ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์

จิตวิทยาพัฒนาการ

จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น

จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)

การเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ

เมื่อเข้าสู่ในระยะปลายของวัยกลางคน ใกล้เกษียณอายุการทำงาน บุคคลจะเริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ในบางคนแม้อายุตามปีปฏิทินจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว แต่ด้วยการดูแลร่างกายที่ดีมาตั้งแต่ในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น และวัยกลางคน จะทำให้การเปลี่ยนแปลงด้านความเสื่อมของร่างกายปรากฏให้เห็นน้อยมาก หรือล่าช้าออกไปอีกหลายปี ด้านจิตใจก็เช่นกัน บางคนยังดูกระฉับกระเฉง สดชื่นอยู่เสมอ ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมตัวทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพต่อไป

การเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ ควรปฏิบัติตนดังนี้ 1. สุขภาพกาย
การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับภาวะสุขภาพ และเหมาะสมกับภาวะการมีโรคประจำตัว เช่น โยคะ การวิ่งเหยาะ ฯลฯ การออกกำลังกายเป็นประจำอยู่เสมอจะทำให้กล้ามเนื้อมีการทำงานยืดหยุ่นตัวอยู่เสมอ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ถ้าไม่ได้ออกกำลังกายทำให้กล้ามเนื้อลีบ เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การพักผ่อน การพักผ่อนอย่างเต็มที่และมีคุณภาพคือ การนอนหลับอย่างเพียงพอ เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เฝ้าระวังปัญหาสุขภาพหรือเอาใจใส่สังเกตอาการผิดปกติของโรคประจำตัวปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

2. สุขภาพจิต
มีความเข้าใจและมีการเตรียมจิตใจเพื่อยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในชีวิต มีการเตรียมเรื่องการเงิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เรื่องที่อยู่อาศัย และการใช้ชีวิตต่อไปในวัยผู้สูงอายุ รู้จักการทำจิตใจให้เป็นสุข ปล่อยวางในเรื่องที่ตนเองไม่สามารถจัดการได้อีกต่อไป เช่น การดำเนินชีวิตของบุตรหลาน เข้าร่วมกิจกรรมของการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุต่าง ๆ เช่น เข้าฟังบรรยายพิเศษเรื่อง การเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณอายุ เข้าร่วมโครงการวัยทอง เป็นต้น

คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวในวัยผู้ใหญ่

คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวในวัยผู้ใหญ่ มีดังนี้

  1. การปฏิบัติตนในวัยผู้ใหญ่ บุคคลในวัยผู้ใหญ่ควรมีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง มีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของบทบาท สามารถปรับตัวได้กับบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป หรือกับบทบาทที่เพิ่มขึ้น เช่น ปรับตัวให้เหมาะสมกับการประกอบอาชีพ ปรับตัวกับชีวิตโสด ปรับตัวกับบทบาทของการเป็นคู่สมรส ให้การดูแลคู่สมรสของตน มีวิธีการในการป้องกันการเกิดภาวะวิกฤติในชีวิตคู่ เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของคู่สมรสในการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยเปลี่ยนชีวิตในระยะวัยกลางคน ปรับตัวกับบทบาทของการเป็นบิดามารดา เข้าใจการดำเนินชีวิตของบุตรวัยรุ่น ทำหน้าที่เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำที่ดี เป็นผู้สนับสนุนและช่วยเหลือเมื่อบุตรมีปัญหา และมีการเตรียมพร้อมทั้งทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุต่อไป
  2. สังคมและชุมชน เช่น โรงพยาบาลควรมีการบรรยายพิเศษและจัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมการดูแลตนเองในด้านสุขภาพกายและจิตของบุคคลในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและวัยกลางคนรวมทั้งการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ โดยจัดในวันหยุดราชการ หรือการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตสมรส ปัญหาการเลี้ยงดูบุตรวัยรุ่น ปัญหาก่อนการหย่าร้างและการปรับตัวในการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เป็นต้น

สรุป
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นร่างกายมีความสามารถสูงสุด มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น กลุ่มเพื่อนลดน้อยลง มีการปรับเปลี่ยนบทบาทมากมาย ปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยนี้ที่สำคัญคือ ความผิดหวังในความรัก การไม่สามารถปรับตัวกับบทบาทใหม่ ในวัยกลางคน ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลง เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ โดยเฉพาะในเพศหญิงการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมาได้ ในวัยนี้ส่วนใหญ่บุคคลจะมีบุคลิกภาพและอารมณ์มั่นคง มีความพึงพอใจกับชีวิตที่ผ่านมา และควรได้มีการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุต่อไป
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
พัฒนาการทางอารมณ์
พัฒนาการทางความคิดสติปัญญา
พัฒนาการทางสังคม
จิตวิทยาพัฒนาการวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (Early adulthood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยกลางคน
การเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ
จิตวิทยาพัฒนาการวัยสูงอายุ
คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย