สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์
ปัญหาคอร์รัปชั่น
(Corruption)
ความหมาย ตาม Webster seventh New Collegiate Dictionary อธิบายคำว่า คอร์รัปชั่นไว้ดังนี้
- เป็นการกระทำที่ขัดต่อความซื่อสัตย์ คุณธรรมความดี หรือศีลธรรม
- เป็นการกระทำผิดทำนองคลองธรรม กฎเกณฑ์ หรือกฎหมาย เนื่องจากการให้สินบนหรือไม่เหมาะสม
- เป็นการกระทำที่ถือว่าไม่บริสุทธ์ หรือไม่เหมาะสม
ในสารานุกรมฉบับสมัยของ เปลื้อง ณ นคร กล่าวว่า
คอร์รัปชั่นเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวง คดโกง ทุจริตอย่างกว้างขวาง
ส่วนมากใช้ในเรื่องทุจริตและความไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่ในวงราชการ
ลักษณะของคอร์รัปชั่น มีของเขตกว้างขวางครอบคลุมการกระทำในลักษณะต่อไปนี้
- การแสวงหาผลประโยชน์โดยใช้อำนาจไม่ชอบธรรม
- การจูงใจ เรียกร้อง บังคับ ข่มขู่ หน่วงเหนี่ยว หรือกลั่นแกล้งเพื่อที่จะให้มีการตอบแทนการปฏิบัติของคนอย่างตรง ๆ
- ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง บิดเบือนข้อบังคับหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ
- สมยอม รู้เห็นเป็นใจ เพิกเฉยการกระทำที่ผิดกฎหมาย
- ปลอมแปลงหรือการกระทำใดๆ อันเป็นเท็จ
- การเล่นพรรคเล่นพวกในวงบริหารงานบุคคล
- การให้สินบนแก่นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ และผู้ไปใช้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง
- การเอาของหลวงรถหลวงไปใช้ส่วนตัว
- การรับของขวัญราคาแพง
- การช่วยพรรคพวกเข้าทำงานมีเงินเดือน หรือบำนาญ
- การเลือกที่รักมักที่ชัง
- การฉ้อราษฎร์บังหลวง
สาเหตุของคอร์รัปชั่น มีสาเหตุดังต่อไปนี้
- แรงจูงใจและโอกาส
- ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ
- ความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
- สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
- การบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพ
- กฎหมายมี่ช่องว่างหรือมีข้อบกพร่อง
- การมีตำแหน่งเอื้ออำนวยต่อการกระทำผิด
- ประชาชนยินยอมพร้อมใจหรือความไม่เข้าใจของประชาชน
- อิทธิพลของหญิง อาจเป็นภรรยาของผู้มีตำแหน่งสูงในวงราชการ
- ขาดมาตรการลงโทษการคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาด
ผลของการคอร์รัปชั่น มีดังนี้
- ทำให้ชาติเสื่อมเสียชื่อเสียง
- เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
- ก่อให้เกิดความแตกแยกและความไม่ยุติธรรมในสังคม
- ทำให้ประชาชนขาดความศรัทธาในข้าราชการ
- ในหมู่ข้าราชการการก็เกิดระบบทำงานแบบขอไปที
- การคอร์รัปชั่นก่อให้เกิดระบบผูกขาด
- ทรัพยากรของรัฐถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของบุคคลบางคนที่คิดเอาประโยชน์ตัวเป็นลำดับ
- การนำเอาไปเป็นข้ออ้างของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
- การป้องกันและการปราบปรามคอร์รัปชั่น
- ออกกฎหมายเพื่อป้องกันและปรามปราม
- วางมาตรการป้องกัน
- ให้การศึกษาและพัฒนาจิตใจแก่ประชาชนและข้าราชการ
- ผู้นำบริหารทำตัวเป็นแบบอย่าง
- ประชาชนและสื่อสารมวลชนไม่เพิกเฉยต่อคอร์รัปชั่น
- ใช้มาตรการลงโทษอย่างรุนแรงแก่ข้าราชการและประชาชนผู้คอร์รัปชั่น
- ปรับปรุงระบบการเมืองให้เข้มแข็ง
- เพิ่มค่าครองชีพของข้าราชการ ให้สูงขึ้นพอกับภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน
» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง