ปรัชญา
อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยก่อนคลอด
(Prenatal Development)
วัยก่อนคลอดเริ่มตั้งแต่มีจุดกำเนิดของชีวิตเกิดขึ้นคือไซโกต (zygote)
ซึ่งเป็นเซลล์ที่ผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชายเรียกว่าสเปอร์ม (spermatozoa)
กับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงเรียกว่าไข่ (ovum)
และมีการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งคลอด ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 280 วัน
หรือ 40 สัปดาห์
การปฏิสนธิ (fertilization)
การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นได้
ต้องอาศัยองค์ประกอบดังนี้
- การมีวุฒิภาวะ (maturation) เป็นกระบวนการที่โครโมโซมมีการแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้น
จาก 1 เป็น 2 และแบ่งเซลล์ต่อไปอีกเรื่อย ๆ เซลล์ที่มีวุฒิภาวะจะประกอบด้วยโครโมโซม
23 คู่ การแบ่งเซลล์ของทั้งเพศหญิงและเพศชายเกิดขึ้นในระยะ puperty ในเพศชาย อสุจิ
1 ตัวจะแบ่งออกเป็น 4 เซลล์ และทั้ง 4
เซลล์ที่มีการแบ่งตัวและมีวุฒิภาวะจะสามารถผสมกับไข่ได้ทุกตัว
ส่วนในเพศหญิงจะมีการแบ่งตัวของไข่เช่นเดียวกับอสุจิ คือ โครโมโซมจำนวน 1
คู่จะมีการแบ่งตัวเป็น 4 เซลล์ มีจำนวน 3 เซลล์ทำหน้าที่ช่วยในการแบ่งตัวต่อไป
มีเพียง 1 เซลล์เท่านั้นที่สามารถผสมกับอสุจิได้
หากไข่ไม่ได้รับการผสมก็จะถูกขับออกมาเป็นประจำเดือนของเพศหญิง
- กระบวนการตกไข่ (ovulation) เป็นช่วงเวลาหนึ่งของการมีประจำเดือน ในรังไข่ของเพศหญิงตั้งแต่แรกเกิดจะมีไข่ประมาณ 30,000 ใบ แต่จะมีไข่ประมาณ 400 ใบเท่านั้นที่มีวุฒิภาวะในระยะเวลาที่อวัยวะเพศเริ่มทำงาน ซึ่งเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 13 ปีจนกระทั่งประจำเดือนหมดซึ่งมีอายุประมาณ 40-50 ปี ระยะวัยรุ่น รังไข่ทำงานได้ดีที่สุดและช่วยสร้างฮอร์โมนให้เพศหญิง ทำให้เพศหญิงมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีประจำเดือน มีรูปร่างหน้าตาสวยขึ้น เป็นต้น
รังไข่ทั้ง 2 ข้างจะทำหน้าที่สลับกันตามวัฏจักรของการมีประจำเดือน
หลังจากที่รังไข่ได้ปล่อยให้ไข่ตกไปแล้ว
ไข่จะเดินทางเคลื่อนที่ไปตามความยาวของท่อนำไข่โดยเซลล์ที่เป็นขนยื่นออกมาจากท่อนำไข่
(cilia) ของเหลวที่มีฮอร์โมน estrogen จากถุงรังไข่
(ช่วยเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อมดลูกแข็งแรงหรือช่วยซ่อมผนังมดลูกหลังจากที่ประจำเดือนมาแล้ว)
น้ำเมือก (mucus) จากผนังท่อนำไข่
และด้วยการบีบตัวของผนังท่อนำไข่ปกติประจำเดือนของเพศหญิงจะเกิดขึ้นทุก 28 วัน
บางคนอาจเกิดขึ้นทุก 25-35 วัน และการตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 14
ของการมีประจำเดือน
องค์ประกอบทั้งสองอย่างจะช่วยให้การปฏิสนธิเกิดขึ้นได้ดังนี้
การปฏิสนธิ (fertilization)
เกิดจากการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย (sperm) และเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง
(ovum) ขณะที่มีเพศสัมพันธ์ (sexual intercourse)
โดยที่เซลล์สืบพันธุ์ของเพศชายซึ่งมีประมาณ 350
ล้านตัวจะผ่านเข้าทางช่องคลอดของเพศหญิง
แต่จะมีเพียงเซลล์เดียวเท่านั้นที่แข็งแรงที่สุดที่สามารถเข้าไปผสมกับไข่ของเพศหญิงที่สุกพอดีซึ่งกำลังเคลื่อนที่อยู่ในท่อนำไข่
กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายใน 12-36 ชั่วโมง
และมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ไข่ตกเข้าสู่ท่อนำไข่ภายใน 24 ชั่วโมง
หลังจากที่อสุจิสามารถผสมกับไข่ที่ท่อนำไข่ (fallopain tube) แล้ว
ผิวนอกของไข่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิตัวอื่นเข้าไปผสมได้อีก
ไข่ที่ถูกผสมแล้วจะประกอบด้วย 46 โครโมโซม
ซึ่งจะมีการแตกกระจายออกไปและเริ่มแบ่งตัวหนาแน่น ระยะนี้เรียกว่า Morula
มีลักษณะคล้ายน้อยหน่า ส่วนด้านนอกเรียกว่า Trophoblast
ซึ่งจะพัฒนากลายเป็นสิ่งห่อหุ้มและป้องกันตัวอ่อน ส่วนชั้นในเรียกว่า Inner cell
ไข่ที่ผสมแล้วไม่นานจะกลายเป็น zygote มีขนาด 1/50 นิ้ว มีการแบ่งเซลล์ไปเรื่อย ๆ
และจะเข้าไปฝังตัวที่ผนังมดลูก ใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน บางราย 7 วัน
จากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น embryo และตัวอ่อน (fetus) ต่อไป
พัฒนาการวัยก่อนคลอด
พัฒนาการในระหว่างการตั้งครรภ์แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ (ทิพย์ภา
เชษฐ์เชาวลิต, 2541, น. 26-30 ; สุชา จันทน์เอม, 2540, น. 50-57)
1. ระยะไซโกตหรือระยะที่ไข่ผสมแล้ว (period of the zygote or ovum)
นับเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิจนถึงสัปดาห์ที่ 2
หลังจากที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น จะได้ไซโกตซึ่งเป็นเซลล์ผสม
มีลักษณะเป็นก้อนกลม ไซโกตจะค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปตามท่อนำไข่ไปฝังตัวที่ผนังมดลูก
การเคลื่อนที่ดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ระหว่างการเคลื่อนที่
ไซโกตจะมีการแบ่งตัวแบบไมโตซิส (mitosis) ตลอดเวลาในช่วง 2-3 วันแรก
คือจะแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 ไปเรื่อย ๆ 4-5
วันต่อมาจะมีการแบ่งตัวแบบไมโอซิส (meiosis)
ทำให้มีเซลล์ต่างชนิดเกิดขึ้นจนกระทั่งมาถึงมดลูก ในขณะที่ไซโกตกำลังเคลื่อนที่มา
มดลูกก็มีการเตรียมพร้อมที่จะรับไซโกตไว้เช่นกันโดยมีการเพิ่มจำนวนเม็ดเลือด
ปรับผนังของมดลูกให้หนานุ่มขึ้นเพื่อเป็นแหล่งอาหารและปรับให้เหมาะกับการฝังตัวของไซโกต
นอกจากนั้นยังมีการหลั่งฮอร์โมนเอสโทรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ผลิตจากรังไข่ไปบังคับให้มดลูกซึ่งปกติมีการหดตัวเป็นจังหวะให้หยุดหดตัว
เพื่อช่วยให้ไซโกตสามารถฝังตัวเกาะติดกับผนังมดลูกและเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
เมื่อไซโกตเคลื่อนที่มาถึงมดลูก น้ำในโพรงมดลูกจะซึมผ่านผนังของ ไซโกตเข้ามา
ทำให้ไซโกตมีการแยกตัวออกเป็นสองส่วน คือเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นใน
เมื่อไซโกตเคลื่อนที่มาถึง ผนังมดลูกก็จะสลายผนังของตัวเอง
แล้วไซโกตก็จะฝังตัวที่ผนังมดลูก (implantation)
เรียกเซลล์ผสมในระยะนี้ว่าบลาสโตซีส (blastocyst) ปกติการฝังตัวจะเกิดขึ้นภายใน 10
วันนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ การเตรียมพร้อมของมดลูกจะเป็นอยู่ทุกเดือน หากภายใน 13
วันหลังไข่สุกไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น
ผนังมดลูกจะลอกตัวและถูกขับออกจากร่างกายเป็นประจำเดือน
2. ระยะตัวอ่อน (the embryo) เริ่มตั้งแต่ zygote
เคลื่อนตัวมาเกาะที่ผนังมดลูก (implantation)ประมาณสัปดาห์ที่ 2
จนกระทั่งถึงสัปดาห์ที่ 8
หลังจากไซโกตฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว ก็จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไป
โดยมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีสตลอดเวลา ทำให้เซลล์ในบลาสโตซีสเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
กลุ่มของเซลล์ที่สร้างขึ้นจะกระจายเป็นแผ่น (embryonic plate) ประมาณ 95%
ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเริ่มมีการแบ่งแยกในระยะนี้
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยเนื้อเยื่อชั้นนอกจะพัฒนาเป็นเยื่อหุ้มรกด้านแม่
(chorion) เยื่อหุ้มรกด้านลูก (amnion) รก (placenta) และสายสะดือ (umbilical cord)
ส่วนเนื้อเยื่อชั้นในจะพัฒนาเป็นตัวอ่อน (embryo) ภายในเยื่อหุ้มรกด้านลูกจะมีน้ำใส
ๆ เรียกว่าน้ำคร่ำ (amniotic fluid) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปเรื่อย ๆ
จนถึงระยะเวลาคลอดซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
สัปดาห์ที่ 2 เซลล์ของตัวอ่อนจะแบ่งตัวออกเป็น 2 ชั้นคือชั้น ectoderm
และชั้น endoderm ตัวอ่อนระยะนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม.
สัปดาห์ที่ 3-4 เซลล์ของตัวอ่อนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)
ตัวอ่อนเริ่มเป็นรูปร่างยาวประมาณ 1/5 นิ้ว และมีขนาดเป็น 40,000
เท่าของขนาดไข่ที่มีการปฏิสนธิ อวัยวะแรกที่สร้างคือระบบประสาทส่วนกลาง
ต่อมาจะมีการสร้างสมอง หัวใจ ศีรษะ ใบหน้า หู จมูก ตา แขน ขา
จำนวนปล้องของลำตัวจะพัฒนาเป็นตับ หัวใจซึ่งมีร่องแบ่งกั้นชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีส่วนของกระบังลม และช่องท้อง
สัปดาห์ที่ 5-8 ตัวอ่อนจะยาวประมาณ 1-2 นิ้ว น้ำหนัก 2.25 กรัม
เริ่มมีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ เริ่มพัฒนาขึ้น
รูปร่างภายนอกเริ่มปรากฏชัดขึ้น ช่วงปลายสัปดาห์ที่ 8
ระบบทางเพศมีการพัฒนามากขึ้นแต่ยังไม่สามารถแยกเพศทารกได้ชัดเจน
ระยะนี้ถือเป็นระยะสำคัญที่สุดของทารกในครรภ์
ตัวอ่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและชัดเจน
อวัยวะและระบบการทำงานในร่างกายจะพัฒนาขึ้น เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ
ระบบทางเดินอาหาร และอวัยวะต่าง ๆ
สุขภาพของมารดาขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดในระยะนี้
ทั้งในเรื่องของการฝากครรภ์ การดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ สภาพจิตใจ อารมณ์ของมารดา
โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สารพิษ ยา
หรืออาหารที่มารดารับประทานจะส่งผลต่อพัฒนาการของทารกหรืออาจทำให้ทารกที่จะเกิดมาพิการได้
ระยะนี้จึงถือเป็นระยะวิกฤต หากเด็กไม่สามารถปรับตัวมีชีวิตอยู่ในครรภ์ได้
ก็จะถูกขับออกมาหรือที่เรียกว่า เกิดการแท้ง
3. ระยะชีวิตใหม่หรือระยะที่เป็นตัวเด็ก (fetus period)
เริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8 จนกระทั่งคลอด ระยะนี้เป็นระยะที่เปลี่ยนจากตัวอ่อน
(embryo) มาเป็นทารก (fetus) มารดาจะรู้สึกว่ามีทารกอยู่ในครรภ์
โดยจะเริ่มรู้สึกว่าทารกมีการเคลื่อนไหวในสัปดาห์ที่ 16
เป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุด สัดส่วนโครงสร้างของร่างกาย อวัยวะและระบบต่าง ๆ
ของร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การเจริญเติบโตจะเป็นไปอย่างรวดเร็วประมาณ 20
เท่าของตอนเป็นตัวอ่อน เริ่มมีการสร้างขน ผม เล็บ และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
กระดูกจะแข็งแรงขึ้น
ช่วงนี้มารดาต้องบำรุงร่างกายด้วยการรับประทานแคลเซียมให้มากกว่าเดิม
เพราะทารกจะเอาแคลเซียมจากมารดามาสร้างกระดูกของตนเอง
การเคลื่อนไหวของลำไส้จะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสัปดาห์ที่ 38
จะมีความสมบูรณ์เต็มที่พร้อมจะออกจากครรภ์มารดา โดยสรุปพัฒนาการของระยะนี้คือ
เดือนที่ 3 ทารกมีน้ำหนักประมาณ 20-30 กรัม ยาวประมาณ 3 นิ้ว
อวัยวะทุกส่วนของร่างกายพัฒนาขึ้น สามารถหายใจกลืนน้ำคร่ำเข้าออกในปอดได้
เริ่มเห็นเพศชัดเจนว่าเพศชายหรือหญิง ระบบสืบพันธุ์จะสร้างไข่และสเปอร์ม
สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้มากขึ้น สามารถเคลื่อนไหว ขา เท้า
หัวแม่มือ ศีรษะ อ้าและหุบปากได้
เดือนที่ 4 ความยาวของทารกประมาณ 8-9 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 180 กรัม
ระยะนี้สายสะดือจะยาวขึ้น รกพัฒนาเต็มที่ ทารกสามารถดิ้นได้
มองเห็นอวัยวะเพศชัดขึ้น เริ่มดูดนิ้วและกำมือได้ สามารถดูดกลืนได้
กระดูกพัฒนามากขึ้น
เดือนที่ 5 น้ำหนักประมาณ 360 กรัมถึง 1 ปอนด์ ความยาวประมาณ 10-12 นิ้ว
เริ่มมีผมและเล็บเกิดขึ้น ผิวหนังมีไขมันปกคลุม หัวใจเต้นประมาณ 120-160
ครั้งต่อนาที ทารกจะมีการเคลื่อนไหวหรือพักตัวในท่าที่ชอบ
เดือนที่ 6
น้ำหนักประมาณ 600 กรัม ยาวประมาณ 14 นิ้ว ตาจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์
สามารถเปิดปิดตา และร้องไห้ได้ หายใจได้ตลอดเวลา ใต้ผิวหนังจะมีชั้นไขมันเกิดขึ้น
มีต่อมเหงื่อ ต่อมรับรส หากคลอดช่วงนี้ทารกจะสามารถหายใจได้
หากได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทารกอาจมีชีวิตรอด 1 ใน 10 คน
เดือนที่ 7 น้ำหนักประมาณ 3-5 ปอนด์ ยาวประมาณ 16 นิ้ว
พัฒนาการด้านปฏิกิริยาตอบสนองเป็นไปได้อย่างเต็มที่ ทารกสามารถร้องไห้ หายใจ
ดูดกลืนได้ ระบบประสาท ระบบไหลเวียน ระบบหายใจสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อวัยวะทุกส่วนพัฒนาเต็มที่
ทารกที่คลอดในระยะนี้หากได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอาจมีชีวิตอยู่รอดได้โดยการเลี้ยงในตู้จนกว่าทารกจะแข็งแรงพอที่จะออกมาอยู่ภายนอกได้
เดือนที่ 8 น้ำหนักประมาณ 5-7 ปอนด์
สามารถสังเกตการเคลื่อนไหวทารกได้จากภายนอก
มีการสร้างไขมันปกคลุมร่างกายเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิภายนอกได้
ทารกจะตอบสนองต่อเสียงและสิ่งแวดล้อมได้
เดือนที่ 9-10 น้ำหนักประมาณ 7 ปอนด์ ความยาวประมาณ 20 นิ้ว
เพศชายมักมีน้ำหนักและความยาวมากกว่าเพศหญิง เป็นระยะครบกำหนดคลอด
ทารกจะพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัว
การส่งเสริมสุขภาพจิตและการปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นอย่างยิ่งอันจะส่งผลต่อพัฒนาการและการปรับตัวของทารกในครรภ์
โดยมีแนวทางดังนี้
1. สุขภาพร่างกายของมารดา
- แนะนำเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
เพราะความเจ็บป่วยทางร่างกายบางโรคจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น โรคหัดเยอรมัน
(rubilla) หากมารดาป่วยในช่วง 12 สัปดาห์แรกที่ตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการ แท้ง
หรือตายได้ โรคซิฟิลิส (syphilis) อาจทำให้เกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด
หรืออาจทำให้พิการ เช่นหูหนวก ตาบอด หัวใจพิการ เป็นต้น
ดังนั้นการฝากครรภ์และรักษาในระยะแรกจะช่วยได้
คู่แต่งงานควรมีการตรวจร่างกายก่อนแต่งงานและหลังแต่งงาน เมื่อตั้งครรภ์อ่อน ๆ
ควรตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะทั้งของบิดาและมารดาเพื่อรักษาโรคไปพร้อมกัน
และควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
- ให้ความรู้ด้านโภชนาการของมารดา
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทางร่างกายของทารก
หากมารดาได้รับอาหารที่มีคุณค่าในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ทารกในครรภ์สามารถนำสารอาหารไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นอันตรายและสารเสพย์ติดต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น ยาแก้แพ้ มารดาที่มีอาการแพ้ท้อง 2-3 เดือนแรก มักจะใช้ยาแก้แพ้เพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งยาบางชนิดก็ควรจะต้องระวัง เช่น ธาลิโดไมด์ (thalidomide) ซึ่งจะทำลายเซลล์ ทำให้ทารกที่ออกมามีแขนขาลีบหรือด้วน และอาจทำให้ทารกมีศีรษะโตผิดปกติร่วมด้วย นอกจากนี้มารดาควรหลีกเลี่ยงสารเสพย์ติดทุกชนิดเช่น ฝิ่น กัญชา บุหรี่ เหล้า ชา กาแฟ ซึ่งอาจทำให้ทารกพิการหรือแท้งได้
2. ด้านจิตใจและอารมณ์ของมารดา
- กระตุ้นให้มารดาได้ระบายความรู้สึก ความคิด และความวิตกกังวลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมกับรับฟัง
- ส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการมีบุตร ทัศนคติที่ดีจะส่งผลต่อวุฒิภาวะทางอารมณ์ นำไปสู่การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์
- ส่งเสริมสุขภาพจิตของมารดาด้วยการให้มารดาพักผ่อน หรือทำในสิ่งที่ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น อ่านหนังสือที่ชอบ ดูภาพที่ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ฟังเพลง เป็นต้น
- ส่งเสริมให้บิดาและบุคคลในครอบครัวให้ความเอาใจใส่ดูแลมารดาขณะตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะบิดาควรให้เวลากับมารดาขณะตั้งครรภ์ให้มากขึ้นกว่าปกติ
3. ด้านสังคมของมารดา
- แนะนำให้มารดาขณะตั้งครรภ์พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น โดยเฉพาะกับผู้ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อน ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจ และคลายความวิตกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งบริการที่เป็นประโยชน์และสามารถให้ความช่วยเหลือได้ เช่น สถานพยาบาลใกล้เคียง สถานีอนามัย พยาบาลชุมชน นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
สรุป
วัยก่อนคลอด เป็นวัยที่เริ่มจากเซลล์ผสม (zygote)
ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย (spermatozoa) กับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง (ovum)
จนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นทารกที่มีอวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์เต็มที่
พร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอกได้ วัยก่อนคลอดถือเป็นวัยสำคัญมาก
เป็นพื้นฐานของการพัฒนาอวัยวะระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
การให้การดูแลทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์อย่างเหมาะสมด้วยการให้คำแนะนำแก่มารดาอย่างเหมาะสมในการปฏิบัติตัวด้านต่าง
ๆ เช่น การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ การทำจิตใจให้แจ่มใส การใช้ยาขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ความหมายของพัฒนาการ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ (Basic Forces in Human
Development)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์
โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
ทฤษฎี Psychosocial developmental stage ของอิริคสัน
ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิด (Cognitive Theories) ของเพียเจท์
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
จิตวิทยาพัฒนาการวัยก่อนคลอด (Prenatal Development)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารก (Infancy and Babyhood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารกตอนปลาย
จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนต้น (Early Childhood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนปลาย (Late Childhood)