สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์

ปัญหายาเสพติด

ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2465 ให้ความหมายว่า ยาต่าง ๆ ที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นยาเสพติดให้โทษตามบัญชีที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเห็นว่า

  • อาจทำให้ผู้เสพติดแล้วให้โทษแก่ผู้บริโภค
  • ทำให้เกิดความต้องการอย่างแรงกล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  • ผู้เสพต้องตกเป็นทาสของยาเสพติดจะหยุดเสพมิได้
  • ผู้เสพต้องเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ประเภทของยาเสพติดให้โทษ

  • ยาเสพติดประเภทกดประสาท เสพเข้าไปแล้วทำให้เกิดอาการมึนงง สมองชา เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน
  • ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เสพเข้าไปแล้ว กระตุ้นประสาทให้ออกฤทธิ์ตามยาเมื่อหมดฤทธิ์ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม เช่น แอมเฟตามิน ยาบ้า ยาอี
  • ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เสพเข้าไปแล้วทำให้ประสาทส่วนที่รับรู้ผิดปกติไปปรากฏเป็นภาพต่างๆ ทั้งขนาดรูปร่าง เช่น แอเสดี ยาเค
  • ยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ผสมผสาน เสพนิดหน่อยกระตุ้นประสาท เสพมากมีอาการหลอนประสาท เช่น กัญชา

สาเหตุของการเสพยาเสพติด

  1. เกิดจากจิตใจ
  2. เกิดจากร่างกายที่เจ็บป่วย
  3. เกิดจากความคึกคะนอง อยากรู้อยากเห็น อวดดี อยากทดลอง
  4. ติดเพราะยาซึ่งมีคุณสมบัติทำให้ติด
  5. ติดเพราะสิ่งแวดล้อม อยู่ใกล้กับพวกเสพติด
  6. เกิดจากถูกชักชวน
  7. เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ผลักเยาวชนไปสู่ยาเสพติด
  8. เกิดจากการว่างงานไม่มีอะไรทำเป็นสาระก่อให้เกิดความกลัดกลุ้ม

ผลของยาเสพติดให้โทษ

  • โทษร่างกายและจิตใจ ยาเสพติดทุกประเภทก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อร่างกายและจิตใจ
  • โทษต่อครอบครัว ทำให้เศรษฐกิจในครอบครัวตกต่ำจนถึงหายนะได้
  • โทษต่อสังคม เช่น เกิดการลักขโมย ปล้นจี้
  • โทษต่อประเทศชาติ มีผลกระทำต่อเศรษฐกิจ ถ่วงความเจริญของประเทศ

การป้องกันและการรักษา

  • การป้องกันตนเอง
  • ป้องกันทางครอบครัว
  • ป้องกันทางเพื่อนบ้าน
  • ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ
  • ป้องกันโดยการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนทั่วไป
  • ป้องกันการผลิต
  • การปราบปรามและการลงโทษอย่างรุนแรง แก่ผู้กระทำผิด
  • การรักษา คือการบำบัดรักษาผู้เสพย์ยาเสพติดให้หายจากการเสพติด
  • การถอนพิษยา
  • การปรับปรุงแก้ไขจิตใจและบุคลิกภาพ
  • การสร้างเครื่องยึดเหนี่ยว
  • การใช้ยาต้านฤทธิ์ของยาเสพติด

» วิวัฒนาการทางสังคมไทย

» สมัยทวารวดี

» สมัยศรีวิชัย

» สมัยลพบุรี

» สมัยหริภุญไชย

» สมัยล้านนา

» สมัยสุโขทัย

» สมัยกรุงศรีอยุธยา

» สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

» สังคมไทยสมัยใหม่

» การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

» สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์

» สังคมไทยในภาคเหนือ

» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

» สังคมไทยในภาคกลาง

» สังคมไทยในภาคใต้

» สังคมเมือง

» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง

» ปัญหาสังคมและแนวทางแก้ไข

» ลักษณะของปัญหาสังคม

» สาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม

» แนวทางในการศึกษาปัญหาสังคม

» ปัญหายาเสพติด

» ปัญหาคอร์รัปชั่น

» ปัญหาความยากจน

» ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์

» ด้านการศึกษาและสังคม

» ปัญหาเด็กและเยาวชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย