สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้
เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงชุมชนหมู่บ้านระหว่างภาคใต้กับภาคต่าง ๆ
ของประเทศไทยแล้ว ภาคใต้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตน้อยกว่าทุกภาค
ชุมชนหมู่บ้านสามารถรักษาวัฒนธรรมชุมชนได้ดีและใช้วัฒนธรรมในระบบเครือญาติเข้าผนึกกันต่อสู่กับอิทธิพลภายนอกทั้งในด้านการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม พร้อมกับดัดแปลงมรดกทางสังคม
วัฒนธรรมให้เข้ากับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี เช่น การออกปาก กินวานระบบ ขอมือ
ที่มีการลงแรงคล้ายระบบ นาวาน
ของภาคอีสานได้พัฒนาเป็นงานร่วมมือลงแรงในงานสวนยางพารา
และงานสวนผลไม้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งที่น่าชื่อชมในความเปลี่ยนแปลงที่สามารถเข้ากับสภาพการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดีของชุมชนหมู่บ้านในภาคใต้คือ
เครือข่ายการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เช่น
กลุ่มพัฒนาคุณภาพอาจแบ่งกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มการผลิต กลุ่มร้านค้าต่าง ๆ เป็นต้น
กลุ่มเหล่านี้มีชาวบ้านเป็นเจ้าของร่วมกันโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ เช่น
กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้านร้านค้าหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ของหมู่บ้านคีรีวงศ์
มีเงินทุนหมุนเวียน 10 ล้านบาท มีสมาชิกประมาณ 1,700 คน
กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้านน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ใช้เวลา 10 ปี ตั้งแต่
พ.ศ.2525 จนมีสมาชิกถึง 1,407 คน มีเงินหมุนเวียนประมาณสองล้านบาท
นอกจากสองกลุ่มนี้แล้วยังมีกลุ่มของชุมชนอีกหลายแห่งที่ทำงานต่อสู่เพื่อชุมชนของตัวเอง
และประสบผลสำเร็จอย่างน่าสนใจ
กล่าวโดยสรุป
การที่ชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ตั้งอยู่ในคาบสมุทรที่แคบและยาวทำให้ชุมชนหมู่บ้านภาคใต้พึ่งตนเอง
พึ่งชุมชนต่างสภาพ และเรียนรู้จากโลกภายนอก
วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ยอมรับเอาวัฒนธรรมอื่นเข้ามาปะปน
ชาวบ้านภาคใต้กล่าวถึงเรื่องราวของเพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือชาติต่าง ๆ
ที่เข้ามาติดต่อกับภาคใต้ด้วยความคุ้นเคย
ภาคใต้อยู่ห่างจากศูนย์กลางอำนาจของรัฐ
รัฐบาลเข้าไปทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาคใต้อย่างเชื่อช้า
ชาวบ้านภาคใต้ได้หาวิธีทางต่าง ๆ
ที่จะจัดระบบความปลอดภัยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ตนเองพึ่งตนเองและพึ่งเพื่อนของตนอย่างเหนียวแน่น
ความรู้สึกรักพวกพ้องและรักถิ่นรวมทั้งการป้องกันตนเองเข้าแข็งมากในภาคใต้
ขณะเดียวกันชาวบ้านรู้สึกห่างเหินกับรัฐ รู้สึกว่าทอดทิ้ง
ถูกปฏิบัติต่อย่างไม่เป็นธรรม ชุมชนท้องถิ่นไม่ยอมรับและบางช่วงถึงกับเกลียดชังรัฐ
ในทศวรรษ 2510 และต้นทศวรรษ 2520 ปัญหานี้ร้ายแรง สถานการณ์ค่อยดีขึ้น
เมื่อรัฐเปลี่ยนนโยบายต่อภาคใต้ ให้การยอมรับความเป็นท้องถิ่นมากขึ้น
การที่ชาวภาคใต้มีการติดต่อกับโลกภายนอกมายาวนานในประวัติศาสตร์
รวมทั้งในเวลาต่อมาพื้นที่การผลิตถูกใช้ไปในการปลูกยางพาราและทำเหมืองแร่ซึ่งผลผลิตใช้ไม่ได้ในขั้นปฐม
หากแต่ต้องแปรเป็นผลผลิตขั้นต้นส่งออกนอกประเทศ
รวมทั้งราคาก็เกี่ยวกันกับตลาดโลกโดยตรงทำให้ในระคับโลก
ชาวบ้านต้องเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบแบ่งงานกันทำทางเศรษฐกิจขณะที่ชาวบ้านในภาคอื่น
ผลผลิตของพวกเรา คือ ข้าว พืชผัก ผลไม้ล้วนแต่บริการได้ในขั้นต้นในตลาดท้องถิ่น
ส่วนการผลิตเพื่อป้อนให้แก่การแปรรูปมิใช่เป้าหมายหลักของชาวบ้านไทย
ด้วยเหตุผลนี้ชาวบ้านภาคใต้จึงได้มีความเกี่ยวข้องกับระบบโลกและระบบอุตสาหกรรมนำหน้าไปก่อนแล้วการเข้าร่วมกับระบบการแบ่งงานกันทำของชาวบ้านก็ไม่สมบูรณ์เพราะโรงงานและการตลาดอยู่ในมือของผู้อื่น
การถูกขูดรีดจากระบบทุน และการที่รัฐและระบบอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ได้
ชาวบ้านยังคงต้องพึ่งไร่นาของตนเองและชุมชนเพื่อกินและใช้เป็นหลักอยู่นั่นเอง
ชาวบ้านภาคใต้จึงมีชีวิตอยู่ในวิถีการผลิตสองแบบควบคู่กันไป
การที่ชาวบ้านมีชีวิตอยู่ในวิถีการผลิตสองแบบกำหนดให้หมู่บ้านได้รับอิทธิพลจากสองวัฒนธรรม
คือ
วัฒนธรรมหมู่บ้านที่ยังคลเน้นการรวมหมู่ช่วยเหลือพึ่งพาและวัฒนธรรมการผลิตที่เน้นความคิดเรื่องประสิทธิภาพประสิทธิผลและประโยชน์สูงสุด
การที่หมู่บ้านภาคใต้มีวัฒนธรรมเชื่อท้องถิ่นสมทบด้วยหลักเหตุผลนิยมจากโลกภายนอก
ทำให้ชุมชนจัดการและรับมือกับปัญหา โดยการเน้นพลังอำนาจของตนเอง
ไม่ยอมรับว่าอำนาจอื่นเหนือกว่าหรือครอบงำไว้
สร้างความเชื่อมั่นในตนเองและในชุมชนมากกว่าจะรอความช่วยเหลือจากอำนาจอื่นหรือบุคคลอื่น
เหตุที่ไม่ได้อาศัยสังคมประเพณีโบราณเป็นหลักอย่างเดียวในการจัดระบบชุมชนนี้เอง
ทำให้ชาวภาคใต้เข้าสู่สังคมสินค้าด้วยความตระหนักในอำนาจของตนเอง
ชาวบ้านได้ริเริ่มและเข้าร่วมการจัดตั้งองค์กรแบบต่าง ๆ
ในท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาของตนเองอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ไม่ใช่ทำตามข้อเรียกร้องของรัฐ หลายหมู่บ้านได้พลิกเพลงเนื้อหา รูปแบบ
องค์กรชนิดต่าง ๆ ทั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย หลีกเลี่ยง กฎหมาย และผิดกฎหมาย
เพื่อใช้ให้เหมาะสมแก่ท้องถิ่น
ชุมชนภาคใต้เป็นตัวแบบของหมู่บ้านที่มีและใช้สิทธิในตนเองอย่างสูง
ในเรื่องนี้การวิวาทกันระหว่างชาวบ้านภาคใต้กับรัฐในเรื่อง
กลุ่มออมทรัพย์เป็นกลุ่มเถื่อน เป็นไปอย่างเผ็ดร้อนรุนแรง
และการตอบโต้ของชาวภาคใต้ก็ได้แสดงออกถึงการดื้อแพ่งอย่างเข้มแข็ง
ชาวบ้านภาคใต้มิได้จำกัดการจัดตั้งกลุ่มหรือแนวต่อสู้เพื่อช่วยตนเองไว้เพียงเพื่อยกระดับหมู่บ้าน
ความเคยชินที่มีความสัมพันธ์ติดต่อกับชุมชนอื่นอยู่ตลอดมาในประวัติศาสตร์
ทำให้พวกเขาตระหนักในการมีข่ายใยเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มพลังให้แก่กลุ่ม
ชาวหมู่บ้านภาคใต้จึงขยายเครือข่ายขององค์กรไปสู่ระดับตำบล อำเภอ
และระดับจังหวัดอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากความลังเลใจชาวบ้านแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ
จากฝ่ายรัฐบาลหลายวิธีการเพื่อข้ามพ้นความจำกัดพลังของตนเองไปให้ได้
ความคิดของผู้นำกลุ่มชาวบ้านต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นว่าพวกเขาคิดการใหญ่และเรื่องใหญ่
ไม่กลัวอนาคต ตามแบบของคนภาคใต้แท้ ๆ
จากกลุ่มออกทรัพย์ขยายเป็นการจัดสวัสดิการเพื่อชุมชนจัดการขายและการแปรรูปผลผลิตให้อยู่ในอำนาจของชาวบ้านแท้จริงอุดมการณ์ที่สำคัญของชาวบ้านที่ปรากฏตลอดการต่อสู้นี้ก็คือ
ดึงเอาอำนาจที่จะควบคุมชีวิตตนเองคืนมา ต่อต้านรัฐและนายทุน
จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่มของหมู่บ้านและของตำบลที่ขยายจากสิบเป็นร้อย
จนถึงเป็นพัน ๆ คนในระดับตำบล รวมทั้งมีเงินหมุนเวียนถึงกลุ่มละเป็นจำนวนล้าน
และสูงสุดคือของกลุ่มคีรีวงศ์และ คลองเปียะ เป็นจำนวนสิบ ๆ ล้าน
แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านยังคงมีศรัทธาและเชื่อมั่นต่อชุมชนของเขา
พวกเขาไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของระบบเศรษฐกิจภายนอก
ในขณะที่หมู่บ้านกำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สิน และปัญหาการกดราคา
องค์กรของหมู่บ้านสามารถต่อสู่เพื่อหมู่บ้านให้สวัสดิการกู้ชีวิตคืน
และให้หลักประกันแก่เขาเป็นการผลิตซ้ำความศรัทธาต่อชุมชนที่ชาวบ้านมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
การที่ชาวบ้านสามารถบริหารจัดการเงินนับสิบล้านบาททั้ง ๆ ที่ไม่มีการศึกษา
ไม่ได้เรียนรู้ระบบการจัดการและมิได้มีรัฐหรือกฎหมายใดมาดูแลอยู่ สะท้อนให้เห็น 2
สิ่ง คือ
(1) ทางเลือกใหม่ ๆ ของสังคมอาจไม่จำเป็นต้องตีตรากฎหมายจากรัฐกลาง
ซึ่งนอกจากไร้ความหมายแล้วยังอาจเป็นอุปสรรค
ภาวะที่ไม่ต้องตีราคากฎหมายนี้อาจเป็นกุญแจทางเลือกที่สำคัญขององค์กรชาวบ้านความพยายามที่จะตีตรากฎหมายนั่นเองที่อาจเป็นการทำลายองค์กรของชุมชน
(2) ความรู้เรื่องการบริหารต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมาจากภายนอกล้วน ๆ
ความรู้อาจงอกงามขึ้นมาเอง
จากการเรียนรู้จักพื้นฐานความจริงในสังคมของตนเองศูนย์กลางผู้บริโภคที่ผู้นำกลุ่มออมทรัพย์ภาคใต้ตกลงกันตั้งขึ้นเป็นการต่อสู้ที่มีความหมายยิ่ง
หมู่บ้านภาคใต้เป็นตัวอย่างหนึ่งสำหรับชุมชนหมู่บ้านไทยที่ก้าวหน้านำไป
ก่อนมีหลักคิด อุดมการณ์และยุทธวิธีอันทันสมัย ทันเหตุการณ์
หมู่บ้านไทยในภาคเหนือและอีสานมีข้อดีเด่นเรื่องสังคมประเพณี
แต่ก็ยังขาดพลวัตบางด้านในการก้าวให้ทันโลกสมัยใหม่ ชุมชนท้องถิ่นในภาคต่าง ๆ
อาจต้องเรียนรู้ประสบการณ์ของกันและกันให้มากขึ้น
» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง