สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์
ปัญหาความยากจน (Poverty)
ความยากจน คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
และไม่สามารถจะบำบัดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
จนเป็นเหตุให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่สังคมวางไว้
สาเหตุของปัญหาความยากจน
- เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันในความสามารถของบุคคล
- เนื่องจากสิ่งของและบริการต่าง ๆ มีมากขึ้น
- เนื่องจากไม่สามารถทำงานตามปกติทั้งนี้เนื่องจากความเจ็บป่วยความพิการทางร่างกายและจิตใจ ชราภาพ
- เนื่องมาจากภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด ฯลฯ
- เนื่องมาจากการว่างงาน
- เนื่องมาจากการมีบุตรมาก
- เนื่องมาจากการศึกษาต่ำ ไม่สามารถพัฒนาอาชีพของตนได้
- เนื่องมาจากความเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน
ผลของความยากจน
- เป็นภาระของสังคมที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ
- ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ
- ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่มั่นคงทางสังคม
- ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาเช่น ปัญหาอาชญากรรม
- ก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้ยากจนเองไม่สามารถจะกระทำอะไรตามที่ต้องการ
- การป้องกันแก้ไขปัญหาความยากจน
- การพัฒนาคุณภาพประชากรในด้านต่าง ๆ
- ในด้านอาชีพควรดำเนินการเพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความยากจนดังนี้
- ยกระดับมาตรฐานความสามารถของแรงงานในอาชีพแขนงต่างๆ ให้สูงขึ้น
- จัดหางานให้ทำและฝึกงานให้ด้วย
- จัดตั้งหน่วยส่งเสริมอาชีพ
- จัดโครงการพัฒนาอาชีพท้องถิ่น
» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง