ปรัชญา
อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
Secondary Sex Characteristic (ลักษณะทางเพศหรือลักษณะทุติยภูมิทางเพศ) คือลักษณะที่แบ่งแยกความเป็นชายหนุ่ม ความเป็นหญิงสาวที่เพิ่งเริ่มเจริญเติบโตเต็มที่ในวัยแรกรุ่น การเจริญเติบโตของลักษณะทางเพศมีพัฒนาการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2538)
- Prepubescence เป็นระยะลักษณะทางเพศส่วนต่าง ๆ เริ่มพัฒนา เช่น สะโพกเริ่มขยาย เต้านมของเด็กหญิงเริ่มเจริญ เสียงของเด็กชายเริ่มแตกพร่า แต่อวัยวะสืบพันธุ์ (Productive organs) ยังไม่เริ่มทำหน้าที่
- Pubescence เป็นระยะที่ลักษณะทางเพศส่วนต่าง ๆ ยังคงมีการเจริญต่อไป อวัยวะสืบพันธุ์เริ่มทำหน้าที่แต่ยังไม่สมบูรณ์ เด็กหญิงเริ่มมีประจำเดือน เด็กชายเริ่มสามารถผลิตเซลล์สืบพันธุ์ได้
- Post-pubescence หรือ Puberty เป็นระยะที่ลักษณะทางเพศทุกส่วนเจริญเติบโตเต็มที่ อวัยวะสืบพันธุ์ทำหน้าที่ได้ มีวุฒิภาวะทางเพศสามารถมีบุตรได้ จึงถือเป็นระยะที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นที่แท้จริง
การเริ่มเข้าสู่ระยะต่าง ๆ ข้างต้น อายุของเด็กแต่ละคนจะไม่เท่ากัน
ในบางคนอาจเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นในระยะ Puberty ค่อนข้างเร็ว
ในบางคนมีพัฒนาการค่อนข้างช้าได้
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีผลมาจากการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในวัยรุ่นคือ
- Growth hormone หรือ Somatotrophic hormone มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของ ร่างกาย
- Gonadotrophic hormone ประกอบด้วยฮอร์โมนสำคัญ 2 ชนิด
Follical stimulating hormone หน้าที่
- ในเพศหญิง กระตุ้นการเติบโตของ Follical ในรังไข่ เมื่อ Follical เจริญเติบโตมากก็จะสร้าง Estrogen และกระตุ้นให้เกิดการตกไข่
- ในเพศชาย กระตุ้นการสร้างตัวอสุจิ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของหลอดอสุจิ (Seminiferous tube)
-Lutinizing hormone หน้าที่
- ในเพศหญิง กระตุ้นให้เกิดการตกไข่และสร้าง Copus luteum ในรังไข่ และกระตุ้นให้ Copus luteum สร้างและหลั่ง Estrogen และ Progesterone
- ในเพศชาย กระตุ้นให้ตัวอสุจิเติบโตเต็มที่และกระตุ้น interstitial cells ในอัณฑะให้สร้างและหลั่ง Testosterone - Testosterone ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศชาย
- Estrogen ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศหญิง
- Progesterone ทำหน้าที่ร่วมกับ Estrogen เพื่อช่วยสร้างเนื้อเยื่อชั้นในของมดลูกให้หนาขึ้นสำหรับเตรียมรับไข่ที่ถูกผสมมาฝังตัวรวมทั้งกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมขยายตัว ถ้าไข่ไม่ผสม Copus luteum จะสลายตัวพร้อมกับหยุดสร้าง Progesterone ทำให้มีประจำเดือน
ปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของวัยรุ่น มี 2 ประการดังนี้
- การเติบโตทางกายไม่สมวัย เช่น ตัวเล็กกว่าปกติ ตัวสูงใหญ่กว่าปกติ หรืออ้วนเกินไป
- ความผิดปกติทางพัฒนาการระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ วัยรุ่นที่มีพัฒนาการทางเพศช้า (delayed puberty) หรือมีพัฒนาการทางเพศเร็วก่อนวัย (precocious puberty) เช่น ภาวะ premature thelarche หรือ ภาวะ premature pubasche เป็นต้น
สรุปได้ว่าปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่สำคัญคือรูปร่างที่มีลักษณะไม่พึงประสงค์
เช่น รูปร่างอ้วนเกินไป ผอมเกินไป
มีพัฒนาการทางเพศไม่เป็นไปตามวัยหรือที่วัยรุ่นคิดว่าตัวเองไม่เหมือนเพื่อน
เด็กวัยรุ่นที่มีความคิดวิตกกังวลในเรื่องรูปร่างลักษณะอย่างมากนี้อาจนำไปสู่โรค
Anorexia Nervosa หรือ โรค Bulimia Nervosa ได้
ปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายนี้เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนมากเป็นพิเศษสำหรับเด็กวัยรุ่น
เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่เด็กกำลังแสวงหาความภาคภูมิใจในตนเอง ความชื่นชอบจากเพื่อน
จากสังคม จากเพศตรงข้าม
ปัญหาในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจของวัยรุ่นอย่างมาก
การช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีปัญหาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนี้
ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ควรให้ความเข้าใจ ให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจ
ช่วยส่งเสริมให้เด็กในวัยนี้มีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
แนะนำการดูแลสุขภาพอนามัยของร่างกาย ส่งเสริมให้เด็กมีกิจกรรมที่ตนถนัด เช่น
เล่นกีฬาเพื่อเบี่ยงเบนความวิตกกังวลเรื่องรูปร่างหน้าตา
ไม่วิพากษ์วิจารณ์ลักษณะด้อยของเด็กต่อหน้าบุคคลอื่น เป็นต้น
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
พัฒนาการทางอารมณ์
พัฒนาการทางความคิดสติปัญญา
พัฒนาการทางสังคม
จิตวิทยาพัฒนาการวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (Early adulthood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยกลางคน
การเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ
จิตวิทยาพัฒนาการวัยสูงอายุ
คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัว