉะนั้นคนเราจึงมีความแตกต่างกัน
  6. สภาพทางภูมิศาสตร์ ดินฟ้าอากาศของแต่ละท้องถิ่น ทำให้คนเติบโตและมีอุปนิสัยใจคอการดำเนินชีวิตต่างกัน เช่น คนที่อยู่ในเขตร้อนเหนื่อยง่าย คนในเขตหนาวต้องขยันหมั่นเพียร อดทน คนที่อยู่ในท้องถิ่นที่กันดาร สภาพภูมิศาสตร์เลวร้ายจนเกินความสามารถจะเอาชนะได้มักจะทำให้คนหมดอาลัยเกิดความหดหู่เบื่อหน่าย เกิดความท้อถอยไม่สู้ ถ้าสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยความสมบูรณ์ให้อย่างเต็มที่ ก็มักจะทำให้คนสบายเกินไป ไม่กระตือรือร้น - คิดอ่านสร้างสรรค์สิ่งบำบัดความต้องการนอกเหนือจากที่ธรรมชาติจัดสรรไว้ให้แล้ว อิทธิพลที่ทำให้ท้องถิ่นมี ความกระตือรือร้นมีความคิดสร้างสรรค์ท้าทายใช้สติปัญญาคอสภาพภูมิศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์หรือแห้งแล้งจนเกินไป
  7. ระบบของสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ประเพณีของแต่ละท้องถิ่น นาฏศิลป์ประจำชาติ มารยาทในสังคม อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย การใช้ภาษา ฯลฯ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต แนวความคิดและอุดมคติ ทำให้พฤติกรรมของแต่ละสังคมแตกต่างกัน
  8. อุบัติเหตุ ทำให้สมองหรือร่างกาย ได้รับความกระทบกระเทือนกลายเป็นคนปัญญาอ่อน พิการ
  9. สื่อมวลชน ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ ฯลฯ มีอิทธิพลต่อเจตคติความสนใจ ความคิด ศีลธรรม ค่านิยม ประสบการณ์ นิสัยใจคอ จริต-กริยา มารยาท ฯลฯ ทำให้เกิดบุคลิกภาพและพฤติกรรมแตกต่างกัน

ลักษณะของจิตมนุษย์
ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic human Needs)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
สาเหตุทำให้บุคคลไม่กล้าแสดงออก
สาเหตุที่ทำให้บุคคลแสดงออกแบบก้าวร้าว
ชนิดของการแสดงออกที่เหมาะสม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย