ปรัชญา
อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น (Adolescence)
จิตวิทยาการบริหาร (Management Psychology)
จิตวิทยาพื้นฐาน
จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น
จิตวิทยาพัฒนาการมนุษย์
จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารกตอนปลาย
วัยนี้มีอายุอยู่ในช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอดถึง 2 ขวบ
เป็นวัยที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างบุคลิกภาพของบุคคล
ทั้งในด้านพฤติกรรมการแสดงออก ความคิด ทัศนคติ และสติปัญญา
โดยการเรียนรู้ของทารกวัยนี้จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็วทุกด้าน
และสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจได้อย่างชัดเจน
พัฒนาการวัยทารกตอนปลาย
พัฒนาการทางกาย
วัยทารกตอนปลายจะมีพัฒนาการด้านโครงสร้างของร่างกายและการทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ
เจริญเติบโตดำเนินไปอย่างรวดเร็วในช่วง 6 เดือนแรก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทสัมผัส
ในขวบปีแรกน้ำหนักของทารกจะเพิ่มตามสัดส่วนมากกว่าความสูง
ในระยะปีที่สองความสูงจะเพิ่มมากกว่าสัดส่วนของน้ำหนัก
โดยมีแบบแผนลักษณะพัฒนาการทางกายของวัยทารกตอนปลายดังนี้
- น้ำหนัก (weight) อายุ 1 เดือนน้ำหนักของทารกจะเพิ่มประมาณ 1 กิโลกรัม โดยช่วง
1 เดือนแรกน้ำหนักทารกจะเพิ่มวันละ 30 กรัม ในเดือนที่ 2 จะเพิ่มประมาณวันละ 25
กรัม ช่วงอายุ 4 เดือนน้ำหนักตัวทารกจะเพิ่มเป็น 2 เท่า อายุ 2 ขวบจะมีน้ำหนักเป็น
3 เท่าของแรกเกิด
สำหรับการเพิ่มของน้ำหนักเนื่องจากเนื้อเยื่อไขมันที่ได้สะสมจากน้ำนมที่ทารกดูดกลืนเข้าไป
- ส่วนสูง (height) การเพิ่มความสูงของทารกในช่วงขวบปีแรกจะช้ากว่าน้ำหนัก
แต่เมื่ออายุ 2 ขวบการเพิ่มความสูงจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว อายุ 4 เดือนจะสูงประมาณ
23-24 นิ้ว อายุ 8 เดือนจะสูง 26-28 นิ้ว อายุ 1 ขวบจะสูง 28-30 นิ้ว อายุ 2
ขวบจะสูง 32-34 นิ้ว และหลังอายุ 2 ขวบไปแล้วจะสูงขึ้นประมาณปีละ 5 เซนติเมตร
- สัดส่วนของร่างกาย (body proportions)
สัดส่วนทางกายจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อทารกอายุ 6 เดือน
รูปร่างทารกจะบางขึ้นแต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบช้า ๆ
โดยที่ศีรษะจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในเดือนที่ 2 แล้วดังนั้นในช่วงเดือนที่ 6
จึงเจริญช้ากว่าลำตัว แขน ขา ส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าเริ่มพัฒนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณขากรรไกรซึ่งจะเริ่มมีฟันและขากรรไกรจะได้สัดส่วนกับใบหน้า
และจมูกเริ่มพัฒนาได้สัดส่วนและมีรูปร่างเพิ่มมากขึ้น
- กระดูก (bones) ลักษณะการพัฒนาจะเป็นเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตด้านขนาด
กระดูกจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะขวบปีแรกของชีวิต
จำนวนกระดูกจะเพิ่มขึ้นในวัยทารกซึ่งเป็นผลมาจากร่างกายของทารกวัยนี้ประกอบด้วยกระดูกและมีเนื้อเยื่อในร่างกาย
โครงสร้างกระดูกของทารกวัยนี้จะยังไม่สมบูรณ์
จะสมบูรณ์เต็มที่เมื่อเข้าสู่ระยะวัยรุ่น ส่วนบุ๋มบนกระโหลกศีรษะจะปิดเกือบสนิท
ประมาณ 50% เมื่ออายุ 8 เดือน และจะปิดบริบูรณ์เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ
- ฟัน (teeth) ฟันน้ำนมจะเริ่มงอกเมื่ออายุ 6-8 เดือน มีทั้งหมด 20 ซี่
ลักษณะของฟันที่งอกจะหนาและแข็ง เนื่องจากทารกจะใช้ฟันในการกัดแทะสิ่งต่าง ๆ
ระยะนี้ทารกอาจเจ็บเหงือกหรือมันเขี้ยว
การแก้ไขโดยให้ทารกกัดเล่นห่วงยางที่สะอาดและแข็งพอควร
- ระบบประสาท (nervous system) ระยะ 3-4 ปีแรก
ระบบประสาทอัตโนมัติจะมีการเจริญอย่างรวดเร็ว น้ำหนักสมองของทารกจะเป็น ½
ของผู้ใหญ่เมื่ออายุ 9 เดือน และเมื่ออายุ 2 ขวบจะมีน้ำหนักสมอง ¾ ของผู้ใหญ่
- โครงสร้างทางกาย ในช่วง 2 ปีแรกขณะที่สัดส่วนร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง
ทารกจะมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะเฉพาะโครงสร้างทางกาย 3 ประเภทคือ 1) ectomophic คือ
สูงยาวและบอบบาง 2) endomophic คือ กลมและอ้วน และ 3) mesomophic คือ หนัก แข็งแรง
และใหญ่แบน
- พัฒนาการของอวัยวะสัมผัส (organ development) มีลักษณะดังนี้
-หู ทารกจะมีความสามารถในการได้ยินเสียงอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะเมื่ออายุ 2 เดือน จะตอบสนองต่อเสียงแหลมมาก ๆ มากกว่าเสียงอื่น ๆ เช่น เสียงเป่านกหวีด ผิวปาก ปรบมือ แต่เมื่ออายุ 2 เดือนไปแล้วทารกจะมีการตอบสนองต่อเสียงทุกอย่างได้
-ตา จะมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก โดยเฉพาะในเดือนที่ 3 จะมีพัฒนาการในการประสานกันของกล้ามเนื้อตา ทารกจะมองเห็นได้ชัดเจนและมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ ได้
-จมูกและการลิ้มรส การได้กลิ่นและการลิ้มรสมีการพัฒนาตั้งแต่แรกเกิดและจะมากขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตได้จากทารกจะปฏิเสธอาหารที่มีกลิ่นและรสที่ตนไม่ชอบ
-การสัมผัส ทารกจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อมีสิ่งเร้าอย่างมาก และจะแสดงออกต่อสิ่งเร้าเกินความเป็นจริง เนื่องจากผิวหนังของทารกประกอบด้วยอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกอย่างมาก - ความต้านทานโรค ช่วง 6
เดือนแรกทารกจะมีความต้านทานโรคได้ดีเพราะได้รับมาจากมารดาระหว่างอยู่ในครรภ์
หลังจากนี้อาจมีการเจ็บป่วยได้บ้าง บิดามารดาควรนำเด็กไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ
เมื่อถึงเวลา
- พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านนี้ในเพศชายจะเป็นไปได้ดีกว่าเพศหญิง ในช่วงแรกการเคลื่อนไหวจะเป็นปฏิกิริยาสะท้อน และจะค่อยหายไปเมื่อทารกอายุ 6 เดือน จากนั้นจะเป็นการเคลื่อนไหวที่มีจุดหมาย พัฒนาการของกล้ามเนื้อจะเริ่มจากบริเวณศีรษะ ลำตัว แขน ขา และนิ้วมือ ตามลำดับ
พัฒนาการทางอารมณ์
อารมณ์ของวัยนี้เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาอารมณ์ของวัยต่อไป
ทารกจะมีการพัฒนาอารมณ์มากขึ้นตามลำดับของวุฒิภาวะและประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับจากการเลี้ยงดู
ลักษณะอารมณ์ที่พัฒนาขึ้นในระยะนี้มีดังนี้ (สุชา จันทน์เอม, 2540, น. 102-104)
- อารมณ์โกรธ เกิดจากการที่ทารกไม่ได้รับการตอบสนอง หรือถูกขัดขวางความต้องการ
อารมณ์โกรธพบได้บ่อยและปรากฏชัดเจนเมื่ออายุ 6 เดือน
จะแสดงออกด้วยการส่งเสียงร้องอย่างไม่สบอารมณ์ ร้องกรี๊ด นอนบนพื้น ถีบขาไปมา
ขว้างปาทำลายข้าวของ ทำร้ายตนเอง อารมณ์โกรธอาจเกิดจากการเลียนแบบพ่อแม่
หรือผู้เลี้ยงดู หากอารมณ์โกรธเกิดสม่ำเสมอ
ทารกจะพัฒนาเป็นบุคคลที่มีบุคลิกลักษณะก้าวร้าว รุนแรง
- อารมณ์กลัว เกิดขึ้นได้เมื่ออายุ 6 เดือน เกิดจากการเรียนรู้
ทารกวัยนี้จะกลัวคนแปลกหน้า สถานที่แปลกใหม่ สิ่งที่มีเสียงดัง กลัวสัตว์แปลก ๆ
ที่ยังไม่เคยเห็น ความมืด ความสูง จะแสดงออกด้วยการหลบหลีก ร้องไห้ หันหน้าหนี
การแอบหลังผู้ใหญ่
บางครั้งความกลัวอาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้ทารกเกิดความอยากรู้อยากเห็นได้
- อารมณ์อิจฉาริษยา เกิดจากการรวมเอาอารมณ์โกรธและกลัวเข้าด้วยกัน มักเกิดได้ง่าย
เมื่อมีน้องและพ่อแม่เอาใจใส่น้องเป็นพิเศษ ทำให้ตนขาดวามสำคัญ
นอกจากนี้อาจเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่ได้อธิบายให้บุตรเข้าใจภึงสภาพเป็นจริง
และทำให้ทารกขาดความอบอุ่นก็เป็นได้
- อารมณ์อยากรู้อยากเห็น มักพบเสมอใน 2-3 เดือนแรก
ระยะนี้หากทารกได้รับสิ่งเร้าที่รุนแรงก็จะรู้สึกสนใจขึ้นมา
ทารกมักจะอยากเห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ
ความกลัวก็เป็นลักษณะหนึ่งที่ช่วยให้ทารกเกิดความอยากรู้อยากเห็นได้
- อารมณ์ดีใจ เป็นอารมณ์แห่งความรื่นรมย์ มีความสุข
มักเกิดขึ้นกับทารกที่มีสุขภาพดี ในระยะ 2-3 เดือนหลังคลอด
ทารกจะรู้จักยิ้มหรือหัวเราะเมื่อมีความพอใจ เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 2 ปี
จะรู้จักยิ้มกับผู้อื่น หรือร่วมหัวเราะไปกับผู้อื่นได้เมื่อรู้สึกพอใจ
- อารมณ์รัก ทารกจะแสดงความรักด้วยการกอดรัด ความรักจัดเป็นอารมณ์ที่รื่นรมย์สำหรับทารกที่ได้รับการเอาใจใส่อย่างดี ทารกจะเริ่มรักตัวเองก่อน ต่อมาจึงจะเริ่มรักผู้อื่น สิ่งของของตน หรือรักสัตว์เลี้ยงก็ได้
พัฒนาการทางสังคม
วัยนี้จะมีพัฒนาการด้านสังคมมากขึ้นเมื่อเทียบกับวัยทารกตอนต้น
ทารกจะมีความสามารถในการเรียนรู้การช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
มากขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไป เช่น เริ่มเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไหว หยิบ ถือสิ่งของ
แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหารเอง พูดภาษาได้บ้าง
และพยายามสื่อภาษากับผู้เลี้ยงดูหรือบุคคลรอบข้างแม้ว่าภาษาที่พูดจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์มากนัก
วัยนี้จะรู้จักเล่นกับผู้อื่น พัฒนาการด้านนี้จะพัฒนาควบคู่ไปกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ
เป็นระยะของการวางรากฐานพฤติกรรมสำคัญของชีวิต เช่น การมีทัศนคติต่อตนเองและผู้อื่น
ลักษณะการแสดงอารมณ์ นิสัยส่วนตัว
เมื่อสิ้นสุดระยะนี้ผู้เลี้ยงดูสามารถมองเห็นลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะตัวของทารกได้ชัดเจนมากขึ้น
พัฒนาการทางสติปัญญา
วัยนี้ระบบประสาทและสมองมีการเจริญเติบโตมากขึ้น
น้ำหนักสมองของทารกจะเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักสมองผู้ใหญ่
ทารกจะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ดี เช่น เรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัส
การเคลื่อนไหว การแสดงความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ การใช้ภาษาหรือการแสดงพฤติกรรมต่าง
ๆ เพื่อสื่อความหมาย และจะพยายามสื่อความหมายที่ตนเองต้องการ
เข้าใจความหมายของคำมากขึ้น เช่น เข้าใจความหมายของคำว่า อย่า ไม่ ไหว้
รู้จักหาวิธีการแสดงให้ผู้อื่นทราบถึงความต้องการตนเอง เช่น การพูดหม่ำ ๆ เมื่อหิว
การชี้หรือเอื้อมมือดึงผ้าปูโต๊ะเพื่อจะเอาของเล่นที่อยู่บนโต๊ะ
การมองหาสิ่งของที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งต่าง ๆ
ที่อยู่รอบตัว
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัว
1. ด้านร่างกาย
-ดูแลสุขภาพร่างกาย ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รักษาความสะอาดร่างกาย
และการดูแลฟันซึ่งฟันน้ำนมจะขึ้นเมื่อทารกอายุ 6-7 เดือน
นำทารกไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
นำไปรับวัคซีนครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนดของโรงพยาบาล สังเกตอาการผิดปกติของทารก
รวมทั้งตรวจสอบพัฒนาการของทารกที่เปลี่ยนแปลงไป
-ดูแลให้ทารกได้รับนมและอาหารเสริมที่เหมาะสมตามวัย
และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ลักษณะอาหารควรเป็นอาหารอ่อนเคี้ยวและย่อยง่าย
มีคุณค่าครบ 5 หมู่ ในช่วงที่เปลี่ยนชนิดหรือลักษณะของอาหาร
ควรให้เวลาทารกได้มีการปรับตัว ไม่ใจร้อนเกินไป จากนั้นเริ่มลดปริมาณนมลงทีละน้อย
จนนมกลายเป็นอาหารเสริมแทนอาหารมื้อหลัก
-ส่งเสริมให้ทารกมีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
เช่น การเดิน การเล่นต่อบล็อก เล่นรถไฟ การใช้มือหยิบจับสิ่งของ เป็นต้น
2. ด้านสังคม
-ส่งเสริมให้ทารกมีการช่วยเหลือตนเองและสังคมอย่างเหมาะสม
ให้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งของตนเองและของผู้อื่น
ให้คำชมเชยเมื่อสามารถทำได้ รวมทั้งสนับสนุนให้มี
สัมพันธภาพกับบุคคลอื่นรอบข้างได้อย่างเหมาะสม
-การฝึกให้ทารกมีระเบียบวินัย ด้วยการฝึกให้มีการรอคอยในระยะสั้น ๆ เช่น
การรอเปลี่ยนเสื้อผ้า รออาหาร หลีกเลี่ยงการบังคับอย่างไม่มีเหตุผล
ให้ทารกได้มีโอกาสและเวลาในการตัดสินใจเมื่อต้องมีกฏเกณฑ์กับตัวเอง
3. ด้านอารมณ์
-ให้ความรัก ความเข้าใจ และความสนใจ
ทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างอบอุ่นและเหมาะสมจะรับรู้ได้ถึงอารมณ์ที่อ่อนโยนของผู้เลี้ยงดู
ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกมั่นใจ เชื่อใจในความปลอดภัย
เรียนรู้ที่จะให้และรับได้อย่างเหมาะสม
-การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น การเปิดเพลงเพราะ ๆ เบา ๆ
ขณะที่ให้ทารกได้เล่นหรือหยอกล้อกับผู้อื่น
4. ด้านสติปัญญา
-ส่งเสริมพัฒนาการการใช้ภาษาและการได้ยิน ด้วยการฝึกการฟัง การพูด การอ่าน
การเขียน เช่น การสอนให้ร้องเพลง เล่านิทาน เล่าเรื่องที่น่าสนใจ
เป็นแบบอย่างที่ดีในการพูด
-ให้ทารกได้เล่นเกมส์เพื่อพัฒนาเชาวน์ปัญญา เช่น เกมส์ที่ต้องใช้การแก้ปัญหา
การให้แสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่ได้พบเห็นพร้อมทั้งชมเชยเมื่อสามารถทำได้
การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านจะต้องทำควบคู่กันไป
การให้ความรู้แก่ผู้เลี้ยงดูในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวอย่างเหมาะสม
ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่ดี และมีการปรับตัวได้เหมาะสมกับวัยได้มากขึ้น
สรุป
วัยทารกตอนปลายเป็นวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
ถือเป็นวัยพื้นฐานของการหล่อหลอมและพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล
ทารกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
และสติปัญญาอย่างรวดเร็ว มีความพร้อมต่อการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว
หากได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมให้ทารกได้เรียนรู้และมีแบบแผนพัฒนาการที่สมวัยและส่งผลดีต่อพัฒนาการวัยต่อไป
ความหมายของพัฒนาการ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ (Basic Forces in Human
Development)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์
โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)
ทฤษฎี Psychosocial developmental stage ของอิริคสัน
ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิด (Cognitive Theories) ของเพียเจท์
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
จิตวิทยาพัฒนาการวัยก่อนคลอด (Prenatal Development)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารก (Infancy and Babyhood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยทารกตอนปลาย
จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนต้น (Early Childhood)
จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็กตอนปลาย (Late Childhood)