สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์
สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน เป็นภาคที่กว้างใหญ่มาก มีพื้นที่ 160
ล้านไร่ มีประชากร 20 ล้านคน (พ.ศ. 2538) ทั้งพื้นที่และประชากรคิดเป็น 1 ใน 3
ของประเทศ ประกอบด้วย 18 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นาครราชสีมา
หนองคาย บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกศ สกลนคร สุรินทร์
อุดรธานี อุบลราชธานี หนองบัวลำภู และอำนาจเจริญ
วิถีชีวิต วิถีชีวิต
ประกอบด้วยระบบศาสนา ความเชื่อ ขะลำ หรือข้อห้ามและขนบประเพณี ระบบศาสนา
ชาวอีสานส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ในทางปฏิบัติยังยึดมั่นอยู่ในความเสถาบันหลัก 3
สถาบัน คือ ผี พราหมณ์ และพระพุทธศาสนา
ทั้งสามสถาบันนี้บรรพบุรุษได้จัดระบบและกลั่นกรองทำการสั่งสอน
สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยเรียกรวมกันว่า ฮีตสิบสองคองสิบสี่ หรือเรียกสั้นๆ
ว่า ฮีตคอง
คองสิบสี่ หมายถึง ครรลอง หรือแนวทางปฏิบัติคนและหน้าที่ของคน
ในสังคมว่าควรปฏิบัติอย่างไร เช่น หน้าที่ของผู้ปกครองบ้านเมือง เรียกว่า
ฮีตเจ้าคองขุน หน้าที่ของพระสงฆ์ เรียกว่า ฮีกตวัดคองสงฆ์ นอกจากนั้น
ก็เป็นหน้าที่ของสามัญชน เช่น ฮีตพ่อคองแม่ ฮีตลูกคองหลาน ฮีตปู่คองย่า
ฮีตป้าคองลุง เป็นต้น ใครดำรงตนอยู่ในฐานะใด ควรปฏิบัติตนต่อคนอื่นๆ ในสังคมอย่างไร
ตัวอย่างเช่น หน้าที่ของลูก ลูกที่เลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีความสุข
ได้รับการยกย่องว่าเป็นลูกที่ดี เป็นคนดี ในทำนองเดียวกัน
พ่อแม่ก็มีหน้าที่เลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดี จัดสร้างบ้านเรือนให้ลูกอยู่ หาคู่ครองให้
และมอบมรดกให้เพื่อลูกจะได้มีหลักฐานเป็นฝั่งเป็นฝาต่อไป
คองสิบสี่ถือว่าเป็นการจัดระเบียบสังคม ชาวอีสานโดยทั่วไป
ต่างยึดมั่นในคองสิบสี่ เป็นผลให้ชาวอีสานอยู่กันอย่างเรียบง่าย และสุขสบาย
ผู้คนต่างนับถือให้เกียรติซึ่งกันและกัน เช่น นอื่นอายุคราวพ่อ
ลูกหลานก็เรียกอย่างเต็มปากว่าพ่อ ถ้าอาวุโสกว่าก็เรียกว่า พ่อใหญ่
การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งเป็นช่วยเหลือเจือจาน ซื่อสัตย์ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน
ความเชื่อ ชาวอีสานยังคงเชื่อถือเรื่องผีต่างๆ อยู่มาก เช่น ผีบรรพบุรุษ
ผีนา ผีไร่ ผีปู่ตา (รักษาหมู่บ้าน) ทุกหมู่บ้านต้องสร้างศาลปู่ตา และประกอบพิธี
เซ่นไหว้ อยู่เป็นประจำ
เนื่องจากเชื่อผีมีอิทธิฤทธิ์ในให้คุณให้โทษทั่วไปยังปฏิบัติกันอยู่ในวิถีประจำวัน
ตัวอย่างพิธีบายศรีสู่ขวัญในโอกาสสำคัญ เช่น การแต่งงาน การบวช การเจ็บป่วย
การต้อนรับแขกผู้มาเยือน ความเชื่อในพุทธศาสนา ชาวบ้านเชื่อในเรื่องบาปบุญ คุณโทษ
กฎแห่งกรรม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความเชื่อดังกล่าว
ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ชาวบ้านมุ่งให้เกิดความสุขความสบายใจเป็นหลัก เช่น
ประเพณีแห่ผีตาโขน บั้งไฟ แห่เทียนพรรษา และไหลเรือไฟ เป็นต้น
ขะลำ หรือข้อห้าม กฎเกณฑ์อีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งชาวอีสานยอมรับนับถือกันมาแต่โบราณ เรียกว่า ขะลำ หมายถึง
กฎเกณฑ์ความประพฤติต่างๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรกระทำ
ให้ละเว้นหรือเรียกว่าข้อห้ามก็ได้ กฎเกณฑ์ดังกล่าวมีมากมาย
จัดเป็นหมวดหมู่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนทุกเพศทุกวัย ชาวบ้านท่องจำกันได้
และบอกเล่าต่อๆ กันมา ตัวอย่าง เช่น กวาดบ้านกลางคืน ขะลำ
เหตุผลที่ห้ามกวาดบ้านเวลากลางคืน เพราะเกรงจะกวาดเอาสิ่งของอย่างอื่นลงไปด้วย
บ้านไม่สะอาดเท่าที่ควร เพราะแสงสว่างไม่พอเพียง
เนื่องจากสมัยโบราณยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ถ้าใครละเมิดขะลำ ชาวอีสาน ถือว่า ขวง
หมายถึง เป็นคนขวางโลก ผู้คนในสังกัด ตั้งข้อรังเกียจและไม่คบค้าสมาคมด้วย
ขนบประเพณี
ชาวอีสานยึดมั่นและปฏิบัติตามฮีตสิบสองอย่างมั่นคง ฮีตสิบสอง
หมายถึงจารีตประเพณี ที่ชาวอีสานปฏิบัติกันในโอกาสต่างๆ ทิ้งสิบสองเดือนของแต่ละปี
จารีตประเพณีทั้งสิบสิงเดือนที่ชาวอีสานทำบุญต่างๆ มีดังนี้
- เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม เป็นการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารและฟังเทศน์ เนื่องในโอกาสที่พระสงฆ์อาบติขึ้นรองจากปาราชิก ให้เข้าไปอยู่ในที่อันจำกัด เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรม ชำระจิตใจให้หายมัวหมอง และพ้นจากอาบัติ
- เดือนยี่ บุญคูณลาน เป็นการทำบุญสู่ขวัญที่นวดเสร็จแล้ว และกองไว้ในลานข้าว
- เดือนสาม บุญข้าวจี่ ทำบุญตักบาตร
- เดือนสี่ บุญผะเหวดหรือบุญมหาชาติ ทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ
- เดือนห้า บุญสงกรานต์ สรงน้ำพระและผู้ใหญ่
- เดือนหก บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีขอฝนอย่างหนึ่ง
- เดือนเจ็ด บุญซำฮะ ทำบุญชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดความเดือดร้อน แก่บ้านเมือง มีการเลี้ยงผีปู่ตาและผีตาแฮก (ผีรักษาไร่นา)
- เดือนแปด บุญเข้าพรรษา
- เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตและญาติมิตรที่ตายไปแล้ว
- เดือนสิบ บุญข้าสาก (ข้าวกระยาสารท) ทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตายและเปรต มีการแลกเปลี่ยนข้าวกระยาสารทกันระหว่างญาติพี่น้อง และชาวบ้านใกล้เรือนเคียง
- เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา มีการถวายปราสาทผึ้ง( ขี้ผึ้งประดิษฐ์เป็นปราสาท) การล่องเรือไฟ (ไหลเรือไฟ) และการแข่งเรือพาย
- เดือนสิบสอง บุญกฐิน
» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง