ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์

จิตวิทยาพัฒนาการ

จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น

จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์

จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารก

 (Infancy and Babyhood)

วัยทารกแรกเกิดเป็นวัยตั้งแต่แรกคลอดจากครรภ์มารดาจนกระทั่งสองสัปดาห์หลังคลอด เป็นช่วงสำคัญและวิกฤตสำหรับทารก เนื่องจากเป็นช่วงของการปรับตัว คือทารกต้องปรับตัวอย่างมาก จากการที่ต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากภายในครรภ์มารดาสู่ภายนอกครรภ์มารดา ต้องปรับตัวทุกเรื่องทั้งด้านการปรับอุณหภูมิของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ได้รับความอบอุ่น การหายใจ การขับถ่าย การดูดกลืนและการย่อยอาหาร เป็นต้น

พัฒนาการวัยทารกแรกเกิด

พัฒนาการทางกาย
ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย 3,000 กรัม ลำตัวยาวประมาณ 45-50 เซนติเมตร น้ำหนักและความยาวของลำตัวทารกเพศชายจะมากกว่าทารกเพศหญิงเล็กน้อย ระยะนี้เป็นช่วงของการปรับตัว น้ำหนักของทารกจะลดลงเล็กน้อย แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อทารกเริ่มปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ สัดส่วนร่างกายของทารกยังไม่ดีนัก การเคลื่อนไหวจะมีลักษณะเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) เช่น การจาม การดูด หรือการหาวนอน เป็นต้น ระยะแรกทารกไม่อาจควบคุมกล้ามเนื้อได้ สายตาทำงานไม่ประสานกัน การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างไร้จุดหมาย ไม่สามารถจับจ้องสิ่งใดได้จนกว่าจะมีอายุ 7 วัน ต่อมน้ำตายังไม่ทำงานในระยะแรก เวลาทารกร้องไห้จึงยังไม่มีน้ำตาออกมา การได้ยินเสียงจะเกิดขึ้นก่อนการมองเห็นสีต่าง ๆ การลิ้มรส ทารกจะตอบสนองต่อรสหวานในทางบวก และตอบสนองรสเค็ม ขม เปรี้ยวในทางลบ ระยะเวลาส่วนใหญ่ของทารกจะใช้ในการนอนหลับถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ตื่นเพียง 1-2 ชั่วโมงต่อวัน สายสะดือที่ตัดไว้จะค่อย ๆ แห้งและหลุดออกไปเองภายใน 7-10 วัน

พัฒนาการทางอารมณ์
ระยะแรกคลอดทารกจะมีอารมณ์ตื่นเต้นเพียงอย่างเดียว จากนั้นจะมีพัฒนาการทางอารมณ์ดังนี้ (Hurlock, 1982 อ้างถึงในทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต, 2541, น. 38-39)

1. อารมณ์พอใจ แจ่มใส ดีใจ จะเกิดเมื่อทารกถูกสัมผัสตัวเบา ๆ เมื่อได้รับความอบอุ่นด้วยการกอดเมื่อได้ดูดนม หรือได้รับการเห่ไกว เป็นต้น
2. อารมณ์ไม่พอใจ จะเกิดขึ้นเมื่อทารกถูกจับไม่ให้เคลื่อนไหว ถูกเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว ไม่ได้รับการอุ้มชู ได้ยินเสียงดังทันที หรือเมื่อมีความเจ็บป่วย เป็นต้น

อารมณ์ทั้งสองลักษณะของทารกจะเกิดขึ้นสลับกันไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การเลี้ยงดูที่ได้รับ หากได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม จะช่วยให้ทารกมีความรู้สึกมั่นใจ อบอุ่น มีอารมณ์แจ่มใส และมองโลกในแง่ดีต่อไป

พัฒนาการทางสังคม

การสื่อสารของทารกวัยนี้คือการร้องไห้ ระดับเสียงและรูปแบบการร้องไห้จะบ่งบอกถึงความรู้สึกและความต้องการของทารก เช่นเสียงร้องไห้ที่ดัง และหยุดเป็นระยะ สม่ำเสมอ หรือร้องไห้จ้า หมายถึง หิวหรือไม่สุขสบาย ถ้ามีการขยับตัวขณะร้องไห้ หมายถึงร้องเพราะไม่สุขสบายจากการเปียกปัสสาวะ เสียงร้องไห้ที่แผดแหลมหมายถึงการไม่ได้รับการตอบสนอง เสียงร้องครวญครางสลับกับแผดแหลมหมายถึงความเจ็บปวด เช่น ปวดท้อง อ่อนเปลี้ย เป็นต้น (ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต, 2541, น. 39) ลักษณะที่สำคัญของทารกวัยนี้คือความไวต่อความรู้สึก ด้วยการกระตุ้นทางประสาทสัมผัส เช่น เมื่อได้รับสัมผัสทางร่างกาย หรือได้ยินเสียงทารกจะเงียบและฟังอย่างสนใจ ระยะนี้การให้การสัมผัสที่อบอุ่นอย่างเหมาะสมจะช่วยให้เด็กมีความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน มีความเข้าใจ เห็นใจ และเข้าร่วมกลุ่มกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น

พัฒนาการทางสติปัญญา

วัยนี้ทารกจะสามารถรับรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นได้ สามารถแยกลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันได้ ชอบฟังเสียงที่นุ่มนวล ไพเราะ เช่น เมื่อได้ยินเสียงเพลงหรือเสียงเห่กล่อม ทารกจะเงียบฟังและพักหลับได้ นอกจากนี้ทารกสามารถมองตามของเล่นที่มีสีสดใส เช่น สีแดง สีเหลือง สีเขียว ในระยะ 8 นิ้วที่อยู่กลางลานสายตาได้

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัว

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวของทารกช่วงนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลมาก โดยมีแนวทางการเลี้ยงดูดังนี้

  1. ผู้เลี้ยงดูควรมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มั่นคง ซึ่งจะส่งผลต่อปฏิกิริยาการเลี้ยงดูที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ สัมผัสของผู้เลี้ยงดูจะช่วยให้ทารกรับรู้ได้ถึงอารมณ์ ความอ่อนโยน และความรู้สึกปลอดภัย
  2. ผู้เลี้ยงดูควรตอบสนองความต้องการของทารกอย่างเหมาะสมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม คือ การให้ได้รับอาหารเมื่อทารกหิว ให้หลับนอน พักผ่อนในบรรยากาศที่บริสุทธิ์ ได้รับความสุขสบาย ได้รับฟังเสียงที่สุนทรี ได้รับความอบอุ่นจากการกอดรัด อุ้มชู หรือการพูดคุยจากผู้เลี้ยงดู
  3. ผู้เลี้ยงดูควรได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลทารกแรกเกิด เช่นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของทารก ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง รวมทั้งการเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสม โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูหรือพ่อแม่ที่มีบุตรคนแรก เพื่อให้คลายความรู้สึกกังวล มั่นใจต่อการเลี้ยงดู และสามารถปรับตัวกับบทบาทของการเป็นพ่อแม่ที่ดีได้

สรุป
ทารกแรกเกิดเป็นวัยแห่งการพึ่งพาผู้อื่นโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถช่วยเหลือหรือตอบสนองความต้องการของตนเองได้ในทุกเรื่อง ไม่สามารถสื่อสารได้โดยตรง จะกระทำด้วยการร้องไห้ หากวัยนี้ได้รับการตอบสนองความต้องการทุกด้านอย่างเหมาะสมจากผู้เลี้ยงดู จะช่วยให้ทารกเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นคง มั่นใจในความปลอดภัย และไว้วางใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว ส่งผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมในวัยต่อไป

ความหมายของพัฒนาการ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ (Basic Forces in Human Development)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์
โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
ทฤษฎี Psychosocial developmental stage ของอิริคสัน
ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิด (Cognitive Theories) ของเพียเจท์
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
จิตวิทยาพัฒนาการวัยก่อนคลอด (Prenatal Development)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารก (Infancy and Babyhood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารกตอนปลาย
จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนต้น (Early Childhood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนปลาย (Late Childhood)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 การแพทย์แผนโบราณ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและ นอกกำแพงเมือง

🍁 หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม
พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่านักปกครองที่ดีนั้นควรมีคุณธรรม 10 ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

🍁 สมถะวิปัสสนา
ตามแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ (เถรวาท) ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

🍁 พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ลำพังตนเองโดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะการดำรงชีวิตอยู่ของคนเราจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

🍁 พระสูตรของท่านเว่ยหลาง
สูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย

🍁 โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
แบบฉบับในการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อหยุดยั้งกระแสแห่งวัฒนธรรมตะวันตกและอนุรักษ์ความเป็นคนจีนดั้งเดิม

🍁 สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น

🍁 แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้

🍁 จักรวาล
“จักรวาล” และ “เอกภพ” เป็นคำๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Universe” ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวง

🍁 ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา

🍁 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
มิติทางวิชาการหลายมิติที่ซ้อนทับ เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง

🍁 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

🍁 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์

🍁 กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
ทำไมโลกซึ่งแต่เดิมเป็นลูกไฟดวงหนึ่ง ไม่ได้ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้มากมายเช่นนี้

🍁 โรคสัตว์สู่คน

🍁 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

🍁 โรคอารมณ์สองขั้ว

🍁 คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

🍁 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

🍁 ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

🍁 การจูงใจ

🍁 การแกว่งแขน รักษาโรค

🍁 ประวัติขนมไทย

🍁 กัญชา

🐍 โปรดระวังงูฉก

มนุษย์ไม่ได้หยุดการไล่ล่าเพราะไม่หิว
หรือผู้เบื่อหน่ายการคร่าชีวิต

แต่เรียนรู้ที่จะเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
สะสมอาหารและเลี้ยงสัตว์ไว้กินเอง

นั่นเพราะมนุษย์เข้าใจธรรมชาติ
และรู้จักตัวเองมากขึ้น

ต้องการความสุขสบายที่มากขึ้น
แม้พันปีล่วงไปก็ยังเหมือนเดิม

ที่เพิ่มเติมคือไม่รู้จักพอ.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
โดย : จอมยุทธ แห่งบ้านจอมยุทธ
ชีวิตมันไม่เคยเป็นไปอย่างที่เราคาดคิดไว้หรอก ไม่เคยสักครั้ง.. อย่างมากก็ได้แค่ใกล้เคียง มันเหมือนเป็นกฎของธรรมชาติซึ่งมักจะมีปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ออกมาสำแดงเดชอยู่เป็นระยะๆ และเป็นอยู่อย่างนั้น และเสมอๆ ไม่ขาดก็เกิน

🌿 แสนยานุภาพแห่งการรอคอย
เรื่องสั้นขนาดยาว นันทวิสาร :: เขียน
การรอคอยไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ไม่ว่าจะนานสักแค่ไหนก็ทำให้ทรมานใจได้ทุกครั้ง แม้จะสักแค่เพียงอึดใจเดียว

🌿 ปู่เย็น ณ สะพานลำใย แห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี
บั้นปลายชีวิตที่เลือกได้ของปูเย็น ก็คงเป็นไปอย่างที่แกลิขิตเอาไว้เอง ซึ่งอาจจะไม่ได้หมายถึงใต้สะพานลำใยแห่งนี้ หรือเรือคู่ชีพลำนั้นของแก หากแต่น่าจะเป็นบั้นปลายชีวิตที่ไม่ยอมเป็นภาระแก่ลูกหลาน

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆