ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์

จิตวิทยาพัฒนาการ

จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น

จิตวิทยาพื้นฐาน

ลักษณะของจิตมนุษย์

จิตใจ เป็นคำที่มีความหมายหลายๆด้านตามแนวคิดของกลุ่มนักจิตวิทยาต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงจิตใจตามวิเคราะห์ ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่าจิตของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ระดับ (Three Leveis of Consciousness) เปรียบเทียบเสมือนก้อนน้ำแข็งลอยอยู่ในทะเล คือ

  1. จิตสำนึก (Conscious) คือสภาวะที่มีสติ รู้ตัว รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่หรือกำลังจะทำอะไรรู้จักตัวเองว่าเป็นใคร ต้องการอะไร ทำอะไรอยู่ที่ไหน กำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด การแสดงอะไรออกไปที่แสดงไปตามหลักเหตุผลเปรียบได้กับส่วนของก้อนน้ำแข็งที่โผล่ผิวน้ำขึ้นมามีจำนวนน้อยมาก
  2. จิตใต้สำนึก (Subconscious ) หรือ จิตก่อนสำนึก (Preconscious) คือสภาพที่ไม่รู้ตัวในบางขณะ เช่น กระดิกเท้า ผิวปาก ฮัมเพลงโดยไม่รู้ตัว ยิ้มคนเดียวโดยไม่รู้ตัว พูดอะไรออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ และประสบการณ์ต่างๆที่เก็บไว้ในรูปของความทรงจำ เช่น ความประทับใจในอดีต ถ้าไม่นึกถึงก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าทบทวนเหตุการณ์ทีไรก็ทำให้เกิดปลื้มใจทุกที เปรียบได้กับส่วนของก้อนน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ
  3. จิตไร้สำนึก (unconscious) เป็นส่วนของจิตที่ใหญ่ที่สุด และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และเป็นส่วนที่ไม่รู้สึกตัวเลย อาจมาจากเจ้าตัวพยายามเก็บกดเอาไว้ เช่น เกลียดครู หรือพยายามที่จะลืม แล้วในที่สุดก็ลืมๆไป ดูเหมือนไปจริงๆ แต่ที่จริงไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่ในตัวลักษณะจิตไร้สำนึก และจะแสดงออกมาในรูปความฝัน การละเมอ เปรียบได้ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ

นอกจากนี้ ฟรอยด์ ได้ศึกษาองค์ประกอบของจิต พบว่า โครงสร้างของจิตประกอบด้วย(The Components of Mind) ไว้ 3 ส่วนคือ

1. อิด (ID) หมายถึง ตัณหา หรือ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ยังไม่ขัดเกลา ซึ่งทำให้มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อความพึงพอใจ หรือทำงานตามความพึงพอใจ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด เปรียบเสมือนสันดานดิบของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิต (LIEF INSTINCT) เป็นความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการหลีกหนีจากอันตราย และสัญชาตญาณแห่งการตาย (DEATH INSTINCT) เช่น ความต้องการก้าวร้าว หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เป็นต้น

2. อีโก้ (EGO) หมายถึง ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ ID โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางสังคม และหลักแห่งความเจริญมาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออกมาความพึงพอใจของตนเองเพียงอย่างเดียวแต่ต้องคิดและแสดงออกอย่างมีเหตุผล

3. ซุปเปอร์อีโก้ (SUPEREGO) หมายถึง มโนธรรมหรือจิต ส่วนที่ได้รับการพัฒนามาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน หรือ กระบวนการทางสังคมประกิต โดยอาศัยหลักของศีลธรรม จรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่างๆในสังคมนั้น SUPEREGO จะเป็นตัวบังคับและควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

โครงสร้างจิตนี้ จะมีความสัมพันธ์กัน ถ้าทำงานสัมพันธ์กันดีการแสดงออกหรือบุคลิกภาพก็เหมาะสมกับตน แต่ถ้าโครงสร้างทั้ง 3 ระบบ ทำหน้าที่ขัดแย้งกัน บุคคลก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์
คนโดยทั่วๆไป ถ้ามองหยาบๆจะมีอวัยวะครบถ้วนเหมือนกัน มีปฏิกิริยาตอบสนองธรรมชาติเหมือนๆกัน แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งจริงๆ จะเห็นว่าคนแต่ละคนมีความแตกต่างกันไม่มากก็น้อย ดังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้นำที่ดีในการที่ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลก่อน
ความแตกต่างระหว่างบุคคล

เพื่อเข้าใจธรรมชาติของคน เราสามารถแบ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ

1. ทางกาย (Physical) เช่น หน้าตา ท่าทาง โครงกระดูก ผิว ผม ลักษณะของกล้ามเนื้อ อ้วน ผอม แข็งแรง ฯลฯ ซึ่งความแตกต่างกันทางกายภาพนี้ หมายถึงรูปร่างที่เห็นได้จากภายนอกนั่นเอง ความแตกต่างทางกายภาพนี้อาจมีอิทธิพลไปสู่ความแตกต่างด้านอื่นๆอีก เช่น ร่างกาย อ้วนมากๆ หรือผอมมากๆ ย่อมไม่คล่องตัวกระฉับกระเฉงเหมือนคนแข็งแรง ไปไหนมาไหนคนมักจะชอบล้อเลียน ชอบกระเซ้าทำให้เกิดปมด้อยในการเข้าสังคม แม้ด้านอารมณ์ (Emotion) ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือต้องปรับปรุง ซึ่งผิดไปจากบุคคลธรรมดา เป็นต้น นอกจากนี้ ความแตกต่างทางกายยังรวมถึงความสามารถอันเกิดจากการกระทำหรือการแสดงออกของร่างกายด้วย เช่น คนหนุ่มคนสาวย่อมแสดงออกเชิงพลังได้ดีกว่าคนสูงอายุหรือเด็ก คนวัยเดียวกัน ถ้าร่างกายได้รับการฝึกฝนดีก็ย่อมจะดีกว่าคนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนหรือฝึกฝนน้อย เป็นต้น

2. ทางอารมณ์ (Emotion) หมายถึง การแสดงออกทางอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ อิจฉา ลำเอียง ก้าวร้าว ขบขัน ฯลฯ ซึ่งการแสดงออกทางอารมณ์นี้ย่อมมีความมากน้อยไม่เท่ากัน และแสดงออกมาไม่เหมือนกันการควบคุมทางอารมณ์ก็เช่นเดียวกัน คนเรามีความแตกต่างกัน บางคนสามารถควบคุมได้ดีแต่บางคนไม่สามารถควบคุมได้ ปล่อยให้เป็นไปตามอารมณ์ที่เกิด อารมณ์นี้จะได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมา

3. ทางสติปัญญา (Intelligence) หมายถึง เรื่องของความคิดหรือความแตกต่างกันในการแก้ปัญหา คนปัญญาดี หรือเรียกว่า IQ สูง (ตั้งแต่ 100 ขึ้นไป) จะคิดได้หลายแง่หลายมุม ละเอียดอ่อน แก้ปัญหาได้มากกว่าทั้งชีวิตประจำวันและครอบครัว แต่คนปัญญาด้อย หรือเรียกว่า IQ ต่ำ (ตั้งแต่ 90 ลงไป) จะคิดได้น้อยลงอยู่ในกรอบความคิดที่ไม่กว้างนัก ยึดมั่นในสิ่งแคบๆ ถ้าเข้าเรียนหนังสือก็อาจจะไม่จบหรือออกกลางคัน การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจะประสบความสำเร็จได้ยากกว่า

4. ทางสังคม (Social) หมายถึง ความสามารถที่แสดงออกในหมู่คนหรือระหว่างคนซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าแม้จะมีสติปัญญาพอๆกัน แต่ความสามารถในการเข้าสังคมย่อมมีได้ไม่เหมือนกัน คนที่เข้าสังคมได้ดีกว่าเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน ทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนฝูงระดับเดียวกันหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ย่อมนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าได้ดีกว่าคนที่เข้าสังคมได้ไม่ดี หรือมีอุปสรรคในการำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด ลักษณะของจิตมนุษย์
ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic human Needs)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
สาเหตุทำให้บุคคลไม่กล้าแสดงออก
สาเหตุที่ทำให้บุคคลแสดงออกแบบก้าวร้าว
ชนิดของการแสดงออกที่เหมาะสม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย