สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์
สาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม
จากการศึกษาสาเหตุของปัญหาสังคมของนักสังคมวิทยาหลายท่านปรากฏว่าผู้ศึกษาได้เสนอสาเหตุปัญหาสังคมไว้ดังต่อไปนี้
1) ลักษณะของปัญหาสังคมที่สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social
Change) มีดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง
- การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
- การเพิ่มประชากร
- การอพยพ
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
- การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ย่อมก่อให้เกิดปัญหา
- การเปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคม
2) ลักษณะของปัญหาสังคมที่สืบเนื่องมาจากความไม่เป็นระเบียบของสังคม
ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หมายถึง ภาวะที่สังคมหรือสถาบันพื้นฐานทางสังคม
ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบ
ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สำคัญ 5 ประการ กล่าวคือ
- ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณีหรือสถาบันพื้นฐาน
- ผลประโยชน์ของกลุ่มชนขัดกัน
- หน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ขัดแย้งกัน
- ความผิดพลาดในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแผนของสังคม สถาบันหรือหน้าที่
- ความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหวัง กกเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดไว้ ให้ประชาชนในสังคมปฏิบัติตาม
3)
ลักษณะของปัญหาสังคมที่สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดของสังคม
พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับและไม่อาจทนได้
สังคมเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของสังคมและมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนร่วม เช่น
ผู้เสพติดให้โทษ การที่คนเรามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั้น เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น
ปัจจัยทางชีววิทยา(Biological Factor) ปัจจัยทางจิต (Mental factor)
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Factor) ปัจจัยค่านิยมทางสังคม (Social Value)
ปัจจัยโครงสร้างทางสังคม (social structure factor) เป็นต้น
» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง