ปรัชญา
อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัว
คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวในวัยผู้สูงอายุมีดังนี้1.
การปฏิบัติตนในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุต้องรับประทานอาหารและออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพของร่างกายและภาวะของโรคประจำตัว
การพบแพทย์ตามกำหนดนัด การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
มีการพักผ่อนเพื่อช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง สดชื่น รักษาสุขภาพจิต
ปล่อยวางเรื่องที่ตนเองไม่สามารถควบคุมได้ มีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของบุตรหลาน
ทำใจกับการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ทำงานอดิเรกที่ตนรัก เช่น การดูแลต้นไม้
การเล่นดนตรี การวาดภาพระบายสี การทำขนม เป็นต้น (ประดิษฐ์ ตันสุรัต, 2539)
มีการเตรียมพร้อมในเรื่องที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
และการเตรียมรับกับความตายที่จะเกิดขึ้น
2. การปฏิบัติของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ
สมาชิกในครอบครัวควรให้การดูแลเอาใจใส่ทั้งในขณะมีภาวะสุขภาพปกติและในยามเจ็บป่วย
มีทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ จากการศึกษาของวิภาวรรณ ชะอุ่ม (2536)
เรื่องภาระในการดูแลของญาติผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา พบว่า
ถึงแม้ผู้ดูแลจะประเมินว่ามีภาระในการที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการประกอบกิจวัตรประจำวัน
แต่ด้วยสังคมและประเพณีไทยให้ความสำคัญต่อการที่บุตรหลานจะต้องมีหน้าที่
รับผิดชอบดูแลบิดา มารดา ในวัยสูงอายุ
จึงทำให้ผู้ดูแลมีความเต็มใจที่จะให้การดูแลและให้การดูแลอย่างดีเนื่องจากมีความเชื่อว่าจะได้บุญกุศลอย่างมากเมื่อยามตนเป็นผู้สูงอายุตนเองก็จะได้รับการดูแลอย่างดีจากบุตรหลานเช่นกัน
3. บทบาทของสังคมและชุมชนต่อผู้สูงอายุ
สังคมและชุมชนควรมีบทบาทในการสนับสนุนช่วยเหลือผู้สูงอายุ เช่น
โรงพยาบาลควรมีช่องทางด่วนสำหรับผู้สูงอายุ
เพื่อลดความลำบากในการมาโรงพยาบาลของผู้สูงอายุและบุตรหลานที่นำผู้สุงอายุมารับการรักษา
ชมรมผู้สูงอายุควรดำเนินการได้ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ
และการฟื้นฟูสภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจเมื่อผู้สูงอายุถูกจำหน่ายจากโรงพยาบาลภายหลังการรักษา
เป็นต้น
วัยชราหรือผู้สูงอายุเป็นวัยสุดท้ายของช่วงชีวิต
ระยะเวลาอันยาวนานของชีวิตที่ผ่านมาจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น
การดูแลสุขภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอจะทำให้บุคคลเข้าสู่วัยสูงอายุและอยู่ในวัยนี้ได้อย่างมีความสุข
เกิดปัญหาสุขภาพกายล่าช้าออกไป และการดูแลรักษาสุขภาพจิตที่ดี
มีการเตรียมพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
จะทำให้บุคคลมีจิตใจเข้มแข็ง มีสติอยู่เสมอ
ประกอบกับสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุควรมีความเข้าใจ มีความรัก
ให้การดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ
สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีความสุขในบั้นปลายของชีวิตและสามารถเตรียมตัวจากโลกนี้ไปอย่างสงบ
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
พัฒนาการทางอารมณ์
พัฒนาการทางความคิดสติปัญญา
พัฒนาการทางสังคม
จิตวิทยาพัฒนาการวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (Early adulthood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยกลางคน
การเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ
จิตวิทยาพัฒนาการวัยสูงอายุ
คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัว