สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์
ปัญหาสังคมและแนวทางแก้ไข
ความหมายของปัญหาสังคม
คำว่า สังคม หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม ดังนั้น
เมื่อกล่าวถึงปัญหาสังคมจึงควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาความหมายของคำว่า ปัญหาสังคม
ซึ่ง Goid Garry และ Frand R. Scarpitti กล่าวว่า ปัญหาสังคม คือ
สภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ประชาชนมองเห็นว่าสภาวการณ์นั้นเป็นสิ่งไม่ต้องการให้เกิดขึ้นและเห็นว่าสามารถจะแก้ไขได้ด้วยการกระทำร่วมกัน
- Horton และ Leslie ให้ความหมายไว้ว่าปัญหาสังคมเป็นสภาวการณ์ที่มีผลต่อคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาและมีความรู้สึกว่าจะต้องร่วมกันแก้ไข
- Raab และ Selznick เสนอสรุปได้ว่า ปัญหาสังคมคือปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนในสังคมในลักษณะที่ขัดต่อระเบียบของสังคม
- Konig ให้ความหมายว่าปัญหาสังคมคือสถานการณ์ที่สังคมเห็นว่าเป็นการคุกคามวิถีทางที่ปฏิบัติอยู่หรือความสมบรูณ์ของงาน ด้วยเหตุนี้จึงควรจะกำจัดให้หมดสิ้นหรือให้เบาบางลง
ดร.ประสาท หลักศิลา อธิบายว่า ปัญหาสังคมเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะเข้าใจกันหรือเชื่อกันว่าสถานการณ์เช่นนั้นเป็นอันตรายต่อคุณธรรมของปัญหาและต้องการหาทางแก้ไขสถานการณ์นั้นให้ดีขึ้นด้วยการร่วมมือทางสังคม (วรวุธ สุวรรณฤทธิ์และคณะ, 2540)
» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง