ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์

จิตวิทยาพัฒนาการ

จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น

จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก

โคลเบอร์ก ได้ศึกษาจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของเพียเจท์ และพบความจริงว่า มนุษย์มีพัฒนาการทางจริยธรรมหลายขั้นตอน ทฤษฎีของโคลเบอร์กเป็นทฤษฎีที่มีประโยชน์ในการเข้าใจพัฒนาการทางจริยธรรมได้ลึกซึ้งที่สุดในปัจจุบัน โคลเบอร์กได้แบ่งจริยธรรมของบุคคลออกเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ คือ

  1. ระดับก่อนกฎเกณฑ์ (Preconventional Level) ระดับนี้ เด็กจะสนองตอบตามเกณฑ์ภายนอก ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับร่างกาย เช่น การลงโทษ การให้รางวัล หรือเปลี่ยนแปลงความพึงพอใจ เด็กจะดูผลที่ได้รับเป็นเกณฑ์ในการประเมินจริยธรรม ซึ่งอาจสรุปได้ว่าถ้าตนเองถูกลงโทษแสดงว่าการกระทำของตนเองไม่ดี และตนเองได้รับรางวัลแสดงว่าตนเองทำดี ซึ่งผู้มีอำนาจเหนือกว่าเป็นผู้กำหนดว่าสิ่งใดเลวสิ่งใดดี ส่วนมากเด็กมีอายุ 4-10 ปี แบ่งออกเป็น 2 ขั้นดังนี้

    ขั้นที่ 1 มุ่งไม่ให้ตนเองถูกลงโทษทางกาย เพราะกลัวความเจ็บปวดที่จะได้รับและยอมทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่ที่มีอำนาจเหนือตน โดยไม่เอาใจใส่ความหมายหรือคุณค่าใด ๆ
    ขั้นที่ 2 ยินยอมทำเพื่อให้ได้รางวัล หรือให้ได้รับสิ่งที่พอใจ ตลอดจนแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน แต่เด็กระดับนี้จะตีความเกี่ยวข้องทางร่างกายเท่านั้น มิใช่ค่านิยม ความกตัญญูหรือความยุติธรรม
  2. ระดับตามกฎเกณฑ์ (Conventional Level) ระดับนี้ คนเราจะยอมรับความมุ่งหวังกฎเกณฑ์ทางครอบครัว กลุ่ม และประเทศชาติว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีความถูกต้องและจะพยายามปฏิบัติให้เหมาะสมกับบทบาทของตนเองในกลุ่ม ในการกระทำความดีละเว้นความชั่ว บุคคลจะถูกควบคุมโดยกลุ่มสังคมจริยธรรมระดับนี้ จะเกิดกับบุคคลอายุ 11-16 ปี แบ่งเป็นขั้นต่อเนื่อง 2 ขั้น กับระดับก่อนดังนี้ คือ

    ขั้นที่ 3 เกณฑ์เด็กดี บุคคลยังไม่เป็นตัวของตัวเอง คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น เช่น การทำให้ผู้อื่นพอใจ การช่วยเหลือผู้อื่น และทำให้ผู้อื่นพอใจ ซึ่งก็จะตรงกับความคิดเห็นส่วนใหญ่ หรือยินยอมทำตามเพื่อหลีกเลี่ยงการไม่เห็นด้วยหรือความไม่เห็นชอบจากบุคคลอื่น

     

    ขั้นที่ 4 บุคคลรู้ถึงหน้าที่การใช้ระเบียบ การกระทำตามระเบียบของสังคมพฤติกรรมที่ถูกต้องจะประกอบด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ การแสดงความเคารพต่ออำนาจหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทางสังคมกำหนด คล้อยตามเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกประณามจากสังคม ยินยอมทำตามเพื่อหลีกเลี่ยงการตำหนิจากผู้ที่มีอำนาจตามกฎหมาย
  3. ระดับเหนือกฎเกณฑ์ (Postconventional Level) เป็นระดับที่การตัดสินขัดแย้งด้านจริยธรรม ขึ้นอยู่กับตนเองมากที่สุด การตัดสินจริยธรรมจะใช้หลักแห่งเหตุผลกระทำตนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ไม่ขัดกับสิทธิอันพึงได้ของผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองแยกตัวออกจากอิทธิพลของกลุ่มเมื่อมีเหตุผล โดยไม่คล้อยตามถ้าผู้อื่นไม่มีเหตุผลพอระดับนี้เป็นจริยธรรมขั้นสูงสุดจะปรากฏในบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ อายุประมาณ 16 ปีขึ้นไป แบ่งระดับนี้ได้เป็น 2 ขั้น ต่อเนื่องกับขั้นก่อน ๆ เช่นกัน คือ

    ขั้นที่ 5 บุคคลจะทำตามคำมั่นสัญญาและการกระทำที่ถูกต้องโดยทั่วไปที่เห็นกับคนหมู่มาก ควบคุมตนเองได้ คำนึงถึงคุณค่าทางความคิดเห็นที่สัมพันธ์กับส่วนบุคคลและส่วนรวม เช่น เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย จะหาข้อยุติธรรมโดยคำนึงถึงผลทางคุณค่าและความคิดเห็นทางสติปัญญา ที่จะออกมาเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ของสังคม

    ขั้นที่ 6 ยินยอมทำตามเพื่อหลีกเลี่ยงการติเตียนตนเอง เป็นขั้นการตัดสินตามเหตุผลของการรับผิดชอบ สร้างคุณธรรมประจำที่นอกเหนือกฎเกณฑ์ทางสังคม จริยธรรมเป็นนามธรรม ไม่ใช่กฎเกณฑ์ทางศาสนา แต่เป็นอุดมคติสากลของสังคมส่วนรวม ยอมรับสิทธิเท่าเทียมกันของมนุษย์ที่มีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน ควรนับถือซึ่งกันและกัน (D.P. Asubel, E.V. Sullivan. 1970 : 142-144)

ความหมายของพัฒนาการ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ (Basic Forces in Human Development)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์
โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
ทฤษฎี Psychosocial developmental stage ของอิริคสัน
ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิด (Cognitive Theories) ของเพียเจท์
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
จิตวิทยาพัฒนาการวัยก่อนคลอด (Prenatal Development)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารก (Infancy and Babyhood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารกตอนปลาย
จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนต้น (Early Childhood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนปลาย (Late Childhood)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย